มีคำพูดที่มักเคยได้ยินกันอยู่บ่อย ๆ ก็คือ ชีวิตหลังเกษียณอายุ
โดยปกติแล้วการทำงานในภาครัฐหรือเอกชนมักจะมีการกำหนดให้พนักงานมีอายุการทำงานไม่เกิน 60 ปี ยกเว้นบุคคลนั้นมีความรู้ความสามารถก็อาจจะมีการต่ออายุให้ทำงานเกิน 60 ปีก็ได้
หลายครั้งเรามัก จะพบว่าคนสูงอายุเหล่านี้หลังจากออกจากงานแล้วยังมีขีดความ สามารถในการทำงานหรือทำธุรกิจ บางคนยังรักการทำงานอาจจะเปิดธุรกิจของตนเองหรือนำเงินบำเหน็จบำ นาญของตนเองไปฝากธนาคารเพื่อกินดอกเบี้ย แล้วนำดอกเบี้ยมาใช้จ่ายในชีวิตประจำวัน กลุ่มคนเหล่านี้ก็จะมีรายได้เกิดขึ้นซึ่งต้องนำรายได้ที่ได้ รับในแต่ละปีไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า (10 - 37%) ตามประเภทของเงินได้พึงประเมิน
เงินได้พึงประเมินที่ผู้สูงอายุได้รับจะต้องแยกประเภทของเงินได้เพื่อนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแบ่งออกเป็น 8 ประเภทด้วยกัน คือ
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(1) เงินเดือน ค่าจ้าง
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(2) รับจ้างทำงานให้
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(3) ค่าสิทธิ
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ก) ดอกเบี้ย
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(4)(ข)เงินปันผล
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(5) ให้เช่าทรัพย์สิน
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(6) วิชาชีพอิสระ
- เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(7) รับเหมาก่อสร้าง
เงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) เงินได้ที่นอกเหนือจากมาตรา 40(1) - (7)
เนื่อง จากประมวลรัษฎากรได้กำหนดให้ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็น บุคคลธรรมดามีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนั้น เพื่อเป็นการบรรเทาภาระภาษีให้แก่ผู้สูงอายุ อันจะทำให้มีเงินเพื่อใช้ในการดำรงชีพเพิ่มขึ้น กรมสรรพากรจึงได้ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้ พึงประเมินที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและ มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น ตามกฎกระทรวงฉบับที่ 257 (พ.ศ. 2549) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ดังต่อไปนี้
"เงิน ได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ ต่ำกว่าหกสิบห้าปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับเฉพาะส่วนที่ไม่ เกินหนึ่งแสนเก้าหมื่นบาทในปีภาษีนั้น ทั้งนี้ สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2548 เป็นต้นไป โดยเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด"
หลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขเพื่อการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ผู้มีเงิน ได้ซึ่งเป็นผู้อยู่ในประเทศไทยและมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ในปีภาษีได้รับ ดังต่อไปนี้
1. เงินได้ที่ผู้มีเงินได้ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ ได้รับ โดยได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องเป็นเงินได้ที่ผู้มีเงินได้ได้รับในปีภาษีที่ผู้มีเงิน ได้มีอายุไม่ต่ำกว่า 65 ปีบริบูรณ์ และผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในประเทศไทย เฉพาะเงินได้ที่ได้รับส่วนที่ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น
2. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้อง เป็นผู้มีเงินได้ซึ่งมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา แต่ไม่รวมถึงห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล และกองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง
กรณีสามีภริยามี เงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยามิได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของคณะบุคคลที่มิใช่ นิติบุคคล
3. กรณีผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ได้รับเงินได้ตามมาตรา 40 แห่งประมวลรัษฎากร ในปีภาษีใดหลายประเภท ผู้มีเงินได้จะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้ที่ ได้รับประเภทใดประเภทหนึ่ง หรือจะเลือกใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้จากเงินได้หลายประเภท และแต่ละประเภทจะยกเว้นภาษีเงินได้จำนวนเท่าใดก็ได้ แต่เมื่อรวมจำนวนเงินได้ที่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ดังกล่าว ทั้งหมดแล้ว ต้องไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้น
4. ผู้มีเงินได้ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ให้ถือตามหลักเกณฑ์ดังนี้
(1) กรณีสามีภริยามี เงินได้ร่วมกัน โดยความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้ถือว่าเงินได้ดังกล่าวเป็นเงินได้ของสามี ให้สามีเป็นผู้ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้ที่ได้ รับร่วมกัน
(2) กรณีสามีภริยาต่างฝ่ายต่างมี เงินได้ ไม่ว่าความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่ ให้สามีภริยาต่างฝ่ายต่างได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ในส่วนที่ตนได้ รับ
5. ผู้มีเงินได้ที่จะได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ตามข้อ 1 ต้อง แสดงรายการเงินได้และจำนวนเงินได้ที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้ นั้น พร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
ข้อสังเกตอย่างหนึ่งก็คือ ถึงแม้ว่ากรมสรรพากรจะยกเว้นภาษีเงินได้ให้กับผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปและมีเงินได้ไม่เกิน 190,000 บาทในปีภาษีนั้นหรือเฉลี่ยต่อเดือน 15,833.33 บาท ไม่ต้องเสียภาษีอากรแต่ยังคงต้องยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาทุกปีที่มา ผู้จัดการรายสัปดาห์
อ้างอิง กฎกระทรวง ฉบับที่ 257 http://www.rd.go.th/publish/30226.0.html
ขอบคุณสำหรับบทความนะค่ะ
ตอบลบ