ข่าวเก่านะครับ แต่เห็นว่ามีประโยชน์เผื่อใครยังไม่ได้อ่าน
กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 27 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 มาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 117/2545 ลงวันที่ 28 ต.ค. 2545 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับกรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการอย่างไร
วิสัชนา กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีได้รับอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ จะถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติดังนี้
1. กรณีได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ให้นับวันที่เริ่ม ทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษ ของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่ง หรือแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษี ตามมาตรา 27 หรือมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ให้ขยายกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีผู้ต้องเสียภาษีใช้สิทธิผ่อนชำระภาษีเป็นรายงวด หากวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลา ซึ่งต้องชำระภาษีในแต่ละงวดตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ จะถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติดังนี้
1. สำหรับกรณีผ่อนชำระภาษีตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้ายที่ต้องผ่อนชำระงวดที่สองหรืองวดที่สามตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่ม ทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
2. สำหรับการผ่อนชำระภาษีตามมาตรา 64 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้าย ที่ต้องผ่อนชำระงวดที่สองหรืองวดที่สามตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
3. กรณีได้รับอนุมัติให้ผ่อนชำระภาษีเป็นรายงวด ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีอากร หากวันสุดท้ายที่ต้องผ่อนชำระของงวดใดงวดหนึ่งตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ล่าช้าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด สำหรับกรณีผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุกิจเฉพาะ ที่จะได้รับสิทธิขอลดเบี้ยปรับตามคำสั่งกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการอย่างไร
วิสัชนา กรณีบุคคลผู้ต้องเสียเบี้ยปรับขอลดเบี้ยปรับตามคำสั่งกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร การนับระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะที่จะได้รับสิทธิลดเบี้ยปรับ หากวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนเงินเพิ่มให้คำนวณในอัตรา ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษี ตามมาตรา 89/1 หรือมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ปุจฉา กรณีนาย ก. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) มีภาษีที่ต้องชำระ 6,000 บาท และได้ใช้สิทธิผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 64(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยงวดที่หนึ่งได้ชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี จำนวน 2,000 บาท เมื่อวันที่ 31 มีนาคม งวดที่สอง ต้องชำระจำนวน 2,000 บาท ภายในเดือนเมษายน และงวดที่สามต้องชำระ จำนวน 2,000 บาท ภายในเดือนพฤษภาคม เช่นนี้ หากปรากฏว่า วันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาในการผ่อนชำระงวดที่สองตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้นาย ก. มีสิทธินำเงินงวดที่สองไปชำระ ในวันที่ 1 พฤษภาคม โดยไม่หมดสิทธิที่จะชำระเป็นรายงวดต่อไป และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีนาย ข. ถูกประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนเงินมากกว่า 3,000 บาท ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2543 นาย ข. ได้ใช้สิทธิผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 64(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยงวดที่หนึ่งได้ชำระ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม งวดที่สองจะต้องชำระภายในเดือนเมษายน และงวดที่สามจะต้องชำระภายในเดือนพฤษภาคม เช่นนี้ หากปรากฏว่า วันที่ 30 เมษายน ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้นาย ข. มีสิทธินำเงินงวดที่สองไปชำระในวันที่ 1 พฤษภาคม 2543 โดยไม่หมดสิทธิที่จะชำระเป็นรายงวดต่อไป และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติม แต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีบริษัท ค. จำกัด ถูกประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามหนังสือแจ้งการประเมิน เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท บริษัท ค. จำกัด ได้รับอนุมัติให้ผ่อนชำระภาษีตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีอากร เป็นงวดรายเดือน รวม 6 งวด แต่ละงวดต้องชำระภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน งวดที่หนึ่งได้ชำระเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม งวด ที่สองชำระเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2543 งวดที่สามชำระเมื่อวันที่ 7 กันยายน เช่นนี้ หากปรากฏว่า งวดที่ 4 วันที่ 7 ตุลาคม ตรงกับวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้บริษัท ค. จำกัด มีสิทธินำเงินงวดที่ 4 ไปชำระในวันที่ 9 ตุลาคม ได้ โดยไม่หมดสิทธิที่จะชำระเป็นรายงวดต่อไป และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติม
แต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีบริษัท ง. จำกัด ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กันยายน ของปีเดียวกัน โดยบริษัท ได้ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 5 (1) (ข) ของคำสั่ง กรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษี มูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 สำหรับกรณีชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้บริษัท ง. เสียเบี้ยปรับร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับได้ หากวันที่ 15 กันยายน ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของทางราชการ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 เดือน
ปุจฉา กรณีบริษัท จ. จำกัด ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนกรกฎาคม 2543 เมื่อวันที่ 15 กันยายน ต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ของเดือนกรกฎาคม เพิ่มเติม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม โดยบริษัท ได้ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 5 (1) (ค) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมในกรณีนี้อย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ วันที่ 16 สิงหาคม จนถึงวันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม คือวันที่ 16 ตุลาคม ซึ่งนับได้เป็นเวลา 62 วัน แต่หากวันที่ 14 และวันที่ 15 ตุลาคม ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของทางราชการ กรณีนี้จึงถือว่าบริษัท ชำระภาษีภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน
ที่มา.. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/18/WW13_1307_news.php?newsid=84591
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/25/WW13_1307_news.php?newsid=85951
กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่ม ภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 27 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 มาตรา 89/1 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ตามคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ป. 117/2545 ลงวันที่ 28 ต.ค. 2545 จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติทั่วไปเกี่ยวกับกรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการอย่างไร
วิสัชนา กรณีกำหนดเวลาในการยื่นแบบแสดงรายการภาษี แบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่งหรือแบบนำส่งภาษี วันสุดท้ายตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ทั้งนี้เป็นไปตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีได้รับอนุมัติให้ขยายกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ จะถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติดังนี้
1. กรณีได้รับอนุมัติจากอธิบดีกรมสรรพากร ให้ขยายกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคหนึ่ง แห่งประมวลรัษฎากร ให้นับวันที่เริ่ม ทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับ แต่ต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 0.75 ต่อเดือนหรือเศษ ของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบแสดงรายการหักภาษีและนำเงินภาษีส่ง หรือแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษี ตามมาตรา 27 หรือมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร
2. กรณีได้รับอนุมัติจากรัฐมนตรี ให้ขยายกำหนดเวลาตามที่บัญญัติไว้ในประมวลรัษฎากร ตามมาตรา 3 อัฏฐ วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร และวันสุดท้ายแห่งระยะเวลาที่ขยายออกไปดังกล่าวตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา โดยไม่ต้องเสียเบี้ยปรับและเงินเพิ่มแต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีผู้ต้องเสียภาษีใช้สิทธิผ่อนชำระภาษีเป็นรายงวด หากวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลา ซึ่งต้องชำระภาษีในแต่ละงวดตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ จะถือปฏิบัติอย่างไร
วิสัชนา กรณีดังกล่าว ให้ถือปฏิบัติดังนี้
1. สำหรับกรณีผ่อนชำระภาษีตามมาตรา 64 (1) แห่งประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้ายที่ต้องผ่อนชำระงวดที่สองหรืองวดที่สามตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่ม ทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
2. สำหรับการผ่อนชำระภาษีตามมาตรา 64 (2) แห่งประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้าย ที่ต้องผ่อนชำระงวดที่สองหรืองวดที่สามตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
3. กรณีได้รับอนุมัติให้ผ่อนชำระภาษีเป็นรายงวด ตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีอากร หากวันสุดท้ายที่ต้องผ่อนชำระของงวดใดงวดหนึ่งตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา
ปุจฉา มีแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการนับระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะ ล่าช้าเกินเวลาที่กฎหมายกำหนด สำหรับกรณีผู้ประกอบการหรือผู้ประกอบกิจการที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุกิจเฉพาะ ที่จะได้รับสิทธิขอลดเบี้ยปรับตามคำสั่งกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร หากวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการอย่างไร
วิสัชนา กรณีบุคคลผู้ต้องเสียเบี้ยปรับขอลดเบี้ยปรับตามคำสั่งกรมสรรพากรเกี่ยวกับหลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับภาษีมูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 89 และมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร การนับระยะเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม แบบนำส่งภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือแบบแสดงรายการภาษีธุรกิจเฉพาะที่จะได้รับสิทธิลดเบี้ยปรับ หากวันสุดท้ายแห่งกำหนดเวลาตรงกับวันหยุดทำการของทางราชการ ให้นับวันที่เริ่มทำการใหม่ต่อจากวันที่หยุดทำการนั้นเป็นวันสุดท้ายของระยะเวลา ตามมาตรา 193/8 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ส่วนเงินเพิ่มให้คำนวณในอัตรา ร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนของเงินภาษีที่ต้องชำระหรือนำส่ง โดยให้เริ่มนับเมื่อพ้นกำหนดเวลาการยื่นแบบแสดงรายการภาษีหรือแบบนำส่งภาษีจนถึงวันชำระภาษีหรือนำส่งภาษี ตามมาตรา 89/1 หรือมาตรา 91/21 (6) แห่งประมวลรัษฎากร
ปุจฉา กรณีนาย ก. ได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา (ภ.ง.ด.91) มีภาษีที่ต้องชำระ 6,000 บาท และได้ใช้สิทธิผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 64(1) แห่งประมวลรัษฎากร โดยงวดที่หนึ่งได้ชำระภาษีพร้อมกับการยื่นแบบแสดงรายการภาษี จำนวน 2,000 บาท เมื่อวันที่ 31 มีนาคม งวดที่สอง ต้องชำระจำนวน 2,000 บาท ภายในเดือนเมษายน และงวดที่สามต้องชำระ จำนวน 2,000 บาท ภายในเดือนพฤษภาคม เช่นนี้ หากปรากฏว่า วันที่ 30 เมษายน ซึ่งเป็นวันสุดท้ายของกำหนดเวลาในการผ่อนชำระงวดที่สองตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้นาย ก. มีสิทธินำเงินงวดที่สองไปชำระ ในวันที่ 1 พฤษภาคม โดยไม่หมดสิทธิที่จะชำระเป็นรายงวดต่อไป และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร แต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีนาย ข. ถูกประเมินภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา พร้อมเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เป็นจำนวนเงินมากกว่า 3,000 บาท ได้รับหนังสือแจ้งการประเมิน เมื่อวันที่ 1 มีนาคม 2543 นาย ข. ได้ใช้สิทธิผ่อนชำระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามมาตรา 64(2) แห่งประมวลรัษฎากร โดยงวดที่หนึ่งได้ชำระ เมื่อวันที่ 31 มีนาคม งวดที่สองจะต้องชำระภายในเดือนเมษายน และงวดที่สามจะต้องชำระภายในเดือนพฤษภาคม เช่นนี้ หากปรากฏว่า วันที่ 30 เมษายน ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้นาย ข. มีสิทธินำเงินงวดที่สองไปชำระในวันที่ 1 พฤษภาคม 2543 โดยไม่หมดสิทธิที่จะชำระเป็นรายงวดต่อไป และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติม แต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีบริษัท ค. จำกัด ถูกประเมินภาษีเงินได้นิติบุคคลพร้อมเบี้ยปรับและเงินเพิ่ม ตามหนังสือแจ้งการประเมิน เป็นเงินจำนวน 120,000 บาท บริษัท ค. จำกัด ได้รับอนุมัติให้ผ่อนชำระภาษีตามระเบียบกรมสรรพากร ว่าด้วยการผ่อนชำระภาษีอากร เป็นงวดรายเดือน รวม 6 งวด แต่ละงวดต้องชำระภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน งวดที่หนึ่งได้ชำระเมื่อวันที่ 7 กรกฎาคม งวด ที่สองชำระเมื่อวันที่ 7 สิงหาคม 2543 งวดที่สามชำระเมื่อวันที่ 7 กันยายน เช่นนี้ หากปรากฏว่า งวดที่ 4 วันที่ 7 ตุลาคม ตรงกับวันเสาร์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการ จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้บริษัท ค. จำกัด มีสิทธินำเงินงวดที่ 4 ไปชำระในวันที่ 9 ตุลาคม ได้ โดยไม่หมดสิทธิที่จะชำระเป็นรายงวดต่อไป และไม่ต้องเสียเงินเพิ่มตามมาตรา 27 แห่งประมวลรัษฎากร เพิ่มเติม
แต่อย่างใด
ปุจฉา กรณีบริษัท ง. จำกัด ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่มสำหรับเดือนกรกฎาคม เมื่อวันจันทร์ที่ 16 กันยายน ของปีเดียวกัน โดยบริษัท ได้ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(2) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 5 (1) (ข) ของคำสั่ง กรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 เรื่อง หลักเกณฑ์การงดหรือลดเบี้ยปรับหรือเงินเพิ่มภาษีเงินได้ ภาษี มูลค่าเพิ่ม และภาษีธุรกิจเฉพาะ ตามมาตรา 22 มาตรา 26 มาตรา 67 ตรี มาตรา 89 และมาตรา 91/21(6) แห่งประมวลรัษฎากร ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 สำหรับกรณีชำระภาษีมูลค่าเพิ่มภายหลัง 15 วัน แต่ไม่เกิน 30 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับกรณีดังกล่าวอย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้บริษัท ง. เสียเบี้ยปรับร้อยละ 5 ของเบี้ยปรับได้ หากวันที่ 15 กันยายน ตรงกับวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของทางราชการ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เป็นเวลา 1 เดือน
ปุจฉา กรณีบริษัท จ. จำกัด ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) และชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม สำหรับเดือนกรกฎาคม 2543 เมื่อวันที่ 15 กันยายน ต่อมาได้ยื่นแบบแสดงรายการภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.30) ของเดือนกรกฎาคม เพิ่มเติม เมื่อวันที่ 16 ตุลาคม โดยบริษัท ได้ขอลดเบี้ยปรับตามมาตรา 89(3) แห่งประมวลรัษฎากร ตามข้อ 5 (1) (ค) ของคำสั่งกรมสรรพากร ที่ ท.ป. 81/2542 ลงวันที่ 9 กรกฎาคม 2542 จะมีแนวทางปฏิบัติสำหรับการนับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมในกรณีนี้อย่างไร
วิสัชนา ต่อกรณีดังกล่าวให้นับระยะเวลาเพื่อคำนวณเบี้ยปรับสำหรับการยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติมตั้งแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม คือ วันที่ 16 สิงหาคม จนถึงวันที่ยื่นแบบแสดงรายการภาษีเพิ่มเติม คือวันที่ 16 ตุลาคม ซึ่งนับได้เป็นเวลา 62 วัน แต่หากวันที่ 14 และวันที่ 15 ตุลาคม ตรงกับวันเสาร์และวันอาทิตย์ ซึ่งเป็นวันหยุดทำการของทางราชการ กรณีนี้จึงถือว่าบริษัท ชำระภาษีภายหลัง 30 วัน แต่ไม่เกิน 60 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลาชำระภาษีมูลค่าเพิ่ม ให้เสียร้อยละ 10 ของเบี้ยปรับ ส่วนเงินเพิ่มตามมาตรา 89/1 แห่งประมวลรัษฎากร ให้คำนวณร้อยละ 1.5 ต่อเดือน เป็นเวลา 2 เดือน
ที่มา.. กรุงเทพธุรกิจออนไลน์
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/18/WW13_1307_news.php?newsid=84591
http://www.bangkokbiznews.com/2007/07/25/WW13_1307_news.php?newsid=85951
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น