เป็นข้อมูลสรุปจากการสัมมนา ที่จัดโดยศูนย์พัฒนาวิชาชีพบัญชี คณะบัญชี มหาวิทยาลัยกรุงเทพ เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน 2551
เรื่อง วิเคราะห์เจาะลึกมาตรการภาษีใหม่เพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจไทย
สรุป 19 มาตรการภาษีตามมติคณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 4 มีนาคม 2551
อ.รุ่งทิพย์ ธัญวงศ์ และ อ.อดิศักดิ์ สืบประดิษฐ์
ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา 7 มาตรการ
1) ปรับเพิ่มเงินได้สุทธิที่ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาจากเดิม 100,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 150,000 บาท (ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 470))
2) ปรับเพิ่มวงเงินการยกเว้นและการหักค่าลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตจากเดิม 50,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็น 100,000 บาท (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 ข้อ 5 แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 61)
3) ปรับเพิ่มวงเงินการหักลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็น
- ค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF)
- เงินสะสมเข้ากองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
- เงินสะสมเข้ากองทุนบำเหน็จบำนาญข้าราชการ
- เงินสะสมเข้ากองทุนสงเคราะห์ตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน
จากเดิมรวมกันไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นรวมกันไม่เกิน 500,000 บาท (ตามกฎกระทรวง ฉบับ ที่ 266 ข้อ 1 - ข้อ 4 แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 55 , ข้อ 35 , ข้อ 43 , ข้อ 54)
4) ปรับเพิ่มวงเงินการหักลดหย่อนเงินได้เท่าที่จ่ายเป็นค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF)
จากเดิมไม่เกิน 300,000 บาท เพิ่มขึ้นเป็นไม่เกิน 500,000 บาท (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 ข้อ 6 แก้ไขกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 66)
5) เพิ่มการหักค่าลดหย่อนค่าอุปการะเลี้ยงดูคู่สมรส บิดา มารดา บุตรชอบด้วยกฎหมายหรือบุตรบุญธรรมของผู้มีเงินได้หรือคู่สมรส ซึ่งเป็นคนพิการที่ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้และมีบัตรประจำตัวคนพิการ ตามพระราชบัญญัติส่งเสริมและพัฒนาคุณภาพชีวิตคนพิการ พ.ศ.2550 โดยให้หักได้ 30,000 บาทต่อ คนพิการ (กฎหมายยังไม่ออก)
6) ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาแก่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่ไม่ใช่นิติบุคคล ซึ่งเป็นวิสาหกิจ ชุมชนตามพระราชบัญญัติส่งเสริมวิสาหกิจชุมชน พ.ศ.2548 และมีเงินได้พึงประเมินไม่เกิน 1,200,000 บาทต่อปี ใช้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับตั้งแต่ปี 2551 ถึง 2553 (ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 ข้อ 7 เพิ่มเติมกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ข้อ 78)
7) ให้บุคคลธรรมดา สามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์หรือ วัสดุที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยรวมค่าติดตั้งได้ 1.25 เท่าของค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ทรัพย์สินจะต้อง ได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553 (กฎหมายยังไม่ออก)
ภาษีเงินได้นิติบุคคล 10 มาตรการ
1) ปรับปรุงอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทุนที่ชำระแล้วในวัน สุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีไม่เกิน 5 ล้านบาท จากเดิมที่จัดเก็บในอัตราก้าวหน้า โดย กำไรสุทธิในส่วน 1,000,000 บาทแรก จัดเก็บในอัตราร้อยละ 15
กำไรสุทธิส่วนที่เกิน 1,000,000 บาท แต่ไม่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 25 และกำไรสุทธิส่วนที่เกิน 3,000,000 บาท จัดเก็บในอัตราร้อยละ 30 เป็นการยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับกำไรสุทธิเฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาท และสำหรับกำไรสุทธิ ส่วนที่เหลือให้คงจัดเก็บในอัตราเดิม ทั้งนี้ให้มีผลบังคับใช้สำหรับกำไรสุทธิของ บริษัทหรือห้างหุ้นส่วน นิติบุคคลที่เกิดขึ้นในรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2551 เป็นต้นไป (ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 471))
2) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าใช้จ่ายเพื่อการได้มาซึ่งทรัพย์สินประเภท เครื่องจักร และอุปกรณ์หรือวัสดุที่มีผลต่อการประหยัดพลังงานโดยรวมค่าติดตั้งได้ 1.25 เท่าของ ค่าใช้จ่าย ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
3) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สิน ประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ที่ใช้ผลิตสินค้าหรือให้บริการ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามอัตราปกติ ทั้งนี้ ทรัพย์สินจะต้องได้มา และพร้อมใช้งานได้ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2553
4) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภท โปรแกรมคอมพิวเตอร์ ได้ภายในเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
5) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาท และจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นของทรัพย์สินประเภทโปรแกรม คอมพิวเตอร์ ในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละ 40 ของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่ เหลือให้หักภายในเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชี นับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา
6) ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวรไม่รวมที่ดินไม่เกิน 200 ล้านบาทและจ้างแรงงาน ไม่เกิน 200 คน สามารถเลือกหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินได้ในอัตราร้อยละ 100 ของ มูลค่าต้นทุน โดยมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินดังกล่าวรวมกันแล้วต้องไม่เกิน 500,000 บาทในหนึ่งรอบ ระยะเวลาบัญชี ทั้งนี้ใช้สำหรับทรัพย์สินตามมาตรา 4(5) ของ พระราชกฤษฎีกาฯ ว่าด้วยค่าสึกหรอและ ค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ 145) พ.ศ. 2527 โดยทรัพย์สินจะต้องได้มาและพร้อมใช้งานได้ ภายในวันที่ 31 ธันวาคม พ.ศ.2553 หมายเหตุ มาตรการที่ 2- 6 กฎหมายยังไม่ออก ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทที่นำหลักทรัพย์เข้าไปจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่ง ประเทศไทย ดังต่อไปนี้
7) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียน เข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาด หลักทรัพย์ เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลัง วันที่บริษัทได้จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ
8) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียน
เข้าใหม่เป็นบริษัทในตลาดหลักทรัพย์ (SET) ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ เป็น เวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกัน ทั้งนี้บริษัทต้องยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ตามกฎหมายว่า ด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ระหว่างวันที่ 1 มกราคม 2551 ถึงวันที่ 31 ธันวาคม 2551 และได้รับ การจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ 31 ธันวาคม 2552
ให้ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลสำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่เป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาด หลักทรัพย์แห่งประเทศไทย ดังต่อไปนี้
9) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 20 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่จดทะเบียน กับตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ (MAI) ทั้งนี้เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่เกิน 20 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบ ระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มใน หรือหลังวันที่1 มกราคม 2551
10) ลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลจากร้อยละ 30 เหลือร้อยละ 25 ของกำไรสุทธิ สำหรับบริษัทที่เป็นบริษัท จดทะเบียน ตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ (SET) ทั้งนี้เฉพาะกำไรสุทธิในส่วนที่ไม่ เกิน 300 ล้านบาท เป็นเวลา 3 รอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือ หลังวันที่1 มกราคม 2551
ภาษีธุรกิจเฉพาะ 1 มาตรการ
1) ตามพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 472) ให้ลดอัตราภาษีธุรกิจเฉพาะ จากเดิมที่กำหนดไว้อัตราร้อยละ 3 เป็นอัตราร้อยละ 0.1 สำหรับรายรับ ก่อนหักรายจ่ายใดๆ จากกิจการขายอสังหาริมทรัพย์เป็นทางค้าหรือหากำไร ทั้งนี้เฉพาะการจดทะเบียนสิทธิ และนิติกรรมเกี่ยวกับอสังหาริมทรัพย์ที่ได้กระทำภายใน 1 ปี ตั้งแต่ 29 มีนาคม 2551 - 28 มีนาคม 2552
ค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนอสังหาริมทรัพย์ 1 มาตรการ
1) ตามประกาศกระทรวงมหาดไทย ให้เรียกเก็บค่าธรรมเนียมการจดทะเบียนการโอนและการจำนองอสังหาริมทรัพย์ร้อยละ 0.01 ที่ได้ กระทำตั้งแต่ 29 มีนาคม 2551 - 28 มีนาคม 2552 ที่อยู่อาศัยที่เป็นที่ดิน อาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดิน ประเภทบ้านเดี่ยว บ้านแฝด บ้านแถว อาคารพาณิชย์ ตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน อาคารสำนักงาน ตาม กฎหมายฯ และห้องชุด ตามกฎหมายฯ ต่อมาขยายรวมถึงอาคาร หรืออาคารพร้อมที่ดินไม่เกิน 1 ไร่ และมิใช่ ตามกฎหมายจัดสรรที่ดิน ที่ได้กระทำถึง 28 มีนาคม 2552
.
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น