เรื่องราวเกิดขึ้นเมื่อ "นายเฟื่องฟู" หนุ่มใหญ่ที่น่าจะเฟื่องฟูได้เหมือนชื่อ พี่แกมีลูกเมีย มีหน้าที่การงานทำเป็นหลักฐาน อยู่ในบริษัทที่ไม่เล็กในเมืองไทย แต่ใช้ชื่อฝรั่งตามกระแส นิยม ตำแหน่งคงไม่ย่อยเพราะบริษัทจัดรถไว้ให้ใช้อีกด้วย
ความเฟื่องฟูของชีวิตนั้น จะว่าง่ายก็ดูเหมือนง่าย หากระมัดระวังในการดำเนินชีวิตของเรา ทุกย่างก้าว ไม่อยู่ในความประมาท จะว่ายากก็ยาก เพราะเส้นทางของคนเรา ไม่ได้โรยด้วยกลีบ กุหลาบ แม้กระทั่งคนอย่างท่านขงเบ้ง ผู้หยั่งรู้ดินฟ้ามหาสมุทรของจีนในสมัย "สามก๊ก" ก็ กระอักเลือด แก้ปัญหาไม่ตก ค้ำชูทายาทของท่านเล่าปี่ ที่ได้รับการฝากฝัง ให้รุ่งเรืองปลอดภัย ไม่ได้ ช้ำใจตายก่อนวัยอันควร เพราะความไม่เอาไหนของคนรอบข้างส่วนหนึ่ง
นายเฟื่องฟู ก็ทำท่าจะไม่เฟื่องฟู เพราะยึดถือเอาความมักง่ายเป็นที่ตั้ง นำรถที่บริษัทมอบไว้ ให้ใช้งานในหน้าที่ พาครอบครัวไปท่องเที่ยว รถเกิดอุบัติเหตุเสียหายแยะ ยังดีที่คนบนรถรอด ตาย รถต้องเข้าอู่ซ่อมนาน 2 สัปดาห์ แน่นอนนายจ้างโกรธจัด นายเฟื่องฟู จึงตกงานอย่าง กะทันหัน
คนเราส่วนใหญ่ในสมัยนี้หรือสมัยไหนก็แล้วแต่ เกิดเหตุผิดพลาดขึ้นมา มักจะโทษคนอื่นไว้ก่อน นายเฟื่องฟู ก็เช่นกัน พอตกงานก็ล้งเล้งถือว่านายจ้างทำกับตนไม่ถูกต้อง จะมาไล่ออกจากงาน ได้อย่างไร แบบนี้ต้องฟ้องศาลให้เห็นดำเห็นแดง
ศาลซึ่งเป็นองค์กรที่คอยค้ำจุนบ้านเมืองอย่างสำคัญ บ้านเมืองไหนศาลไม่เข้มแข็ง พังเอาง่ายๆ แต่เจ้ากรรมศาลมักจะเป็นที่พึ่งของคนที่คิดผิด ทำผิดอยู่เสมอ นายเฟื่องฟู ไปที่ศาลแรงงานกลาง ยื่นฟ้องบริษัทผู้เป็นนายจ้าง อ้างว่าไม่มีสิทธิ์ไล่ นายเฟื่องฟู ออกจากงานแบบไม่ให้ตั้งตัว เขาไม่ ได้ทำผิด รถที่เสียหายเป็นเรื่องอุบัติเหตุทั่วไป เกิดขึ้นได้เสมอ เรียกร้องให้บริษัทจ่ายเงินค่าชดเชย เงินค่าจ้าง ฐานไม่บอกกล่าวล่วงหน้าว่าจะไล่ออก พร้อมกับค่าจ้างค้างจ่าย
บริษัทตกเป็นจำเลยซะงั้นแหละ ต้องหาทนายสู้คดี อ้างว่า นายเฟื่องฟู ไม่ซื่อตรงต่อหน้าที่ ฝ่าฝืน ระเบียบและคำสั่งของบริษัทอย่างแรง จึงไล่ออกได้ ไม่ต้องจ่ายอะไรทั้งนั้น ขอให้ยกฟ้อง
ศาลแรงงานกลางพิจารณาแบบสบายๆ ไม่เครียดเหมือนคดีการเมือง แล้วชี้ว่า นายเฟื่องฟู นำรถยนต์อันเป็นทรัพย์สินของบริษัทไปใช้ธุระส่วนตัว โดยไม่เกี่ยวกับการทำงานแล้วเกิด อุบัติเหตุ ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหาย บริษัทไม่มีรถยนต์ใช้ เป็นการไม่ซื่อตรงต่อการปฏิบัติ หน้าที่ ถือเป็นการฝ่าฝืนระเบียบและคำสั่งของบริษัทในกรณีร้ายแรง บริษัทมีสิทธิ์เลิกจ้าง นายเฟื่องฟู ได้ โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชยตาม พรบ. คุ้มครองแรงงาน ปี 2541 มาตรา 119 (4) และถือเป็นการทำผิดร้ายแรง จำเลยไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอกกล่าวล่วงหน้าตาม กฎหมายแพ่ง มาตรา 583 ให้บริษัทจ่ายเฉพาะค่าจ้างที่ค้างจ่าย
นายเฟื่องฟู ฟ้องแล้วจะได้เงินแค่หมื่นกว่าบาท ไม่ได้หลายแสนบาทตามที่ตั้งไว้จะเอามาเป็น ทุนเดินหางานใหม่ จึงเล่นเกมยาว ยื่นอุทธรณ์ไปยังศาลฎีกา ตามประสาของคดีแรงงาน
ศาลฎีกาเพ่งดูคดีนี้จนหน้ามืดเล็กน้อย แล้วชี้ขาดออกมาว่า
คดีนี้ศาลต้องขบให้แตกว่า นายเฟื่องฟู ฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับ เกี่ยวกับการทำงานหรือคำสั่ง อันชอบด้วยกฎหมายและเป็นธรรมของบริษัท เข้าข่ายร้ายแรงหรือไม่ เมื่อดูระเบียบข้อ บังคับเกี่ยวกับการทำงานของบริษัท (ซึ่งบริษัทต่างๆ ต้องมีไว้ ไม่งั้นเสียงานและการต่อสู้คดี- ผมขอแนะนำ) เรื่องวินัย โทษทางวินัยและการพนักงานข้อ 1.4.3 ระบุว่า "พนักงานต้องไม่นำ อุปกรณ์หรือทรัพย์สินของบริษัท ฯ ไปใช้นอกเหนือจากการทำงานให้แก่บริษัท โดยไม่ได้รับ อนุญาตจากผู้บังคับบัญชา"
ศาลเห็นว่า นายเฟื่องฟู นำรถยนต์ที่บริษัทเช่ามาให้ทำงานของบริษัท ขับพาลูกเมีย ของตนโจทก์ไปเที่ยวแล้วเกิดอุบัติเหตุ ทำให้รถยนต์ได้รับความเสียหายอย่างมาก เป็นการนำรถยนต์ของบริษัทไปใช้ส่วนตัวโดยไม่ได้ทำงานให้แก่บริษัท และไม่ได้รับ อนุญาต เป็นการไม่ซื่อตรงต่อการปฏิบัติหน้าที่ อาศัยตำแหน่งหน้าที่นำรถยนต์ของบริษัท ไปใช้เพื่อประโยชน์ส่วนตัว จนก่อให้เกิดความเสียหายแก่บริษัท ทำให้ไม่มีรถยนต์ใช้งานนานถึง 2 สัปดาห์ ถือว่าฝ่าฝืนระเบียบข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานในกรณีร้ายแรง บริษัทสามารถ เลิกจ้าง นายเฟื่องฟู ได้โดยไม่ต้องจ่ายค่าชดเชย และไม่ต้องจ่ายสินจ้างแทนการบอก กล่าวล่วงหน้า ได้เฉพาะค่าจ้างค้างจ่ายตามที่ศาลล่างว่าไว้ กับดอกเบี้ยเท่านั้น
จำไว้นะครับ รถประจำตำแหน่งทำให้ได้รับความเดือดร้อนมานักแล้ว โดยเฉพาะคนที่ ทำงานในบริษัท ห้างร้าน ทั้งหลาย หรือในรัฐวิสาหกิจ ส่วนรถประจำตำแหน่งของฝ่าย ข้าราชการนั้นไม่เท่าไร เห็นเอาไปจ่ายตลาด เอาไปใช้ส่วนตัวได้สบายอยู่แล้ว ตำแหน่ง ใหญ่เท่าไร ยิ่งสบายเท่านั้นแล
จากคำพิพากษาศาลฎีกาที่ 389/2548ที่มา http://www.autoinfo.co.th/page/th/article_event/detail.php?id=26461
ถูกเลิกจ้าง เพราะนำรถประจำตำแหน่งไปใช้งานส่วนตัว
สมัครสมาชิก:
ส่งความคิดเห็น (Atom)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น