การจดคณะบุคคล และภาระภาษี
การเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา บทบัญญัติแห่งประมวลรัษฎากรได้กำหนดหน่วยภาษีที่มีหน้าที่ต้องเสียภาษีเงิน ได้บุคคลธรรมดาไว้จำนวน 4 หน่วย อันได้แก่ บุคคลธรรมดาผู้ถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี กองมรดกที่ยังไม่ได้แบ่ง และคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล ซึ่งในการดำเนินธุรกิจในรูปแบบของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่ นิติบุคคล จะช่วยให้กิจการมีเงินลงทุนมากขึ้น และในแง่ของการตัดสินใจจะรอบคอบมากกว่าการดำเนินธุรกิจในรูปแบบบุคคลธรรมดา คนเดียว เพราะมีการร่วมกันตัดสินใจในเรื่องต่างๆ ที่เกิดจากการดำเนินงานของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน รวมทั้งจะต้องรับผิดชอบร่วมกันในหนี้สินทั้งหมดของกิจการโดยไม่จำกัดจำนวน หนี้สินนั้นอีกด้วย เรื่องจากปกฉบับนี้จึงได้นำเสนอภาระหน้าที่การเสียภาษีของคณะบุคคลและแนวคำ วินิจฉัยที่น่าสนใจ เพื่อให้เกิดความเข้าใจอย่างรอบด้านในการเสียภาษีได้อย่างถูกต้อง
ภาระภาษี
1. ความหมายของ “คณะบุคคล” ในทางทฤษฎีภาษีอากร จะพบว่าประมวลรัษฎากรมิได้ให้คำนิยามของคำว่าคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ ที่มิใช่นิติบุคคลไว้โดยเฉพาะ ดังนั้น จึงต้องใช้ความหมายโดยเทียบเคียงจากคำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญตามมาตรา 1012 แห่งประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ที่วางหลักไว้ว่าห้าง หุ้นส่วน คือ บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น เมื่อคณะบุคคลเป็นหน่วยภาษีที่กำหนดขึ้นตามประมวลรัษฎากรเพื่อให้ครอบคลุม การจัดเก็บภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา จึงอาจให้คำนิยามได้ว่า “ห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล” หมายถึง บุคคลตั้งแต่สองคนขึ้นไปได้ตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน ด้วยประสงค์จะแบ่งปันกำไรอันจะพึงได้แก่กิจการที่ทำนั้น ส่วน “คณะบุคคล” หมายถึง บุคคลธรรมดาตั้งแต่สองคน ขึ้นไปตกลงเข้ากันเพื่อกระทำกิจการร่วมกัน แต่ไม่มีวัตถุประสงค์จะแบ่งปันผลกำไรที่ได้จากกิจการที่ทำนั้น
อย่างไรก็ ดี ในทางปฏิบัติมักจะพบว่า การให้ความหมายคำว่าห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล และคำว่าคณะบุคคล จะมีทิศทางที่เป็นไปในแนวทางเดียวกันโดยมิได้แยกความแตกต่างกันที่วัตถุ ประสงค์การแบ่งปันกำไรดังได้กล่าวข้างต้น ซึ่งการให้ความหมายที่เป็นไปในทิศทางเดียวกันดังกล่าวก็มิได้ทำให้ผล ของการชำระภาษีเปลี่ยนแปลงไปแต่ประการใด เพราะไม่ว่าจะเป็นห้างหุ้นส่วนสามัญที่มิใช่นิติบุคคล หรือจะเป็นคณะบุคคลก็จะมีหน้าที่ เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียวกัน และเลขประจำตัวผู้เสียภาษีเงินได้ที่ได้รับ ก็จะเป็นเลขเดียวกัน
ปัญหา บางประการเกี่ยวกับคณะบุคคลที่ควรได้ทำความเข้าใจคือ การรวมตัวกันเพื่อจัดตั้งคณะบุคคลมีข้อจำกัดหรือไม่ ผู้เขียนใคร่ขอนำเสนอดังนี้
ก. นิติบุคคลสามารถร่วมกับบุคคลธรรมดาจัดตั้งคณะบุคคลได้หรือไม่ ผู้เขียนเห็นว่า การจัดตั้งคณะบุคคลจะต้องเป็นการรวมตัวกันระหว่างบุคคลธรรมดาตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป นิติบุคคลไม่อาจมาจัดตั้งคณะบุคคลร่วมกับบุคคลธรรมดาได้ เนื่องจากหากมีนิติบุคคลมาร่วมจัดตั้งด้วยแล้ว ฐานะของการร่วมทุนจะเปลี่ยนไปเป็นกิจการร่วมค้าทันที
ข. สามีภริยาจะร่วมกันจัดตั้งเป็นคณะบุคคลได้หรือไม่ ในประเด็นนี้ผู้เขียนเห็นว่า ตามมาตรา 57 ตรี แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดให้ถือว่าเงินได้ของภริยาให้เป็นเงินได้ของสามีในกรณีที่ความเป็นสามี ภริยามีอยู่ตลอดปีภาษีดังนั้น สามีภริยาที่ชอบด้วยกฎหมายจึงไม่อาจจัดตั้งเป็นคณะบุคคลได้โดยปริยาย แต่อย่างไรก็ดี หากเป็นการจัดตั้งคณะบุคคลที่ประกอบด้วยสามี ภริยา และบุตร แล้วก็ไม่ถือว่ากรณีมีข้อจำกัดแต่ประการใด
2. การขอมีเลข ประจำตัวผู้เสียภาษีอากร คณะบุคคลจะต้องขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรภายใน 60 วัน นับแต่วันที่มีเงินได้พึงประเมินโดยใช้แบบ ล.ป.10.2 ยื่นต่อสำนักงานสรรพากรดังนี้
ก. ในกรุงเทพมหานครให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (เขต) ที่ผู้ยื่นคำร้องมีภูมิลำเนาอยู่
ข. ในจังหวัดอื่นให้ยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา (อำเภอ) ที่ผู้ยื่นคำร้องมี ภูมิลำเนาอยู่กรณีผู้เสียภาษีอากรที่เป็นบุคคลธรรมดา ไม่สะดวกที่จะยื่นคำร้อง ณ สถานที่ ดังกล่าวข้างต้น จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งในท้องที่ของจังหวัดที่มีภูมิ ลำเนาอยู่หรือ จะยื่น ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่หรือสำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขาแห่งใดแห่งหนึ่งใน กรุงเทพมหานครก็ได้
ทั้งนี้ คณะบุคคลจะต้องแนบเอกสารดัง ต่อไปนี้ไปพร้อมกับแบบคำร้องการขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษีอากรประเภทคณะ บุคคล (แนบพร้อมกับแบบ ล.ป.10.2)
ก. กรณีขอมีเลขและบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน/ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการและผู้ร่วมคณะทุกคน
(2) ภาพถ่ายสำเนาทะเบียนบ้านของที่ตั้งสถานประกอบการ
(3) ภาพถ่ายสัญญาหรือบันทึกข้อตกลงในการจัดตั้งคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ (ถ้ามี)
ข. กรณีขอแก้ไขรายละเอียดผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหลักฐานการเปลี่ยนชื่อ ที่อยู่ของคณะบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนสามัญ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ฉบับเดิม
ค. กรณีบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรชำรุดหรือสูญหาย ได้แก่
(1) ภาพถ่ายบัตรประจำตัวประชาชน/ ใบสำคัญคนต่างด้าว/หนังสือเดินทางของผู้มีอำนาจจัดการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรฉบับเดิม (ถ้ามี)
ง. กรณีขอคืนบัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากร ได้แก่
(1) ภาพถ่ายหนังสือที่แสดงว่าคณะบุคคลเลิกประกอบกิจการ
(2) บัตรประจำตัวผู้เสียภาษีอากรที่คืน
3. การคำนวณภาษีเงินได้ คณะบุคคลมีหน้าที่เสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาเช่นเดียว กับบุคคลธรรมดาทั่วไป โดยถือเป็นหน่วยภาษีอีกหน่วยหนึ่งแยกต่างหากไปจากบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล นั้นๆ โดยมาตรา 56 วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร ที่ได้บัญญัติไว้ดังนี้
“ใน กรณีที่ห้างหุ้นส่วนสามัญหรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลมีเงินได้พึงประเมิน ในปีภาษีที่ล่วงมาแล้วเกินจำนวนตาม (1) ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการยื่นรายการเกี่ยวกับเงินได้พึงประเมินในชื่อของ ห้างหุ้นส่วน หรือคณะบุคคลนั้นที่ได้รับในระหว่างปีภาษีที่ล่วงมาแล้วภายในกำหนดเวลาและ ตามแบบเช่นเดียวกับวรรคก่อน การเสียภาษีในกรณีเช่นนี้ ให้ผู้อำนวยการหรือผู้จัดการรับผิดเสียภาษีในชื่อของห้างหุ้นส่วนหรือคณะ บุคคลนั้นจากยอดเงินได้พึงประเมินทั้งสิ้นเสมือนเป็นบุคคลคนเดียวไม่มีการ แบ่งแยก ทั้งนี้ ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลแต่ละคน ไม่จำต้องยื่นรายการเงินได้สำหรับจำนวนเงินได้พึงประเมินดังกล่าวเพื่อเสีย ภาษีอีก แต่ถ้าห้างหุ้นส่วนหรือคณะบุคคลนั้นมีภาษีค้างชำระให้ผู้เป็นหุ้นส่วนหรือ บุคคลในคณะบุคคลทุกคนร่วมรับผิดในเงินภาษีที่ค้างชำระนั้นด้วย”
นอกจาก “คณะบุคคล” จะมีหน้าที่เสียภาษีเสมือนหนึ่งเป็นบุคคลที่แยกออกจากบุคคลธรรมดาทั่วไปแล้ว เมื่อประกอบธุรกิจมีผลกำไร ในแต่ละปี แล้วนำกำไรของคณะบุคคลมาแบ่งให้กับบุคคลที่อยู่ในคณะบุคคล ส่วนแบ่งกำไร ดังกล่าวก็ได้รับสิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา 42 (14) เงินได้พึงประเมินที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้ บุคคลที่อยู่ในคณะบุคคลไม่ต้องนำเงินได้ที่ได้รับจากการแบ่งกำไรจากคณะบุคคล ไปรวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ดังนี้
“(14) เงินส่วนแบ่งของกำไรจากห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือ คณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคลซึ่งต้องเสียภาษีตามบทบัญญัติในส่วนนี้ แต่ไม่รวมถึงเงินส่วนแบ่งของกำไรจากกองทุนรวม”
4. การคำนวณหักค่าใช้จ่าย และค่าลดหย่อน คณะบุคคลมีสิทธิหักค่าใช้จ่ายสำหรับเงินได้ พึงประเมินประเภทต่างๆ ที่ได้รับเช่นเดียวกับบุคคลธรรมดา แต่สำหรับการหักค่าลดหย่อนคณะบุคคลสามารถหักค่าลดหย่อนตามจำนวนบุคคลที่เป็น บุคคลในคณะบุคคลแต่ละคนซึ่ง เป็นผู้อยู่ในประเทศไทยได้คนละ 30,000 บาท แต่รวมกันต้องไม่เกิน 60,000 บาท เท่านั้น คณะบุคคลจะหักลดหย่อนประเภทอื่นๆ เช่นการหัก ลดหย่อนคู่สมรส การหักลดหย่อนบุตร การหัก ลดหย่อนเงินค่าเบี้ยประกันชีวิต การหักลดหย่อนเงินที่จ่ายเป็นดอกเบี้ยเงินกู้ยืมเพื่อซื้อ เช่าซื้อ หรือสร้างที่อยู่อาศัย ดังเช่นที่บุคคลธรรมดามีสิทธิไม่ได้
5. การคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา เงินได้พึงประเมินภายหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนแล้ว (หรือเงินได้สุทธิ) คณะบุคคลจะต้องนำไปคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในอัตราก้าวหน้า (Progressive Rate) ดังนี้
untitled20_413
บทสรุป
อาจกล่าวได้ว่าหน่วยภาษีที่เรียกว่า “คณะบุคคล” นั้น เป็นหน่วยภาษีที่มีเอกลักษณ์ของตัวเองซึ่งในเบื้องต้นอาจทำให้มองภาพว่าน่า จะมีความซับซ้อนและยุ่งยากโดยเฉพาะในการคำนวณภาษีเงินได้ ซึ่งมีวิธีการที่แตกต่างไปจากหน่วยภาษีที่เป็นบุคคลธรรมดาบ้างในบางประเด็น แต่หากได้ศึกษาทำความเข้าใจอย่างรอบด้านก็จะพบว่ามิได้มีข้อยุ่งยากต่อการ คำนวณภาษีแต่ประการใด จึงหวังว่าเนื้อหาที่ได้นำเสนอมาข้างต้นคงได้ก่อให้เกิดความเข้าใจในประเด็น ต่างๆ แก่ท่านผู้อ่านเพื่อนำไปสู่การปฏิบัติที่ถูกต้องและสนับสนุนให้เกิดธุรกรรม ในรูปแบบของคณะบุคคลอย่างกว้างขวางมากยิ่งขึ้น อันจะส่งผลต่อเศรษฐกิจโดยรวมในท้ายที่สุด
ที่มา สรรพากรสาส์น
คำชี้แจ้งเรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2551
คำชี้แจงกรมสรรพากร
-------------------------------------
ตามที่ได้มีพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 470) พ.ศ. 2551 ยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิจากการคำนวณภาษีเงินได้ตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร เฉพาะส่วนที่ไม่เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแรกในปีภาษีนั้น สำหรับเงินได้สุทธิที่เกิดขึ้นในปี พ.ศ. 2551 เป็นต้นไป เพื่อให้การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาในครั้งนี้เป็นที่เข้าใจกันโดยทั่วไป กรมสรรพากรจึงขอชี้แจงในสาระสำคัญ ดังต่อไปนี้
1. ลดภาระภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา โดยวิธียกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ เฉพาะส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรกสำหรับปีภาษีนั้น ซึ่งเดิมในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาสำหรับเงินได้สุทธิหลังจากหักค่าใช้จ่ายและค่าลดหย่อนต่างๆ ตามที่กฎหมายกำหนดไว้ ผู้มีเงินได้จะต้องนำเงินได้สุทธิดังกล่าวมาคำนวณภาษีตามอัตราที่กำหนดในบัญชีอัตราภาษีเงินได้ สำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 100,000 บาท จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 5 คิดเป็นเงินเท่ากับ 5,000 บาท และเงินได้สุทธิส่วนที่เกิน 100,000 บาท แต่ไม่เกิน 500,000 บาท จะเสียภาษีในอัตราร้อยละ 10 คิดเป็นเงินเท่ากับ 40,000 บาท แต่เมื่อพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ยกเว้นภาษีเงินได้สำหรับเงินได้สุทธิส่วนที่ไม่เกิน 150,000 บาทแรก ดังนั้น ในการคำนวณภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา สำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิไม่เกิน 150,000 บาท จะได้รับยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา และสำหรับผู้ที่มีเงินได้สุทธิเกิน 150,000 บาท จะต้องนำเงินได้สุทธิเฉพาะส่วนที่เกิน 150,000 บาท ไปคำนวณตามบัญชีอัตราภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 187 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา 65 ทวิ (2) แห่งประมวลรัษฎากรซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 25) พ.ศ. 2525 อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา 29 ประกอบกับมาตรา 33 และมาตรา 41 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
2. วันใช้บังคับของกฎหมาย การยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ มีผลใช้บังคับสำหรับเงินได้ของปี พ.ศ. 2551 ที่ได้รับตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป และเนื่องจากพระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ ได้ออกมาใช้บังคับในวันที่ 29 มีนาคม 2551 จึงมีผลทำให้การคำนวณภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ที่ได้รับในเดือนมีนาคม 2551 เป็นต้นไป ผู้จ่ายเงินได้มีสิทธิปรับปรุงการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย โดยให้คำนวณภาษีที่พึงต้องเสียตลอดปี พ.ศ. 2551 ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมายใหม่ แล้วหักด้วยภาษีที่นำส่งแล้ว จำนวนภาษีที่เหลือให้เฉลี่ยและนำส่งสำหรับเดือนที่เหลือของปี พ.ศ. 2551 เพื่อไม่ให้เป็นภาระในการขอคืนภาษีเงินได้สำหรับเงินได้พึงประเมินที่ได้รับในปี พ.ศ. 2551
กรมสรรพากร
13 สิงหาคม 2551
แนวปฏิบัติในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน
แนวปฏิบัติในการคำนวณอัตราแลกเปลี่ยน ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 ตอน 1
14 มีนาคม พ.ศ. 2550 07:37:00
กรมสรรพากรได้วางแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65(5)(8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 ลงวันที่ 28 กันยายน 2548 โดยให้มีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548 จึงขอนำมาเป็นประเด็น ปุจฉา-วิสัชนา ดังนี้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปุจฉา แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินตรา ทรัพย์สินและหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่รับมาหรือจ่ายไประหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไร
วิสัชนา กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลได้รับมาหรือจ่ายไปซึ่งเงินตรา ทรัพย์สินหรือหนี้สิน ซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไปนั้น ทั้งนี้ ตามมาตรา 65 ทวิ (5) วรรคสอง แห่งประมวลรัษฎากร
1.ราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไป กรณีการได้รับเงินหรือจ่ายเงินเป็นเงินตราต่างประเทศ (กรณีรับจ่ายเงินสด) หมายถึง อัตราแลกเปลี่ยน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) ที่ได้รับมาหรือจ่ายไปจริง ในทางปฏิบัติจากการนำเงินสกุลต่างประเทศไปแลกเป็นเงินสกุลบาท
2. ราคาตลาดในวันที่รับมาหรือจ่ายไป กรณีการบันทึกบัญชี ณ วันที่เกิดรายการทรัพย์สิน หรือหนี้สิน (กรณีที่ยังมิได้รับจ่ายเป็นเงินสด) หมายถึง
(1) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อหรืออัตราขาย) หรือ
(2) อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวันที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในแต่ละวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยหรืออัตราขายถัวเฉลี่ย) (ก) กรณีอัตราซื้อถัวเฉลี่ยอาจใช้อัตรา SIGHT หรือ T/T ก็ได้ หมายถึง อัตราซื้อถัวเฉลี่ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศไว้ ณ วันทำการนั้นๆ ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนซื้อถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการก่อน (ข) กรณีอัตราขายหมายถึง อัตราขายถัวเฉลี่ยที่ธนาคารแห่งประเทศไทย ประกาศไว้ ณ วันทำการนั้นๆ ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนขายถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการก่อน ซึ่งผู้ประกอบการมีสิทธิเลือกถือปฏิบัติตามข้อ (1) หรือ (2) อย่างใดอย่างหนึ่ง และเมื่อได้เลือกถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ใดแล้ว ให้ถือปฏิบัติตามหลักเกณฑ์นั้นตลอดไป ห้ามมิให้เปลี่ยนแปลง ทั้งนี้ตามหลักความสม่ำเสมอ
ปุจฉา แนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินตรา ทรัพย์สินและหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ตามมาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร อย่างไร
วิสัชนา มาตรา 65 ทวิ (5) แห่งประมวลรัษฎากร กำหนดแนวทางปฏิบัติเกี่ยวกับเงินตรา ทรัพย์สินและหนี้สินที่มีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศคงเหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ดังนี้
กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนอกจากธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นตามที่รัฐมนตรีกำหนดมีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตราหรือทรัพย์สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์รับซื้อซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทย ได้คำนวณไว้ และให้คำนวณค่าหรือราคาของหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยที่ธนาคารพาณิชย์ขาย ซึ่งธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
ทั้งนี้ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ก) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลตามวรรคหนึ่งเป็นธนาคารพาณิชย์หรือสถาบันการเงินอื่นที่รัฐมนตรีกำหนด มีเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลดังกล่าวคำนวณค่าหรือราคาของเงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินเป็นเงินตราไทยตามอัตราถัวเฉลี่ยระหว่างอัตราซื้อ และอัตราขายของธนาคารพาณิชย์ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยได้คำนวณไว้
ทั้งนี้ตามมาตรา 65 ทวิ (5) (ข) แห่งประมวลรัษฎากร ทรัพย์สิน หรือหนี้สินซึ่งมีค่าหรือราคาเป็นเงินตราต่างประเทศที่เหลืออยู่ในวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ซึ่งบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลต้องคำนวณค่าหรือราคาเป็นเงินตราไทยตามวรรคหนึ่ง และสอง หมายถึง เงินตรา ทรัพย์สิน หรือหนี้สินที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลมีสิทธิเรียกร้องที่จะได้รับหรือมีภาระผูกพันที่จะต้องชำระเป็นเงินตราต่างประเทศเป็นจำนวนเงินที่กำหนดไว้แน่นอน เช่น เงินฝากธนาคาร (Cash) ลูกหนี้การค้า (Account Receivable) ลูกหนี้และตั๋วเงินรับจากการขายสินค้า (Accounts and Notes Receivable) หลักทรัพย์ในความต้องการของตลาด (Marketable Securities) ซึ่งมีวัตถุประสงค์ที่จะเปลี่ยนแปลงเป็นเงินสดทันทีที่ต้องการ แต่ไม่รวมถึงตราสารทุนซึ่งเป็นเงินลงทุนระยะยาวที่เป็นสกุลเงินตราต่างประเทศเพื่อหวังเงินปันผลในบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายของต่างประเทศ เงินให้กู้ยืมแก่บริษัทในเครือเดียวกัน (Loan to Subsidiaries) ค่าใช้จ่ายล่วงหน้า (Prepaid Expense) เจ้าหนี้จากการซื้อสินค้า (Accounts Payable) ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย (Accrued Expense) เป็นต้น
ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 ตอน 2
21 มีนาคม พ.ศ. 2550 07:19:00
ขอนำประเด็นแนวปฏิบัติในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยตามมาตรา 9 มาตรา 65(5)(8) และมาตรา 79/4 แห่งประมวลรัษฎากร ตามคำสั่งกรมสรรพากรที่ ป.132/2548 ลงวันที่ 28 กันยายน 2548 ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม 2548
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : มาปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อนดังนี้
ปุจฉา กรณีบริษัท ก จำกัด ส่งออกสินค้าหรือให้บริการ แก่บริษัทในต่างประเทศ โดยตกลงราคาสินค้าเป็นหน่วยเงินตราต่างประเทศ บริษัท ก จำกัด จะปฏิบัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร
วิสัชนา บริษัท ก จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
1. กรณีดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 25xx (1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 25xx หรือ (2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 3 มีนาคม 25xx ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพุธที่ 2 มีนาคม 25xx
2. กรณีดำเนินการส่งออกสินค้าและบันทึกบัญชีในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 25xx (1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 25xx หรือ (2) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันจันทร์ที่ 14 มีนาคม 25xx ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 11 มีนาคม 25xx เนื่องจากวันเสาร์ที่ 12 และวันอาทิตย์ที่ 13 มีนาคม 25xx เป็นวันหยุดราชการ
3. กรณีดำเนินการออกใบแจ้งหนี้ค่าบริการนายหน้า และบันทึกบัญชีในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 25xx (1) ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราซื้อ) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยในวันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 25xx หรือ (2) ใช้อัตราและเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราซื้อถัวเฉลี่ยซึ่งจะเป็น SIGHT หรือ T/T ก็ได้) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศไว้ ณ วันพฤหัสบดีที่ 7 เมษายน 25xx ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันอังคารที่ 5 เมษายน 25xx เนื่องจากวันพุธที่ 6 เมษายน 25xx เป็นวันหยุดทำการของธนาคาร
ปุจฉา กรณีบริษัท ข จำกัด ได้กู้ยืมเงินจากธนาคารในต่างประเทศ บริษัท ข จำกัด ในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 25xx หรือวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 25xx จะปฏิบัติเกี่ยวกับอัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลอย่างไร
วิสัชนา บริษัท ข จำกัด มีสิทธิใช้อัตราแลกเปลี่ยนในการบันทึกบัญชีเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ดังนี้
1. ใช้อัตราแลกเปลี่ยนเงินตรา (อัตราขาย) ของธนาคารพาณิชย์ที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยการธนาคารพาณิชย์ที่ได้ประกาศไว้ในการคำนวณเงินตราต่างประเทศเป็นเงินตราไทยดังนี้ - อัตราที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 22 เมษายน 25xx กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 25xx และ - อัตราที่ประกาศในวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 25xx กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 25xx
2. ใช้อัตราและเปลี่ยนเงินตราตามอัตราอ้างอิงประจำวัน (อัตราขายถัวเฉลี่ย) ที่ธนาคารแห่งประเทศไทยประกาศ - อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 22 เมษายน 25xx ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันพฤหัสบดีที่ 21 เมษายน 25xx กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 23 เมษายน 25xx และ - อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 25xx (บ่าย) ซึ่งเป็นอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยนของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการประจำวันศุกร์ที่ 29 เมษายน 25xx กรณีบันทึกบัญชีในวันเสาร์ที่ 30 เมษายน 25xx เนื่องจากในวันทำการสุดท้ายของเดือนหนึ่งเดือนใด ธนาคารแห่งประเทศไทยจะออกประกาศอัตราแลกเปลี่ยนถัวเฉลี่ยของเงินสกุลต่างๆ ณ สิ้นวันทำการนั้นอีกหนึ่งฉบับ อนึ่ง อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราที่ประกาศไว้ ณ วันศุกร์ที่ 29 เมษายน 25xx (บ่าย) ดังกล่าว ให้ใช้สำหรับการบันทึกบัญชีสำหรับรายการที่เกิดขึ้นในวันอาทิตย์ที่ 1 พฤษภาคม 25xx และวันจันทร์ที่ 2 พฤษภาคม 25xx ด้วย (ถ้ามี)
โดย สุเทพ พงษ์พิทักษ์
การใช้งานภาษาไทยในแบบฟอร์ม PDF
แบบฟอร์มที่อยู่ในรูป PDF ไฟล์และถูกจัดเก็บในแบบของฟอร์ม ซึ่งจะมีช่องให้เรากรอกข้อมูลลงไปได้ เช่น แบบฟอร์มภาษีของสรรพากร ปกติถ้าเราพิมพ์ภาษาไทยลงไป มันจะไม่ขึ้นหรือขึ้นเป็นข้อความขยะ วิธีแก้ไขต้องติดตั้งโปรแกรมเพิ่มเติม เนื่องจากโปรแกรม Arcobat ที่ติดตั้งมันไม่รู้จักภาษาไทย เราจำเป็นต้องติดตั้งส่วนประกอบของโปรแกรมเพิ่มเติมลงไป คือ
- Package AdbeRdrSD80_all (คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด)
ถ้ายังไม่สามารถใช้งานภาษาไทย ให้ลงตัวนี้เพิ่มลงไปอีก
- FontPack80_Xtd_Lang (คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด)
ส่วนประกอบของโปรแกรมข้างต้นเป็นของ Arcobat Reader Version 8.0
- Acrobat Reader V.8.0 (คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลด)
แต่ถึงจะใช้ภาษาไทยได้ เราก็จะไม่สามารถ Save ไฟล์ได้ เนื่องจากโปรแกรมที่ให้ download เป็นฟรีแวร์ ถ้าต้องการ Save ไฟล์ได้ ต้องใช้เวอร์ชั่นเต็ม
วิธีดึงจดหมายจาก gmail ไปเก็บไว้ที่ outlook express
เมื่อได้ลงทะเบียนใช้บริการของ gmail เรียบร้อยแล้ว ให้ login เข้าไป เลือกเมนู Setting แล้วเราจะไปอยู่ที่หัวข้อ General ตรงบรรทัด Language ให้เปลี่ยนเป็น ภาษาไทย (ไม่เปลี่ยนก็ได้) แล้วกด Save Change (อยู่ด้านล่าง)
เราจะออกมาอยู่ด้านนอกให้กดเมนู การตั้งค่า แล้วเลือกแท๊บ การส่งต่อและ POP/IMAP ดูรูปประกอบ ให้ติ๊กเพื่อเปิดใช้บริการ POP หรือ IMAP อย่างใดอย่างหนึ่ง หรือเลือกใช้ทั้งสองอันเลยก็ได้ กด บันทึกการเปลี่ยนแปลง
ข้อแตกต่างระหว่าง POP และ IMAP คือ POP จะดึงหัวจดหมายและเนื้อเรื่องมาเก็บไว้ที่ Outlook Express ทั้งหมด ส่วน IMAP จะดึงเฉพาะหัวจดหมายเท่านั้น เนื้อเรื่องจะดึงมาก็ต่อเมื่อมีการคลิ๊กอ่านเท่านั้น (ประหยัดเวลาดี) และจะ update จำนวนจดหมายใน gmail กับ outlook express ให้ตรงกัน ถ้ากดลบจดหมายใน Outlook Express ใน gmail ก็จะถูกลบไปด้วย (วิธีนี้นิยมใช้ในโทรศัพท์มือถือ)
มาดูการตั้งค่าในโปรแกรม Outlook Express ให้ไปที่เมนู Tools เลือกแท๊บ Accounts
เลือกเมนู Add เลือก Mail
- พิมพ์ชือที่ต้องการให้แสดงลงไป (Display Name) กด Next
- พิมพ์ email address กด Next จะเข้าสู่หน้าจอถัดไป ดูรูปประกอบ
ใน My incoming mail server is เราสามารถกำหนดค่าได้ 3 แบบคือแบบ POP3, IMAP และ HTTP
- ในช่อง Incoming mail ถ้ากำหนดเป็น POP3 ให้พิมพ์ pop.gmail.com แต่ถ้ากำหนดเป็น IMAP ให้พิมพ์ imap.gmail.com
- ในช่อง Outgoing mail ให้พิมพ์ smtp.gmail.com
เมื่อกำหนดค่าเรียบร้อยแล้วให้กด Next จะเข้าสู่หน้าจอให้กรอก password ของ email และให้ติ๊กที่ช่อง Remember password ด้วย เป็นอันเรียบร้อย สำหรับคนที่กำหนดค่าเป็น POP3 ต้องเข้าไปกำหนดค่าเพิ่มเติมที่ Outlook Express ดังนี้
ไปที่ Tools เลือกแท๊บ Accounts จะขึ้น list email ให้กดเลือก email ต่อไปให้แท๊บที่ด้านขวาคำว่า Properties เลือกแท๊บ Advanced กำหนดค่าดังนี้
Outgoing mail (SMTP) เป็น 465
Imcoming mail (POP3) เป็น 995
ดูรูปประกอบ
หลังจากนั้นให้เลือกแท๊บ Servers ที่ด้านล่างให้ติ๊กถูกที่ช่อง My server requires authentication เป็นอันเรียบร้อย
ค่ารับรองที่ถือเป็นรายจ่ายได้
สรุปค่ารับรอง
1. รายรับรวมหรือทุนจดทะเบียนที่ชำระแล้ว (แล้วแต่ว่าอันไหนจะสูงกว่า) x 0.3% (ไม่เกิน 10 ล้านบาท)
2. ค่ารับรองที่ให้เป็นสิ่งของต้องไม่เกิน 2,000 บาทต่อคน
กฎกระทรวง
ฉบับที่ 143 (พ.ศ. 2522)
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยภาษีเงินได้
---------------------------------------------
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา 4 แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 20) พ.ศ. 2513 และมาตรา 65 ตรี (4) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2512 รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังออกกฎกระทรวงไว้ ดังต่อไปนี้
ข้อ 1 ค่ารับรองหรือค่าบริการที่จะถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิได้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อ 2 ข้อ 3 ข้อ 4 และข้อ 5
ข้อ 2 ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป และบุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการต้องมิใช่ลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลเว้นแต่ลูกจ้างดังกล่าวจะมีหน้าที่เข้าร่วมในการรับรองหรือการบริการนั้นด้วย
ข้อ 3 ค่ารับรองหรือค่าบริการ ต้อง
(1) เป็นค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ เช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น หรือ
“(2) เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการไม่เกินคนละ 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ”
ข้อ 4 จำนวนเงินค่ารับรองและค่าบริการให้นำมาหักเป็นรายจ่ายได้เท่ากับจำนวนที่ต้องจ่าย แต่รวมกันต้องไม่เกินร้อยละ 0.3 ของจำนวนเงินยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมารวมคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใด ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของจำนวนเงินทุนที่ได้รับชำระแล้วถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แล้วแต่จำนวนใดจะมากกว่า ทั้งนี้รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
(แก้ไขเพิ่มเติมโดยกฎกระทรวง ฉบับที่ 222 (พ.ศ. 2542) ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีที่เริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม 2542 เป็นต้นไป)
ข้อ 5 ค่ารับรองหรือค่าบริการนั้น ต้องมีกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนหรือผู้จัดการ หรือผู้ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าวเป็นผู้อนุมัติหรือสั่งจ่ายค่ารับรอง หรือค่าบริการนั้นด้วย และต้องมีใบรับหรือหลักฐานของผู้รับสำหรับเงินที่จ่ายเป็นค่ารับรองหรือเป็นค่าบริการเว้นแต่ในกรณีที่ผู้รับเงินไม่มีหน้าที่ต้องออกใบรับตามประมวลรัษฎากร
ข้อ 6 กฎกระทรวงฉบับนี้ให้ใช้บังคับสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีเริ่มในหรือหลังวันที่ 1 มกราคม พ.ศ. 2522 เป็นต้นไป
ให้ไว้ ณ วันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2522
ชาญชัย ลี้ถาวร
รัฐมนตรีช่วยว่าการฯ รักษาราชการแทน
รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
____________________________________________________________________
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้กฎกระทรวงฉบับนี้ คือ เพื่อกำหนดหลักเกณฑ์ในการนำค่ารับรองหรือค่าบริการมาหักเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลตามมาตรา 65 ตรี (5) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกำหนดแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ 5) พ.ศ. 2521 จึงจำเป็นต้องออกกฎกระทรวงนี้
(ร.จ. เล่ม 96 ตอนที่ 156 วันที่ 13 กันยายน 2522)
การวางแผนในเรื่องค่ารับรอง
การวางแผนเกี่ยวกับค่ารับรอง ตอน 1
26 ธันวาคม พ.ศ. 2550 05:00:00
ในช่วงใกล้ปีใหม่ เลยเรื่อยไปจนถึงตรุษจีน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะมีรายจ่ายค่ารับรองเกิดขึ้นเป็นจำนวนมากกว่าช่วงเวลาปกติ จึงขอนำมาเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ดังนี้
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปุจฉา มีหลักเกณฑ์และเงื่อนไขเกี่ยวกับค่ารับรองหรือค่าบริการอย่างไร
วิสัชนา ค่ารับรองหรือค่าบริการที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้นั้น มีข้อกำหนดให้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ดังต่อไปนี้
1. เงื่อนไขในการรับรองหรือบริการ
1.1 ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป ซึ่งเป็นเงื่อนไขอัตโนมัติที่ไม่ต้องพิจารณา เพราะการรับรองตามปกติประเพณี อันถือเป็นธรรมเนียมที่นิยมถือปฏิบัติกันโดยทั่วไป แต่อย่างไรก็ตาม หากการรับรองหรือบริการนั้น ผิดไปจากเงื่อนไขดังกล่าว เช่น รับรองเพื่อให้เกิดสิทธิหรือประโยชน์ต่อผู้เลี้ยงรับรองหรือผู้ให้บริการที่มากกว่าสิทธิหรือประโยชน์ทั่วไปที่พึงได้ ก็ย่อมถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิตามเงื่อนไขข้อนี้ไม่ได้
1.2 บุคคลที่ทำการรับรองต้องไม่ใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างจะมีหน้าที่หรือมีส่วนเข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย มีการกำหนดเงื่อนไขตัวบุคคลที่จะได้รับการเลี้ยงรับรองหรือรับบริการว่า ต้องเป็นบุคคลภายนอกที่มิใช่พนักงานหรือลูกจ้างของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีการรับรองหรือบริการ แต่ก็ยังเปิดช่องไว้ให้พนักงานหรือลูกจ้างที่มีหน้าที่หรือมีส่วนโดยตรงต่อการรับรองหรือบริการก็ให้มีส่วนเข้าร่วมในงานเลี้ยงรับรองหรือบริการนั้นได้
2. ลักษณะของค่ารับรองหรือค่าบริการ
2.1 ต้องเป็นค่าใช้จ่ายดังต่อไปนี้
(1) ค่าใช้จ่ายอันเกี่ยวเนื่องโดยตรงกับการรับรองหรือการบริการเช่น ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬา เป็นต้น
(2) ค่าใช้จ่ายในการรับรองหรือบริการดังกล่าวมีโอกาสที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ ซึ่งไม่ผูกพันว่าจ่ายค่ารับรองหรือบริการนั้นแล้วกิจการต้องได้รับประโยชน์โดยตรง เช่น การรับรองหรือบริการเพื่อมิตรภาพ ไมตรีจิตอันดีงาม การรับรองเนื่องในธุรกิจการค้า การรับรองเพื่อแสดงความยินดีในความสำเร็จในการทำสัญญาทางธุรกิจ เป็นต้น
ดังนั้น ค่าอาหารและเครื่องดื่มตามหลักฐานที่ปรากฏอาจไม่ใช่ค่ารับรองหรือค่าบริการ หากมิได้มีการรับรองหรือบริการแก่บุคคลภายนอกอย่างแท้จริง เช่น รายจ่ายเพื่อประโยชน์ส่วนตนและครอบครัวของกรรมการหรือพนักงานหรือที่ปรึกษาของบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคล ซึ่งถือเป็นรายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือให้โดยเสน่หา
2.2 ในกรณีที่เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ ต้องมีจำนวนไม่เกิน 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ
2.3 กรณีที่ค่ารับรองหรือค่าบริการ ตลอดจนค่าสิ่งของที่ให้แก่ผู้ที่ได้รับการรับรองดังกล่าวมีภาษีมูลค่าเพิ่มหรือภาษีซื้อ ให้นำค่าภาษีซื้อมารวมเป็นรายจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการด้วย เนื่องจากภาษีซื้อสำหรับค่ารับรองหรือค่าบริการเป็นภาษีซื้อต้องห้ามมิให้นำไปเครดิตหักออกจากภาษีขายในการคำนวณภาษีมูลค่าเพิ่ม แต่ยอมให้นำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลได้ ตามมาตรา 65 ตรี (6 ทวิ) แห่งประมวลรัษฎากร
3. หลักฐานและการอนุมัติ
3.1 ค่ารับรองหรือค่าบริการต้องมีใบรับ หรือหลักฐานของผู้รับ หรือหลักฐานอื่นในกรณีที่ไม่มีใบรับ เช่น รายงานการเดินทาง ประกอบการบันทึกรายจ่าย
3.2 ค่ารับรองหรือบริการ ต้องมีการอนุมัติหรือสั่งจ่าย โดยกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
ดังนั้น นอกจากการมีหลักฐานประกอบการถือเป็นรายจ่ายในการรับรองหรือบริการแล้ว ในการอนุมัติสั่งจ่ายโดยกรรมการ หรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว จึงควรอย่างยิ่งที่จะระบุผู้ที่ได้รับการรับรองไว้ด้วย เพื่อพิสูจน์แสดงว่ามิใช่รายจ่ายอันมีลักษณะเป็นการส่วนตัวหรือการให้โดยเสน่หา ซึ่งถือเป็นรายจ่ายต้องห้าม
4. จำนวนเงินค่ารับรองหรือค่าบริการตามหลักเกณฑ์ข้างต้น ให้ถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง แต่ไม่เกินร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้หรือยอดขายที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดๆ ในรอบระยะเวลาบัญชีหรือของเงินทุนชำระแล้วเพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีแล้วแต่อย่างไรจะมากกว่า ทั้งนี้ รายจ่ายที่จะนำมาหักได้จะต้องมีจำนวนสูงสุดไม่เกิน 10 ล้านบาท
การวางแผนเกี่ยวกับค่ารับรอง ตอน 2
2 มกราคม พ.ศ. 2551 05:00:00
ขอนำประเด็นการวางแผนเกี่ยวกับรายจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการเป็นประเด็นปุจฉา - วิสัชนา ต่อจากสัปดาห์ก่อน เนื่องจากในช่วงใกล้ปีใหม่ เลยเรื่อยไปจนถึงตรุษจีน บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลจะมีรายจ่ายค่ารับรองเกิดขึ้นเป็นจำนวนมาก
กรุงเทพธุรกิจออนไลน์ : ปุจฉา มีแนวทางในการวางแผนภาษีเกี่ยวกับค่ารับรองหรือค่าบริการอย่างไร
วิสัชนา มีแนวทางในการวางแผนภาษีอากร โดยเฉพาะภาษีเงินได้นิติบุคคล สำหรับรายจ่ายค่ารับรองหรือค่าบริการที่จะนำไปถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิเพื่อเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล พอสังเขปต่อไปนี้
1. ศึกษาเงื่อนไขเกี่ยวกับค่ารับรองหรือค่าบริการตามที่กฎหมายกำหนด ให้ชัดเจน ซึ่งประกอบด้วย
(1) ต้องเป็นค่ารับรองหรือค่าบริการอันจำเป็นตามธรรมเนียมประเพณีทางธุรกิจทั่วไป
(2) ต้องรับรองบุคคลที่ไม่ใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างจะมีส่วนเข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย
(3) ค่ารับรองหรือค่าบริการที่จะอำนวยประโยชน์แก่กิจการ
(4) กรณีที่เป็นค่าสิ่งของที่ให้แก่บุคคลซึ่งได้รับการรับรองหรือรับบริการ ต้องมีจำนวนไม่เกิน 2,000 บาท ในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ
(5) ต้องมีหลักฐานประกอบรายจ่ายค่ารับรองหรือบริการ และมีการอนุมัติหรือสั่งจ่ายโดยกรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนผู้จัดการหรือผู้ที่ได้รับมอบหมายจากบุคคลดังกล่าว
(6) รายการค่ารับรองใดที่มีภาษีมูลค่าเพิ่มให้นำมาถือรวมเป็นรายจ่ายค่ารับรองด้วย
2. กำหนดจำนวนค่ารับรองหรือค่าบริการไม่ให้มีจำนวนสูงเกินกว่าหลักเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนดได้โดยนำประมาณการรายได้ มาคำนวณตามอัตราค่ารับรองหรือค่าบริการ ตามที่กฎหมายกำหนด ตามข้อ 1.4 แล้วจัดสรรแจกจ่ายจำนวนค่ารับรองไปยังแผนกหรือฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ก็จะสามารถควบคุมจำนวนค่ารับรองหรือค่าบริการให้จำกัดในวงเงินไม่เกินกว่าจำนวนค่ารับรองหรือค่าบริการตามที่กำหมายกำหนดอันจะเป็นผลดีต่อทั้งการดำเนินกิจการ และการวางแผนภาษีอากร เพื่อความสะดวกในการคำนวณจำนวนค่ารับรองตามเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด
สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มียอดรายได้หรือยอดขายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเงินทุนชำระแล้วเพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี เกินกว่า 3,333,333,333.33 บาทขึ้นไป ซึ่งสามารถคำนวณจำนวนค่ารับรองหรือค่าบริการได้เพียง 10 ล้านบาทเท่านั้น
ในกรณีที่มียอดรายได้หรือยอดขายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเงินทุนชำระแล้วเพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีมีจำนวนต่ำกว่า 3,333,333,333.33 บาท จึงจะคำนวณค่ารับรองทางภาษีอากรในอัตราร้อยละ 0.3 ของยอดรายได้หรือยอดขายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเงินทุนชำระแล้วเพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี แต่ถ้ายอดรายได้หรือยอดขายที่นำมาคำนวณกำไรสุทธิก่อนหักรายจ่ายใดๆ หรือเงินทุนชำระแล้วเพียง ณ วันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชีมีจำนวนตั้งแต่ 3,333,333,333.33 บาทขึ้นไป ให้ใช้จำนวน 10,000,000 บาทเป็นจำนวนค่ารับรองสูงสุดที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้นจะสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณกำไรหรือขาดทุนสุทธิทางภาษีอากรได้
3. หลีกเลี่ยงการให้การรับรองหรือการบริการเป็นสิ่งของ เพราะมีข้อกำหนดจำนวนค่ารับรองหรือค่าบริการไว้ค่อนข้างจำกัดไม่เกิน 2,000 บาทในแต่ละคราวที่มีการรับรองหรือการบริการ ในขณะที่จำนวนค่ารับรองหรือบริการที่เป็นค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเครื่องดื่ม ค่าดูมหรสพ ค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการกีฬาเป็นต้นนั้น มิได้มีการจำกัดจำนวนไว้ นอกจากนี้การให้สิ่งของเป็นค่ารับรองหรือการบริการอาจต้องเสียภาษีมูลค่าเพิ่ม โดยถือเป็นการขายสินค้าตามมาตรา 77/1 (8) แห่งประมวลรัษฎากร
4. แม้โดยข้อกำหนดของกฎหมายจะมิได้ให้ระบุชื่อของผู้ถูกรับรองไว้ในเอกสารหลักฐานประกอบรายจ่ายค่ารับรองหรือบริการ แต่การกำหนดว่าต้องรับรองบุคคลอื่นที่มิใช่ลูกจ้าง เว้นแต่ลูกจ้างจะมีส่วนเข้าร่วมในการรับรองหรือบริการนั้นด้วย จึงจำเป็นที่จะต้องระบุชื่อผู้ถูกรับรองหรือบริการไว้ในหลักฐานการจ่ายเสมอ เช่น ในใบสำคัญการลงบัญชี (SLIP) หรือรายงานการขออนุมัติรายจ่ายค่ารับรอง
5. ในปีที่แล้วไม่มีรายได้หรือยอดขาย ก็สามารถมีค่าใช้จ่ายได้ โดยคำนวณค่ารับรองหรือบริการจากฐานเงินทุนจดทะเบียนที่เรียกชำระแล้วจนถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี
6. ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดมียอดรายได้หรือยอดขายสูงกว่าเงินทุนชำระแล้วจนถึงวันสุดท้ายของรอบระยะเวลาบัญชี ฐานที่จะนำมาคำนวณจำนวนค่ารับรองหรือบริการต้องเป็น ยอดรายได้หรือยอดขายก่อนหักรายจ่ายใดๆ ที่ต้องนำมาคำนวณกำไรสุทธิ ดังนั้น จึงไม่นำรายได้ที่ได้รับยกเว้นมารวมเป็นฐานในการคิดค่ารับรองหรือบริการ แต่ต้องนำรายได้ก่อนหักต้นทุนหรือค่าใช้จ่ายทั้งสิ้น เช่น ยอดขายทรัพย์สินเก่าก่อนหักต้นทุน กำไรจากอัตราแลกเปลี่ยนก่อนหักผลขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยน ดอกเบี้ยเงินฝาก ดอกเบี้ยเงินให้กู้ยืม รายได้เบ็ดเตล็ดในส่วนที่หักกลบกับรายจ่าย ฯลฯ มารวมเป็นฐานในการคิดค่ารับรองหรือบริการด้วย
ที่มา http://www.bangkokbiznews.com/
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 476/2551
พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๖)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้สนับสนุนการศึกษาสำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย สำหรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษา
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล
ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ
ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๖) พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็น (๓) ของวรรคสอง ของมาตรา ๓ แห่งพระราชกฤษฎีกา ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๗
"(๓) จัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย สำหรับนักเรียน นิสิต หรือนักศึกษาของสถานศึกษา ทั้งนี้ ให้เป็นไป
ตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกรมสรรพากรประกาศกำหนด"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ โดยที่ได้มีพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๒๐) พ.ศ. ๒๕๔๗ ยกเว้นภาษีเงินได้ ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีธุรกิจเฉพาะ และอากรแสตมป์ ให้แก่ผู้ที่ให้การสนับสนุนการศึกษาแก่สถานศึกษาของทางราชการสถานศึกษาขององค์การของรัฐบาล โรงเรียนเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยโรงเรียนเอกชน หรือ
สถาบันอุดมศึกษาเอกชนที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายว่าด้วยสถาบันอุดมศึกษาเอกชนแล้วนั้น เพื่อส่งเสริมให้ภาคเอกชนมีส่วนร่วมในการสนับสนุนการศึกษามากยิ่งขึ้น สมควรยกเว้นภาษีเงินได้ให้แก่ผู้สนับสนุนการศึกษา สำหรับเงินได้ที่จ่ายเป็นค่าใช้จ่ายในการจัดหาครู อาจารย์ หรือผู้ทรงคุณวุฒิทางการศึกษา หรือเป็นทุนการศึกษา การประดิษฐ์ การพัฒนา การค้นคว้า หรือการวิจัย จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 475/2551
พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๕)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๕) พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ลดอัตราภาษีเงินได้ตาม (ก) ของ (๒) สำหรับบริษัทหรือห้างหุ้นส่วน
นิติบุคคลแห่งบัญชีอัตราภาษีเงินได้ท้ายหมวด ๓ ในลักษณะ ๒ แห่งประมวลรัษฎากร ให้แก่บริษัทตามมาตรา ๔ และคงจัดเก็บในอัตราดังต่อไปนี้ เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มในหรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑
(๑) ร้อยละยี่สิบของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินยี่สิบล้านบาท สำหรับบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามข้อบังคับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยว่าด้วยการรับหลักทรัพย์จดทะเบียนใน "ตลาดหลักทรัพย์เอ็มเอไอ"
(๒) ร้อยละยี่สิบห้าของกำไรสุทธิ เฉพาะส่วนที่ไม่เกินสามร้อยล้านบาทสำหรับบริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ นอกเหนือจากกรณีตาม (๑)
มาตรา ๔ บริษัทที่จะได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามมาตรา ๓ จะต้องเป็น
บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ก่อนวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ และไม่เคยได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้ตามพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ หรือไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๓ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๐) พ.ศ. ๒๕๔๙
มาตรา ๕ ในกรณีที่บริษัทตามมาตรา ๔ ได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคล
ตามมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๓๘๗) พ.ศ. ๒๕๔๔ อยู่ในวันที่พระราชกฤษฎีกานี้ใช้บังคับ เมื่อได้ใช้สิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลครบห้ารอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันตามพระราชกฤษฎีกาดังกล่าวแล้ว ให้ได้รับสิทธิในการลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลตามพระราชกฤษฎีกานี้ แต่ไม่เกินรอบระยะเวลาบัญชี ๒๕๕๓ ที่สิ้นสุดในหรือหลังวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
มาตรา ๖ ให้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลังรักษาการตามพระราชกฤษฎีกานี้
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สมควรลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่บริษัทที่มีหลักทรัพย์จดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เป็นเวลาสามรอบระยะเวลาบัญชีต่อเนื่องกันนับแต่รอบระยะเวลาบัญชีแรกที่เริ่มใน
หรือหลังวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๑ เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 474/2551
พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๔)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า โดยที่เป็นการสมควรปรับปรุงระยะเวลาการได้รับสิทธิลดอัตราภาษีเงินได้นิติบุคคลให้แก่ บริษัทที่นำหลักทรัพย์มาจดทะเบียนกับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย
อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๓ (๑) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๑๐) พ.ศ. ๒๔๙๖ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๗๔) พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความใน (๑) ของมาตรา ๔ แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการลดอัตรารัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๗) พ.ศ. ๒๕๕๐ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"(๑) ยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยตามกฎหมายว่าด้วยหลักทรัพย์และตลาดหลักทรัพย์ ระหว่างวันที่ ๑ มกราคม พ.ศ. ๒๕๕๐ ถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๑ และได้รับการจดทะเบียนหลักทรัพย์ภายในวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๒"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สมควรขยายระยะเวลาการยื่นคำขอจดทะเบียนหลักทรัพย์กับตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย เพื่อกระตุ้นการลงทุนของภาคเอกชนและเพิ่มขีดความสามารถในการแข่งขันอันจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้น จึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
พระราชกฤษฎีกา ฉบับที่ 473/2551
พระราชกฤษฎีกา
ออกตามความในประมวลรัษฎากร
ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ ๔๗๓)
พ.ศ. ๒๕๕๑
ภูมิพลอดุลยเดช ป.ร.
ให้ไว้ ณ วันที่ ๒๙ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๕๕๑
เป็นปีที่ ๖๓ ในรัชกาลปัจจุบัน
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช มีพระบรมราชโองการโปรดเกล้า ฯ
ให้ประกาศว่า
โดยที่เป็นการสมควรแก้ไขเพิ่มเติมหลักเกณฑ์ วิธีการ เงื่อนไข และอัตราการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน บางกรณี อาศัยอำนาจตามความในมาตรา ๑๘๗ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย และมาตรา ๖๕ ทวิ (๒) แห่งประมวลรัษฎากร ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชบัญญัติแก้ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร (ฉบับที่ ๒๕) พ.ศ. ๒๕๒๕ อันเป็นกฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยวกับการจำกัดสิทธิและเสรีภาพของบุคคล ซึ่งมาตรา ๒๙ ประกอบกับมาตรา ๓๓ และมาตรา ๔๑ ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย บัญญัติให้กระทำได้โดยอาศัยอำนาจตามบทบัญญัติแห่งกฎหมาย จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ฯ ให้ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้นไว้ ดังต่อไปนี้
มาตรา ๑ พระราชกฤษฎีกานี้เรียกว่า "พระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ ๔๗๓) พ.ศ. ๒๕๕๑"
มาตรา ๒ พระราชกฤษฎีกานี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันถัดจากวันประกาศในราชกิจจานุเบกษาเป็นต้นไป
มาตรา ๓ ให้ยกเลิกความในมาตรา ๔ จัตวา แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความใน
ประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ ๑๔๕) พ.ศ. ๒๕๒๗ ซึ่งแก้ไขเพิ่มเติมโดยพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ ๓๙๕) พ.ศ. ๒๕๔๕ และให้ใช้ความต่อไปนี้แทน
"มาตรา ๔ จัตวา การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์
ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อ ได้รับโอนกรรมสิทธิ์ หรือได้มาซึ่งสิทธิการใช้ แล้วแต่กรณี เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ทั้งนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับ ให้หักได้ดังต่อไปนี้
(๑) ภายในสามรอบระยะเวลาบัญชีนับแต่วันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมา ในกรณีที่รอบระยะเวลาบัญชีใดไม่เต็มสิบสองเดือน ให้เฉลี่ยตามส่วนสำหรับรอบระยะเวลาบัญชีนั้น โดยจะเลือกใช้วิธีการทางบัญชีที่รับรองทั่วไปวิธีใดก็ได้
(๒) กรณีบริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีสินทรัพย์ถาวรซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกิน
สองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ใน (๑) ทรัพย์สินประเภทคอมพิวเตอร์ตามวรรคหนึ่ง หมายความว่า เครื่องอิเล็กทรอนิกส์แบบอัตโนมัติ
ทำหน้าที่เสมือนสมองกลใช้สำหรับแก้ปัญหาต่าง ๆ ทั้งที่ง่ายและซับซ้อน โดยวิธีทางคณิตศาสตร์ ตลอดจนอุปกรณ์ของคอมพิวเตอร์อันได้แก่ เครื่องมือ เครื่องใช้ เครื่องช่วยหรือเครื่องประกอบกับคอมพิวเตอร์ รวมทั้งโปรแกรมคอมพิวเตอร์ เพื่อให้คอมพิวเตอร์ใช้งานได้ตามวัตถุประสงค์"
มาตรา ๔ ให้เพิ่มความต่อไปนี้เป็นมาตรา ๔ อัฏฐ และมาตรา ๔ นว แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สิน (ฉบับที่ ๑๔๕) พ.ศ. ๒๕๒๗
"มาตรา ๔ อัฏฐ การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภทเครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักรที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาเบื้องต้นในวันที่ได้ทรัพย์สินนั้นมาในอัตราร้อยละสี่สิบของมูลค่าต้นทุน สำหรับมูลค่าต้นทุนส่วนที่เหลือให้หักตามเงื่อนไขและอัตราที่กำหนดไว้ในมาตรา ๔ ทั้งนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓
บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งจะต้องไม่ใช้สิทธิยกเว้นภาษีเงินได้ตามมาตรา ๓ (๑) แห่งพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ ๔๖๐) พ.ศ. ๒๕๔๙
มาตรา ๔ นว การหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินประเภททรัพย์สิน
อย่างอื่นตามมาตรา ๔ (๕) ที่บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่มีทรัพย์สินถาวร ซึ่งไม่รวมที่ดินไม่เกินสองร้อยล้านบาทและมีการจ้างแรงงานไม่เกินสองร้อยคน ซื้อหรือได้รับโอนกรรมสิทธิ์เพื่อมีไว้ในการประกอบกิจการของตนเอง ให้หักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาในอัตราร้อยละหนึ่งร้อยของมูลค่าต้นทุนของทรัพย์สินที่ได้มาในระหว่างรอบระยะเวลาบัญชีซึ่งมีมูลค่ารวมกันไม่เกินห้าแสนบาทตามเงื่อนไขที่กำหนดในมาตรา ๔ ทั้งนี้ เฉพาะทรัพย์สินที่ได้มาและอยู่ในสภาพพร้อมที่จะใช้ได้ตามประสงค์ตั้งแต่วันที่พระราชกฤษฎีกานี้มีผลใช้บังคับจนถึงวันที่ ๓๑ ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๕๓"
ผู้รับสนองพระบรมราชโองการ
สมัคร สุนทรเวช
นายกรัฐมนตรี
หมายเหตุ :- เหตุผลในการประกาศใช้พระราชกฤษฎีกาฉบับนี้ คือ เนื่องจากรัฐบาลมีนโยบายในการกระตุ้นและฟื้นฟูเศรษฐกิจของประเทศ สมควรกำหนดให้บริษัทหรือห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลที่ได้ลงทุนในโปรแกรมคอมพิวเตอร์เครื่องจักรและอุปกรณ์ของเครื่องจักร รวมทั้งทรัพย์สินอย่างอื่น เพื่อใช้ในการประกอบกิจการของบริษัทหรือ
ห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลนั้น สามารถหักค่าสึกหรอและค่าเสื่อมราคาของทรัพย์สินดังกล่าวได้ อันเป็นการบรรเทาภาระทางภาษีให้แก่ผู้ประกอบการและกระตุ้นให้มีการลงทุนซึ่งจะทำให้เศรษฐกิจขยายตัวเพิ่มขึ้นจึงจำเป็นต้องตราพระราชกฤษฎีกานี้
การพัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD)
ผู้ที่ขึ้นทะเบียนเป็นผู้ทำบัญชีกับกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ต้องมีการทำกิจกรรมการ
พัฒนาความรู้ต่อเนื่องทางวิชาชีพ (CPD) ทุกรอบ 3 ปี 27 ชั่วโมง กิจกรรม CPD นั้นมีหลายอย่าง เช่น เข้ารับการฝึกอบรมสัมมนา เป็นวิทยากร เล่าเรียนศึกษา แต่กิจกรรมที่ผู้ทำบัญชีส่วนใหญ่ใช้มากที่สุดคงจะเป็นการฝึกอบรมสัมมนา โดยมีหลักเกณฑ์สำคัญในรอบ 3 ปีคือ
1. ต้องทำกิจกรรม CPD อย่างน้อยปีละ 6 ชั่วโมง
2. ต้องเป็นกิจกรรมด้านบัญชีอย่างน้อย 18 ชั่วโมง
3. อาจเลือกกิจกรรม CPD ด้านอื่นๆ ที่เกี่ยวข้องกับวิชาชีพบัญชีได้มากที่สุด 9 ชั่วโมง เช่น การอบรมเกี่ยวกับการภาษีอากร กฎหมายแรงงาน กฎหมายธุรกิจต่างๆ วิทยากรคอมพิวเตอร์ ฯลฯ
ประเด็นที่มักเข้าใจผิดกันก็คือ ผู้ทำบัญชีเข้าใจว่าต้องอบรมบัญชี 18 ชั่วโมง และบังคับอื่นๆ 9 ชั่วโมง ที่ถูกต้องแล้ว กฎหมายเขียนกำหนดขั้นต่ำว่าต้องเป็นบัญชีอย่าง
น้อย 18 ชั่วโมง ดังนั้นถ้าอบรมหรือทำกิจกรรม CPD บัญชีทั้ง 27 ชั่วโมง โดยไม่ต้องอบรมเรื่องอื่นๆ ก็ได้ ถือว่าทำกิจกรรม CPD ครบถ้วนแล้ว
.
หลักการของพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
1. แก้ไขหลักการจากเดิมที่กำหนดให้ธุรกิจทั้งนิติบุคคลและบุคคลธรรมดาที่ประกอบธุรกิจตามประเภทที่ รัฐมนตรีประกาศกำหนดต้องจัดทำบัญชีเป็นกำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้น ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชีและเพิ่มกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฏากรให้เป็นผู้ที่หน้าที่จัดทำบัญชีด้วยบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่ต้องจัดทำบัญชี เว้นแต่รัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
2. กำหนดให้ผู้ทำบัญชีต้องเข้ามามีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจโดยแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบ ระหว่างผู้ทำบัญชีและผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีให้ชัดเจน ซึ่งมีการเพิ่มโทษจากกฎหมายเดิมโดยบทกำหนดโทษมีทั้งโทษปรับและจำคุก สำหรับผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชีที่กระทำความผิด
3. ให้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีมีอำนาจกำหนดคุณสมบัติ และเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี รวมทั้งกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง โดยให้คำนึงถึงมาตรฐานการบัญชี และข้อคิดเห็นของหน่วยงานที่เกี่ยวข้องและสถาบันวิชาชีพบัญชีประกอบด้วย
4. กำหนดให้รัฐมนตรีมีอำนาจออกกฎกระทรวง ยกเว้นให้งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่มีทุน, สินทรัพย์ หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการไม่เกินที่กำหนด โดยกฎกระทรวงไม่ต้องรับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต
5. ลดภาระของธุรกิจในการเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีจาก 10 ปีเหลือ 5 ปี เว้นแต่ในกรณีที่จำเป็นในการตรวจสอบบัญชี อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี มีอำนาจกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเก็บรักษาบัญชี และ เอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปี
6. กำหนดให้การจัดทำบัญชีต้องเป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีและมีการรับรองมาตรฐานการบัญชีที่สมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทยกำหนดขึ้น ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติให้ประกาศใช้แล้วเป็นมาตรฐานการบัญชีตามกฎหมาย
สรุปสาระสำคัญพระราชบัญญัติการบัญชี พ.ศ. 2543
1. กำหนดผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
กำหนดให้เฉพาะนิติบุคคลเท่านั้นที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี และกำหนดให้กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีด้วย โดยกำหนดวันเริ่มทำบัญชีของนิติบุคคลต่างๆ ไว้ด้วย ดังนี้
ประเภทนิติบุคคล วันเริ่มทำบัญชี
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
- บริษัทจำกัด วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
- บริษัทมหาชนจำกัด วันที่ได้รับการจดทะเบียนเป็นนิติบุคคลตามกฎหมายไทย
- นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบ
ธุรกิจในประเทศไทย วันที่เริ่มต้นประกอบธุรกิจในประเทศไทย
- กิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากร วันที่เริ่มต้นประกอบกิจการ
สำหรับบุคคลธรรมดาและห้างหุ้นส่วนที่ไม่ได้จดทะเบียนไม่ต้องจัดทำบัญชีเว้นแต่รัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีจะออกประกาศให้เป็นผู้ที่มีหน้าที่จัดทำบัญชี ซึ่งเมื่อเป็นผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีแล้วจะต้องปฏิบัติตามหลักเกณฑ์และวิธีการเกี่ยวกับวันเริ่มทำบัญชีเริ่มแรก และวิธีการจัดทำบัญชีของบุคคลธรรมดาหรือห้างหุ้นส่วนที่มิได้จดทะเบียนนั้นตามที่อธิบดีกำหนด
2. กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชี
กำหนดความรับผิดชอบในการจัดทำบัญชีของธุรกิจ โดยแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบระหว่างผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีและผู้ทำบัญชีอย่างชัดเจน ดังนี้
2.1 ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หมายถึง ผู้มีหน้าที่จัดให้มีการทำบัญชี โดยมีหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
2.1.1 ต้องจัดให้มีการทำบัญชีให้ถูกต้องตามที่กฎหมายกำหนดนับแต่วันเริ่มทำบัญชี
2.1.2 ต้องส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วนเพื่อให้บัญชีที่จัดทำขึ้นสามารถแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี ซึ่งมาตรฐานการบัญชี หมายถึง หลักการบัญชีและวิธีปฏิบัติทางการบัญชีที่รับรองทั่วไป หรือมาตรฐานการบัญชีที่กำหนดตามกฎหมาย โดยในระหว่างที่ยังไม่มีมาตรฐานการบัญชีที่กฎหมายกำหนดให้ถือว่ามาตรฐานการบัญชีที่กำหนดโดยสมาคมนักบัญชีและผู้สอบบัญชีรับอนุญาตแห่งประเทศไทย ซึ่งคณะกรรมการควบคุมการประกอบวิชาชีพสอบบัญชีได้มีมติให้ประกาศใช้แล้ว เป็นมาตรฐานการบัญชี ทั้งนี้อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่งหรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
2.1.3 ต้องปิดบัญชีและจัดทำงบการเงิน โดยมีรายการย่อตามที่อธิบดีประกาศกำหนดโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรี พร้อมทั้งยื่นงบการเงินต่อสำนักงานกลางบัญชีหรือสำนักงานบัญชีประจำท้องที่ซึ่งงบการเงิน หมายถึงรายงานผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของกิจการ ไม่ว่าจะรายงานโดยงบดุล งบกำไรขาดทุน งบกำไรสะสม งบกระแสเงินสด งบแสดงการเปลี่ยนแปลงส่วนของผู้ถือหุ้น งบประกอบ หรือหมายเหตุประกอบงบการเงิน หรือคำอธิบายอื่นซึ่งระบุไว้ว่าเป็นส่วนหนึ่งของงบการเงิน
2.1.4 ต้องจัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบและแสดงความเห็นโดยผู้สอบบัญชีรับอนุญาต เว้นแต่งบการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีซึ่งเป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนที่จัดตั้งขึ้นตามกฏหมายไทย ที่มีทุน สินทรัพย์ หรือรายได้ รายการใดรายการหนึ่งหรือทุกรายการไม่เกินที่กำหนดโดยกฎกระทรวงไม่ต้องจัดให้มีผู้สอบบัญชีรับอนุญาตตรวจสอบงบการเงินได้
2.1.5 ต้องเก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีไว้ ณ สถานที่ทำการหรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำการผลิตหรือเก็บสินค้าเป็นประจำ หรือสถานที่ที่ใช้เป็นที่ทำงานเป็นประจำ โดยเก็บไว้เป็นเวลาไม่น้อยกว่า 5 ปี ทั้งนี้อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะกำหนดให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีสำหรับกิจการบางประเภทเก็บรักษาบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชีไว้เกิน 5 ปีแต่ต้องไม่เกิน 7 ปีได้
2.1.6 ต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้ที่มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนด โดยต้องจัดให้มีผู้ทำบัญชีดังกล่าวภายในหนึ่งปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้มีผลใช้บังคับ ในกรณีที่มีความจำเป็น อธิบดีโดยความเห็นชอบของรัฐมนตรีจะขยายกำหนดระยะเวลาออกไปอีกได้แต่ต้องไม่เกินหนึ่งปี ถ้าผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีเป็นบุคคลธรรมดา จะเป็นผู้ทำบัญชีสำหรับกิจการของตนเองก็ได้
2.1.7 มีหน้าที่ควบคุมดูแลผู้ทำบัญชีให้จัดทำบัญชีให้ตรงต่อความเป็นจริงและถูกต้องตามกฎหมาย
2.2 ผู้ทำบัญชี หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีไม่ว่าจะเป็นลูกจ้างของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม โดยผู้ทำบัญชีจะต้องมีคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีประกาศกำหนด ทั้งนี้หากผู้ใดเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีอยู่ก่อนวันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับไม่น้อยกว่า 5 ปี แต่ไม่มีคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชีตามที่อธิบดีกำหนด หากประสงค์จะเป็นผู้ทำบัญชีตามพระราชบัญญัตินี้ต่อไป ให้ผู้ทำบัญชีนั้นแจ้งต่ออธิบดีตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่อธิบดีกำหนดภายใน60 วันนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ และเมื่อผู้นั้นเข้ารับการอบรมและสำเร็จการอบรมตามหลักเกณฑ์ วิธีการและระยะเวลาที่อธิบดีประกาศกำหนดแล้ว ให้ผู้นั้นเป็นผู้ทำบัญชีต่อไปได้เป็นเวลา 8 ปีนับแต่วันที่พระราชบัญญัตินี้ใช้บังคับ
ผู้ทำบัญชีมีหน้าที่ตามกฎหมาย ดังนี้
2.2.1 ต้องจัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผลการดำเนินงาน ฐานะการเงิน หรือ การเปลี่ยนแปลงฐานะการเงินของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นอยู่ตามความเป็นจริงและตามมาตรฐานการบัญชี โดยมีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีให้ถูกต้องครบถ้วน ในการจัดทำบัญชีให้เป็นไปตามมาตรฐานการบัญชีนั้น อธิบดีมีอำนาจประกาศกำหนดข้อยกเว้นให้ผู้ทำบัญชีไม่ต้องปฏิบัติตามมาตรฐานการบัญชีในเรื่องใดเรื่องหนึ่ง หรือส่วนใดส่วนหนึ่ง
2.2.2 ในการลงรายการในบัญชี ผู้ทำบัญชีต้องลงรายการเป็นภาษาไทย หากลงรายการเป็นภาษาต่างประเทศ ให้มีภาษาไทยกำกับ หรือลงรายการเป็นรหัสบัญชีให้มีคู่มือคำแปลรหัสที่เป็นภาษาไทยไว้ รวมทั้งต้องเขียนด้วยหมึก พิมพ์ดีด ตีพิมพ์ หรือทำด้วยวิธีอื่นใดที่ได้ผลในทำนองเดียวกัน
3.กำหนดอำนาจในการตรวจสอบบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชีกำหนดให้สารวัตรใหญ่บัญชีและสารวัตรบัญชีมีอำนาจตรวจสอบบัญชีและเอกสารประกอบการลงบัญชี โดยมีอำนาจเข้าไปในสถานที่ที่ทำการหรือสถานที่เก็บรักษาบัญชีและเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี ของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชี หรือสถานที่รวบรวมหรือประมวลข้อมูลของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือผู้ทำบัญชี รวมทั้งมีอำนาจสั่งเป็นหนังสือให้ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี หรือผู้ทำบัญชีมาให้ถ้อยคำ หรือส่งบัญชีเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี รวมทั้งเชิญบุคคลที่เกี่ยวข้องมาให้ถ้อยคำได้
4. บทกำหนดโทษ ผู้กระทำความผิดตามพระราชบัญญัตินี้จะต้องรับโทษตามลักษณะความผิด ซึ่งโทษมีทั้งโทษปรับ และจำคุก และในกรณีที่เป็นความผิดต่อเนื่องมีโทษปรับรายวันจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง เช่น
กรณี บทกำหนดโทษ ผู้ที่ต้องรับโทษ
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
- ไม่จัดให้มีการทำบัญชีตามพระราชบัญญัติ กำหนดและตามวันเริ่มทำบัญชีที่กำหนด ปรับไม่เกินสามหมื่นบาทและปรับเป็นรายวันอีกไม่เกินวันละหนึ่งพันบาทจนกว่าจะปฏิบัติให้ถูกต้อง
- ไม่จัดทำงบการเงินและยื่นงบการเงินภายในเวลาที่กำหนด ปรับไม่เกินห้าหมื่นบาท
- ไม่จัดให้งบการเงินได้รับการตรวจสอบ และ แสดงความเห็นโดย ผู้สอบบัญชีรับอนุญาต ปรับไม่เกินสองหมื่นบาท
- ไม่ส่งมอบเอกสารที่ต้องใช้ประกอบ การลงบัญชี ให้แก่ผู้ทำบัญชีให้ถูกต้อง ปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ไม่จัดให้มีผู้ทำบัญชีซึ่งเป็นผู้มีคุณสมบัติตามที่อธิบดีกำหนดปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท - ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือ ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งบัญชี หรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี จำคุกไม่เกินสองปี หรือปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ - ลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลง รายการในบัญชี หรืองบการเงิน หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ ลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริง จำคุกไม่เกินสามปี หรือ ปรับไม่เกินหกหมื่นบาทหรือ ทั้งจำทั้งปรับผู้กระทำความผิด
- ไม่จัดทำบัญชีเพื่อให้มีการแสดงผล การดำเนินงาน ฐานะการเงินหรือการเปลี่ยนแปลงฐานะการเงิน ตามความเป็นจริง และตามมาตรฐานการบัญชีปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท
- ทำให้เสียหาย ทำลาย ซ่อนเร้น หรือ ทำให้สูญหาย ทำให้ไร้ประโยชน์ ซึ่งบัญชี หรือเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี จำคุกไม่เกินหนึ่งปี หรือปรับไม่เกินสองหมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
- ลงรายการเท็จ แก้ไข ละเว้นการลง รายการในบัญชี หรืองบการเงิน หรือแก้ไขเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการ ลงบัญชีเพื่อให้ผิดความเป็นจริงจำคุกไม่เกินสองปี หรือ ปรับไม่เกิน สี่หมื่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
จัดการ Sitemaps อย่างไรเมื่อเปลี่ยนมาใช้ Custom Domain
เมื่อเปลี่ยนมาใช้ Custom Domain ถ้ามีปัญหาเรื่อง sitemaps error เราลองมาดูวิธีแก้ไขกันนะครับ
1.ขั้นแรก คุณต้องสมัครใช้บริการของ FeedBurner (www.feedburner.com) ก่อน หลังลงทะเบียนแล้ว login เข้าสู่ระบบ จะพบช่อง ให้กรอก url ของ blogspot ลงไป
กด Next
2.จะเข้าสู่หน้าจอถัดไป ซึ่งจะให้เราเลือกว่าจะใช้แบบ atom หรือ rss (เลือกแบบไหนก็ได้)
3.ตั้งชื่อ Feed Title และ Feed Address ให้เรียบร้อย แล้วกด Activeate Feed กด Next ไปอีกครั้ง ในหน้าถัดไปให้ ให้ติ๊กที่ หน้าช่อง Clickthroughs - How often people click items back to your site แล้วค่อยกด Next อีกครั้ง เป็นอันเรียบร้อย
4.ไปที่ blogger แล้ว login เข้าไป เลือกเมนู การตั้งค่า เลือกแท๊บ ฟีตของไซต์ ที่ช่อง Url การเปลี่ยนเส้นทางฟีตข้อมูลของบทความ ให้พิมพ์ค่า Feed Address ที่กำหนดไว้ในข้อ 3 แล้วกด บันทึกการตั้งค่า
5.ไปที่ google webmaster tools เข้าไปเปลี่ยนข้อความใน Sitemaps ใหม่ให้เป็นดังนี้ ลบบรรทัดเดิมออก แล้ว add เข้าไปใหม่ (สำหรับคำว่า atom.xml? สามารถเปลี่ยนเป็น rss.xml? ได้ แล้วแต่ว่าคุณชอบค่ายไหน)
atom.xml?orderby=updated
(อันนี้ก็ใช้ได้ เคยลองแล้ว)
atom.xml?redirect=false
(อันนี้ก็น่าจะใช้ได้)
atom.xml?redirect=false&start-index=1&max-results=100
(สำหรับบทความไม่เกิน 100 เรื่อง)
atom.xml?redirect=false&start-index=101&max-results=100
(ถ้าเกิน 100 เรื่องให้เพิ่มบรรทัดนี้เข้าไปอีก 1 บรรทัด)
ดูรูปประกอบ
ที่มา http://blog.gpowered.net/2007/09/using-blogger-and-feedburner-sitemaps.html (ในเว็บนี้ไม่ได้บอกว่าให้ใช้กับ Custom Domain แต่ผมลองแล้วมันแก้ Sitemaps error ได้)