คำชี้แจ้งเรื่องการยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ปี 2551

http://www.rd.go.th/publish/38676.0.html
คำ​ชี้​แจงกรมสรรพากร

-------------------------------------
ตามที่​ได้​มีพระราชกฤษฎีกา​ ​ออกตาม​ความ​ใน​ประมวลรัษฎากร​ ​ว่า​ด้วย​การยกเว้นรัษฎากร​ ​(​ฉบับ​ที่​ 470) ​พ​.​ศ​. 2551 ​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​สำ​หรับเงิน​ได้​สุทธิ​จาก​การคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​ตามมาตรา​ 48(1) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ ​เฉพาะ​ส่วน​ที่​ไม่​เกินหนึ่งแสนห้าหมื่นบาทแรก​ใน​ปีภาษี​นั้น​ ​สำ​หรับเงิน​ได้​สุทธิที่​เกิดขึ้น​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​. 2551 ​เป็น​ต้นไป​ ​เพื่อ​ให้​การยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ใน​ครั้งนี้​เป็น​ที่​เข้า​ใจ​กัน​โดย​ทั่ว​ไป​ ​กรมสรรพากร​จึง​ขอชี้​แจง​ใน​สาระสำ​คัญ​ ​ดังต่อไปนี้​

1. ​ลดภาระภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​โดย​วิธียกเว้นภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​สำ​หรับเงิน​ได้​สุทธิหลัง​จาก​หักค่า​ใช้​จ่าย​และ​ค่าลดหย่อนต่างๆ​ ​ตามที่กฎหมายกำ​หนด​ไว้​ ​เฉพาะ​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 150,000 ​บาทแรกสำ​หรับปีภาษี​นั้น​ ​ซึ่ง​เดิม​ใน​การคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาสำ​หรับเงิน​ได้​สุทธิหลัง​จาก​หักค่า​ใช้​จ่าย​และ​ค่าลดหย่อนต่างๆ​ ​ตามที่กฎหมายกำ​หนด​ไว้​ ​ผู้​มี​เงิน​ได้​จะ​ต้อง​นำ​เงิน​ได้​สุทธิดังกล่าวมาคำ​นวณภาษีตามอัตราที่กำ​หนด​ใน​บัญชีอัตราภาษี​เงิน​ได้​ ​สำ​หรับเงิน​ได้​สุทธิ​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 100,000 ​บาท​ ​จะ​เสียภาษี​ใน​อัตราร้อยละ​ 5 ​คิด​เป็น​เงิน​เท่า​กับ​ 5,000 ​บาท​ ​และ​เงิน​ได้​สุทธิ​ส่วน​ที่​เกิน​ 100,000 ​บาท​ ​แต่​ไม่​เกิน​ 500,000 ​บาท​ ​จะ​เสียภาษี​ใน​อัตราร้อยละ​ 10 ​คิด​เป็น​เงิน​เท่า​กับ​ 40,000 ​บาท​ ​แต่​เมื่อพระราชกฤษฎีกา​ฉบับ​นี้​ ​ยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​สำ​หรับเงิน​ได้​สุทธิ​ส่วน​ที่​ไม่​เกิน​ 150,000 ​บาทแรก​ ​ดัง​นั้น​ ​ใน​การคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​สำ​หรับ​ผู้​ที่มี​เงิน​ได้​สุทธิ​ไม่​เกิน​ 150,000 ​บาท​ ​จะ​ได้​รับยกเว้น​ไม่​ต้อง​เสียภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา​ ​และ​สำ​หรับ​ผู้​ที่มี​เงิน​ได้​สุทธิ​เกิน​ 150,000 ​บาท​ ​จะ​ต้อง​นำ​เงิน​ได้​สุทธิ​เฉพาะ​ส่วน​ที่​เกิน​ 150,000 ​บาท​ ​ไปคำ​นวณตามบัญชีอัตราภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดา

อาศัยอำ​นาจตาม​ความ​ใน​มาตรา​ 187 ​ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย​ ​และ​มาตรา​ 65 ​ทวิ​ (2) ​แห่งประมวลรัษฎากร​ซึ่ง​แก้​ไขเพิ่มเติม​โดย​พระราชบัญญัติ​แก้​ไขเพิ่มเติมประมวลรัษฎากร​ ​(​ฉบับ​ที่​ 25) ​พ​.​ศ​. 2525 ​อัน​เป็น​กฎหมายที่มีบทบัญญัติบางประการเกี่ยว​กับ​การจำ​กัดสิทธิ​และ​เสรีภาพของบุคคล​ ​ซึ่ง​มาตรา​ 29 ​ประกอบ​กับ​มาตรา​ 33 ​และ​มาตรา​ 41 ​ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบัญญัติ​ให้​กระทำ​ได้​โดย​อาศัยอำ​นาจตามบทบัญญัติ​แห่งกฎหมาย​ ​จึง​ทรงพระกรุณา​โปรดเกล้า​ ​ฯ​ ​ให้​ตราพระราชกฤษฎีกาขึ้น​ไว้​ ​ดังต่อไปนี้

2. ​วัน​ใช้​บังคับของกฎหมาย​ ​การยกเว้นภาษี​เงิน​ได้​บุคคลธรรมดาตามพระราชกฤษฎีกา​ฉบับ​นี้​ ​มีผล​ใช้​บังคับสำ​หรับเงิน​ได้​ของปี​ ​พ​.​ศ​. 2551 ​ที่​ได้​รับตั้งแต่วันที่​ 1 ​มกราคม​ 2551 ​เป็น​ต้นไป​ ​และ​เนื่อง​จาก​พระราชกฤษฎีกา​ฉบับ​นี้​ ​ได้​ออกมา​ใช้​บังคับ​ใน​วันที่​ 29 ​มีนาคม​ 2551 ​จึง​มีผลทำ​ให้​การคำ​นวณภาษี​เงิน​ได้​หัก​ ​ณ​ ​ที่จ่าย​ ​สำ​หรับเงิน​ได้​ที่​ได้​รับ​ใน​เดือนมีนาคม​ 2551 ​เป็น​ต้นไป​ ​ผู้​จ่ายเงิน​ได้​มีสิทธิปรับปรุงการหักภาษี​เงิน​ได้​ ​ณ​ ​ที่จ่าย​ ​โดย​ให้​คำ​นวณภาษีที่พึง​ต้อง​เสียตลอดปี​ ​พ​.​ศ​. 2551 ​ตามหลักเกณฑ์ของกฎหมาย​ใหม่​ ​แล้ว​หัก​ด้วย​ภาษีที่นำ​ส่ง​แล้ว​ ​จำ​นวนภาษีที่​เหลือ​ให้​เฉลี่ย​และ​นำ​ส่งสำ​หรับเดือนที่​เหลือของปี​ ​พ​.​ศ​. 2551 ​เพื่อ​ไม่​ให้​เป็น​ภาระ​ใน​การขอคืนภาษี​เงิน​ได้​สำ​หรับเงิน​ได้​พึงประ​เมินที่​ได้​รับ​ใน​ปี​ ​พ​.​ศ​. 2551

กรมสรรพากร
13 ​สิงหาคม​ 2551

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น