ข้อ 1. คำถาม : สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีเงินได้ ตามมาตรา 40(5)(6)(7) และ (8) แห่งประมวลรัษฎากร สามีหรือภริยาที่มีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
คำตอบ : สามีและภริยาต่างฝ่ายต่างมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับเงินได้ของตน
ข้อ 2. คำถาม : สามีมีเงินได้จากเงินเดือนและภริยามีเงินได้จากการค้าขาย สามีหรือภริยามีหน้าที่ในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
คำตอบ : ตามมาตรา 57 ตรี แห่ง ประมวลรัษฎากร กำหนดให้สามีมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นรายการ ถ้าสามีภริยาอยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี แต่ขณะยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามีภริยายังมิได้อยู่ร่วมกันตลอดปีภาษี สามีจึงไม่มีหน้าที่ยื่นแบบดังกล่าว เฉพาะภริยาเท่านั้นที่จะมีหน้าที่และความรับผิดในการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สำหรับเงินได้จากการค้าขายของตน เมื่อถึงกำหนดยื่นแบบแสดงรายการประจำปี และความเป็นสามีภริยาได้มีอยู่ตลอดปีภาษี ให้สามีมีหน้าที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยนำเงินได้จากการค้าขายของภริยามารวมคำนวณด้วย
ข้อ 3. คำถาม : อายุเกิน 65 ปี ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ 190,000 บาท ได้หรือไม่
คำตอบ : หากผู้มีเงินได้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปในปีภาษี และเป็นผู้อยู่ในไทย สามารถใช้สิทธิยกเว้นเงินได้จำนวน 190,000 บาท ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 257 (พ.ศ.2549) และประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 150) โดยต้องกรอกในใบแสดงสิทธิผู้มีอายุตั้งแต่ 65 ปีขึ้นไปด้วย
ข้อ 4. คำถาม : บุคคลธรรมดาได้รับผลประโยชน์จากการขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ซึ่งได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ต้องนำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 หรือไม่
คำตอบ : ผลประโยชน์ที่ได้รับจากการขายหน่วยลงทุน RMF/LTF ที่เป็นไปตามเงื่อนไข ได้รับยกเว้นภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาตามข้อ 2(65) และ (67) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ.2509) ให้นำมายื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ด้วย เนื่องจากเป็นการยกเว้นแบบมีเงื่อนไข โดยแสดงในส่วน ก รายการเงินได้พึงประเมิน ที่ข้อ 5. หรือข้อ 6. เลือก ยกเว้น
ข้อ 5. คำถาม : นาย ก. มีเงินได้จากการขายของจะยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยหักค่าใช้จ่ายเหมาในอัตราร้อยละ 80 เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 จะหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควร ได้หรือไม่
คำตอบ : กรณีผู้มีเงินได้จากการขายของโดยมิได้เป็นผู้ผลิต สามารถยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 โดยหักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา และยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 โดยหักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและสมควรได้ หากมีหลักฐานและพิสูจน์ได้ว่ามีค่าใช้จ่ายมากกว่าค่าใช้จ่ายเหมาตามที่กำหนด ไว้ในพระราชกฤษฎีกาออกตามความในประมวลรัษฎากรว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร (ฉบับที่ 11) พ.ศ.2502
ข้อ 6. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 จะหักลดหย่อนผู้มีเงินได้เต็มจำนวน 30,000 บาท หรือไม่
คำตอบ : บุคคลธรรมดาที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือ 15,000 บาท สำหรับกรณีผู้มีเงินได้เป็นห้างหุ้นส่วนสามัญ หรือคณะบุคคลที่มิใช่นิติบุคคล หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ได้เพียงกึ่งหนึ่ง ตามจำนวนผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลที่อยู่ในไทย ดังนี้
1. กรณีเป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยเพียงคนเดียว ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้เพียงคนเดียว เป็นจำนวนเงิน 15,000 บาท
2. กรณีผู้เป็นหุ้นส่วนหรือบุคคลในคณะบุคคลอยู่ในไทยตั้งแต่ 2 คนขึ้นไป ให้หักลดหย่อนผู้มีเงินได้ ทั้งสิ้นเป็นจำนวนเงิน 30,000 บาท
ข้อ 7. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนคู่สมรสได้เต็มจำนวน 30,000 บาท หรือไม่
คำตอบ : ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือ 15,000 บาท
1. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนคู่สมรสได้ไม่ว่าคู่สมรสจะอยู่ในไทยหรือไม่
2. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนได้เฉพาะคู่สมรสที่เป็นผู้อยู่ในไทยเท่านั้น
ข้อ 8. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนบุตรได้จำนวนเท่าใด
คำตอบ : ผู้มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนบุตรได้เพียงกึ่งหนึ่ง ดังนี้
1. บุตรที่ไม่ได้ศึกษาหรือศึกษาอยู่ในต่างประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 7,500 บาท
2. บุตรที่ศึกษาอยู่ในประเทศ ให้หักลดหย่อนได้คนละ 8,500 บาท
3. กรณีผู้มีเงินได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนบุตรทั้งที่อยู่ในไทยและอยู่ต่างประเทศ
4. กรณีผู้มีเงินได้มิได้เป็นผู้อยู่ในไทย (ไม่ถึง 180 วันในปีภาษี) ให้หักลดหย่อนเฉพาะบุตรที่อยู่ในไทยเท่านั้น
โดยให้หักลดหย่อนได้ตลอดปีภาษี ไม่ว่ากรณีที่จะหักได้นั้นจะมีอยู่ตลอดปีภาษีหรือไม่
ข้อ 9. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้เท่าไร
คำตอบ : ผู้มีเงินได้สามารถหักลดหย่อนเบี้ยประกันชีวิตได้ตามจำนวนที่จ่ายจริง สำหรับส่วนที่ไม่เกิน 10,000 บาท หักได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือไม่เกิน 5,000 บาท ตามมาตรา 56 ทวิ วรรคสาม แห่งประมวลรัษฎากร ส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้ได้รับยกเว้นอีก ไม่เกิน 90,000 บาท สำหรับเบี้ยประกันที่จ่ายตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 5 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) แต่เมื่อรวมกันแล้วต้องไม่เกินเงินได้พึงประเมินหลังหักค่าใช้จ่าย
สำหรับคู่สมรสไม่มีเงินได้ แต่ทำประกันชีวิตไว้ ผู้มีเงินได้ไม่สามารถนำเบี้ยประกันของคู่สมรสมาหักลดหย่อน เนื่องจากความเป็นสามีภริยามิได้อยู่ตลอดปีภาษี เมื่อถึงกำหนดเวลายื่นแบบ ภ.ง.ด.90 และความเป็นสามีภริยามีอยู่ตลอดปีภาษี จึงจะนำเบี้ยประกันชีวิตของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้มาหักลดหย่อนได้ตามที่ จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 10,000 บาท
ข้อ 10. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะใช้สิทธิยกเว้นเงินได้ค่าเบี้ยประกันสุขภาพบิดามารดาได้หรือไม่
คำตอบ : การยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้ที่จ่ายค่าเบี้ยประกันสุขภาพให้บิดามารดาของตน และบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มีเงินได้ให้ยกเว้นภาษีเงินได้ตามจำนวนที่จ่าย จริงแต่ไม่เกิน 15,000 บาท เช่นเดียวกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.90 ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 11. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนบิดามารดาได้เต็มจำนวนคนละ 30,000 บาท หรือไม่
คำตอบ : ผู้ มีเงินได้ที่ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 สามารถหักลดหย่อนบิดามารดาของผู้มีเงินได้หรือบิดามารดาของคู่สมรสที่ไม่มี เงินได้เพียงกึ่งหนึ่ง คือคนละ 15,000 บาท ทั้งนี้ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 12. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 บุตรจะใช้สิทธิหักลดหย่อนบิดามารดาได้หรือไม่ กรณีบิดามารดาถึงแก่ความตายในระหว่างปีภาษี (เช่น ตายในเดือนมิถุนายน)
คำตอบ : กรณีบิดามารดาตายในระหว่างปีภาษี ให้บุตรเพียงคนใดคนหนึ่งใช้สิทธิหักลดหย่อนได้ โดยแนบ แบบ ล.ย.03 และสำเนาใบมรณบัตร พร้อมกับการยื่นแบบ ภ.ง.ด.94
ข้อ 13. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะนำค่าซื้อหน่วยลงทุนในกองทุนรวมเพื่อการเลี้ยงชีพ (RMF) หรือกองทุนรวมหุ้นระยะยาว (LTF) มาหักลดหย่อนได้หรือไม่
คำตอบ : ได้ ในจำนวนไม่เกินอัตราร้อยละ 15 ของเงินได้ และไม่เกิน 500,000 บาท สำหรับเงินได้ที่ได้รับตั้งแต่ 1 มกราคม 2551 เป็นต้นไป ตามข้อ 4 และข้อ 6 ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 266 (พ.ศ.2551) ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่กฎหมายกำหนด
ข้อ 14. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้จะหักลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืมได้เท่าไร
คำตอบ : การลดหย่อนดอกเบี้ยเงินกู้ยืม กรณียื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ให้หักลดหย่อนได้ตามที่จ่ายไปจริงในระหว่างเดือนมกราคมถึงมิถุนายน ดังนี้
1. ส่วนที่จ่ายไปไม่เกิน 10,000 บาท หักลดหย่อนได้เพียงกึ่งหนึ่งคือ 5,000 บาท
2. สำหรับส่วนที่เกิน 10,000 บาท ให้หักได้ตามที่จ่ายจริง แต่ไม่เกิน 90,000 บาท
ทั้งนี้ ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไข ตามกฎกระทรวง ฉบับที่ 264 (พ.ศ.2550) ประกอบกับประกาศอธิบดีกรมสรรพากร เกี่ยวกับภาษีเงินได้ (ฉบับที่ 165) (ฉบับที่ 166) และ (ฉบับที่ 167)
ข้อ 15. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้มีเงินได้มีเงินบริจาค ต้องคำนวณเพียงกึ่งหนึ่งหรือไม่
คำตอบ : การ ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผู้บริจาคมีสิทธิหักลดหย่อนเงินบริจาค และยกเว้นเงินได้หลังจากหักค่าใช้จ่ายได้เท่ากับจำนวนเงินกึ่งหนึ่งที่ได้ บริจาคจริงในเดือนมกราคมถึงมิถุนายนของปีภาษีนั้นๆ ตามมาตรา 56 ทวิ แห่ง ประมวลรัษฎากร แต่รวมกันต้องไม่เกินอัตราร้อยละ 10 ของเงินได้หลังจากหักค่าใช่จ่ายและค่าลดหย่อนอื่นๆ แล้ว (ก่อนหักเงินสนับสนุนเพื่อการศึกษา)
ข้อ 16. คำถาม : บุคคลธรรมดามีเงินได้จากการขายที่ดินหักค่าใช้จ่ายเหมาตามจำนวนปีที่ถือครอง คงเหลือเงินได้สุทธิคำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้ จะได้รับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาท แรกหรือไม่
คำตอบ : ไม่ได้รับยกเว้นเงินได้สุทธิ 150,000 บาทแรก เนื่องจากเป็นการคำนวณภาษีตามมาตรา 48(4) แห่งประมวลรัษฎากร มิใช่การคำนวณภาษีตามมาตรา 48(1) แห่งประมวลรัษฎากร
ข้อ 17. คำถาม : การคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 กรณีใช้สิทธิยกเว้นสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป คำนวณจากเงินได้พึงประเมินก่อนหรือหักเงินที่ได้รับยกเว้น 190,000 บาทแล้ว
คำตอบ : การคำนวณภาษีในอัตราร้อยละ 0.5 ตามมาตรา 48(2) แห่งประมวลรัษฎากร กรณีใช้สิทธิยกเว้นสำหรับผู้มีเงินได้ที่มีอายุตั้งแต่ 65 ปี ขึ้นไป ให้คำนวณจากเงินได้พึงประเมินหลังจากหัก 190,000 บาท แล้ว
ข้อ 18. คำถาม : มีเงินได้สุทธิ จำนวนเงิน 750,000 บาท คำนวณภาษีตามอัตราภาษีเงินได้เป็นเงินภาษีที่ต้องชำระเท่าไร
คำตอบ : ภาษีที่คำนวณได้เท่ากับ 85,000 บาท
วิธีการคำนวณ
0 - 150,000 บาท ยกเว้น
150,001 - 500,000 บาท อัตราร้อยละ 10 เท่ากับ 35,000 บาท
500,001 - 750,000 บาท อัตราร้อยละ 20 เท่ากับ 50,000 บาท
รวมภาษีที่คำนวณได้ 85,000 บาท
ข้อ 19. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 ผ่อนชำระได้หรือไม่
คำตอบ : หาก เป็นแบบที่ยื่นภายในกำหนดเวลา ณ สำนักงานสรรพากรพื้นที่สาขา หรือยื่นชำระภาษีผ่านธนาคาร ยกเว้นธนาคารกรุงไทย และมีภาษีที่ต้องชำระตั้งแต่ 3,000 บาท ขึ้นไป สามารถผ่อนชำระได้ไม่เกิน 3 งวด เท่าๆ กัน ดังนี้
งวดที่ 1 ชำระพร้อมกับการยื่นแบบภายในวันที่ 30 กันยายน
งวดที่ 2 ชำระภายในวันที่ 31 ตุลาคม
งวดที่ 3 ชำระภายในวันที่ 30 พฤศจิกายน
กรณีมิได้ชำระภาษีงวดใดงวดหนึ่งภายในกำหนดเวลา ผู้เสียภาษีหมดสิทธิที่จะผ่อนชำระและต้องชำระภาษีอากรที่ค้างอยู่ทั้งหมด โดยต้องเสียเงินเพิ่มในอัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนของเงินภาษีงวดที่เหลือ ทั้งนี้ การยื่นแบบผ่านอินเทอร์เน็ต ไม่สามารถผ่อนชำระได้
ข้อ 20. คำถาม : ยื่นแบบ ภ.ง.ด.94 เกินกำหนดจะเสียค่าปรับและเงินเพิ่มอย่างไร
คำตอบ : 1. เสียค่าปรับอาญา ดังนี้
- กรณียื่นเกินกำหนดไม่เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 100 บาท
- กรณียื่นเกินกำหนด เกิน 7 วัน นับแต่วันพ้นกำหนดเวลา เสียค่าปรับ 200 บาท
2. เสียเงินเพิ่ม (ถ้ามีเงินภาษีที่ต้องชำระ) อัตราร้อยละ 1.5 ต่อเดือนหรือเศษของเดือนคิดเป็นหนึ่งเดือน
ที่มา.. กรมสรรพากร
ร้านซ่อมรถ มีรายได้ปีละ 40000 บาท ต้องเสียภาษีตาม ภงด ตภ เท่าไรคะ และในกรณีนี้มีค่าใช้จ่ายเบี้ยประกันชีวิต ปีละ 14000 บาท สามารถนำมาหักละหย่อยได้หรือไม่คะ ใครทราบกรุณาช่วยตอบด้วยค่ะ
ตอบลบยื่นแบบ ภงด.94 ส่วนภาษีน่าจะไม่มีภาษีต้องชำระนะครับ
ตอบลบอยากให้มีการแสดงวิธีกรอก ภ.ง.ด 94,90โดยละเอียด เพราะอ่านจากที่สรรพกรแนบมาไม่เข้าใจเลย เข้าใจยากมากๆ อยากเสียภาษีนะ แต่คำนวณไม่เป็น ไม่รู้ว่าช่องไหนควรใส่ตัวเลขเท่าไหร่ แล้วที่มาของตัวเลขมาได้ไง ควรจะมีวิธีทำโดยละเอียด เพื่อให้ความรู้แก่ประชาชน
ตอบลบถ้าทำตึกให้เช่า 10 ห้องห้องละ 5000 เสียภาษีโรงเรือนประมาณร้อยละ 14 ของรายได้ค่าเช่าต่อปี คิดเป็น 84000 บาทต่อปีกรณีเช่าเต็มปี
ตอบลบสามารถนำมาหักลดหน่อนได้หรือไม่ครับเพราะเป็นภาษีที่ต้องจ่ายไปให้รัฐเหมือนกัน ถ้าหักไม่ได้ก็ไม่เป็นธรรมครับอันนี้ต้องให้คนกำหนดการลดหย่อนมาอ่านครับ คำนวณครึ่งปี นะครับ รายได้ค่าเช่า 300000 บาท
เสียภาษีโรงเรือนครึ่งปีไปแล้ว 42000 บาท ครับ
ไหนจะดอกเบี้ยธนาคารที่กู้เงินมาสร้างอีก ครับกู้ธุรกิจ ครับคงรู้ว่าถ้าต้นทุนสร้างตึกแถว 2 ชั้นห้องละ 800,000 บาท 10 ห้องก็ 8 ล้าน
ดอกเบี้ย 8 ล้าน ที่ร้อยละ 7 ปีละ 560,000 ครึ่งปีก็ 280,000 แล้วครับหักได้ 90000 มันจะเหลืออะไร คนกำหนดเอาอะไรคิดก็ไม่รู้อันนี้ภาวะเศรฐกิจปัจจุบันครับ มันแค่พอเลี้ยงตัวเองครับถ้าต้องเสียภาษีอีก 2-3 หมื่นก็เหมือนทำนาบนหลังคนแล้วครับ
เงินได้จากค่าเช่า สามารถเลือกหักค่าใช้จ่าย ได้แบบคือ
ตอบลบ1.หักค่าใช้จ่ายเป็นการเหมา หรือ
2.หักค่าใช้จ่ายตามความจำเป็นและเหมาะสม
เพราะฉะนั้นสามารถนำภาษีโรงเรือนมาหักเป็นค่าใช้จ่ายได้ แต่ต้องทำบัญชี
รบกวนขอสอบถามข้อมูลสักนิดเกี่ยวกับภงด.94 คือ ทางบ้านเปิดร้านขายของลักษณะแผงลอยประจำ(ขายเฉพาะช่วงเช้า ถึง10โมงเช้า)ปัจจุบันเสียภาษี ภงด.94 ปีละ 1,600 บาท (แบ่งจ่าย 800บาท/ครึ่งปี)
ตอบลบอยากถามว่าจริงๆ แล้วต้องจ่ายภาษีเท่าไร เนื่องจากสรรพากรจะเก็บภาษีเพิ่มเป็นปีละ 4,590 บาทซึ่งเกินจากที่เคยเก็บ 286%
1)รายรับที่ได้จากการขายของประมาณ 2,000 บาท/วัน (รวมต้นทุน+กำไรแล้ว)ถ้าคิดเฉพาะกำไรประมาณ 300-500 บาท/วัน
2)ขายของเฉลี่ย 340 วัน/ปี
3) มีรายรับทางเดียวคือจากการขายของ ไม่มีประกันชีวิต กองทุนใดๆ
4) บุตร 3 คน (แต่งงานไป 1) แต่ปัจจุบันยังอยู่บ้านเดียวกัน บุตรคนที่แต่งงานทำงานบริษัท เสียภาษ๊ หัวหน้าครอบครัวไม่มีรายได้
5) ค่าน้ำ-ไฟ-โทรศัพท์ ยังไม่ได้นำไปหักจากรายรับ
อยากรู้ว่าจริงๆ แล้ว ต้องเสียภาษีภงด.94 ปีละเท่าไหร่คะ เพราะสรรพากรจะเก็บเพิ่มเยอะมาก ขายของแย่กว่าเมื่อก่อนไม่เข้าใจว่าทำไมถึง ต้องจ่ายภาษีมากกว่าเดิม ทั้งๆที่รายรับลดลง
รบกวนตอบด่วนๆ เลยนะคะ พรุ่งนี้ต้องตัดสินใจเอาไงต่อดี
ขอบคุณมากคะ
ตอบคำถาม
ตอบลบผมมาคำนวณดูแล้ว ปกติเงินได้จากการขายสินค้าถือเป็นเงินได้ตามมาตรา 40(8) ซึ่งสามารถหักค่าใช้จ่ายเหมาได้ 80%
คำนวณวิธีที่ 1 คำนวณดูรายได้ (2000x340) - 80% คงเหลือ 136,000 หักลดหย่อนส่วนตัว+คู่สมรส 60,000 บุตร 34,000 คงเหลือ 42,000 บาท ไม่ต้องเสียภาษี (รายได้ไม่เกิน 150,000 บาทยกเว้นภาษี)
คำนวณวิธีที่ 2 คำนวนรายได้ (2000x340)x 0.5% เท่ากับ 3,400 บาท ปัจจุบันยกเว้นให้ถ้ายอดเงินไม่เกิน 5,000 บาท
สรุปก็คือ ไม่มีภาษีต้องเสียนะครับ
เรื่องภาษี clear เรียบร้อยแล้วคะ ทางสรรพากรให้เจ้าหน้าที่ทำการประเมินรายได้ใหม่ย้อนหลัง เพื่อเก็บภาษ๊เพิ่ม ถ้ารายได้ที่ประเมินมาใหม่เกินกว่าที่จัดเก็บไปแล้ว ก็ต้องเสียเพิ่มย้อนหลังสำหรับปี50และ 51 ส่วนปี 52นี้ไม่เสีย เพราะปัจจุบันยกเว้นให้ภาษีที่ไม่เกิน 5,000 บาท แต่ก็ไม่รู้ว่าจะงดเว้นให้กี่ปี เพราะล่าสุดที่ไปเสีย ภงด.94 มาเมื่อ 2 วันก่อน ต้องจ่ายภาษีย้อนหลังในส่วนที่ขาดไปของปี 51 จบสะที
ตอบลบขอบคุณสำหรับคำตอบที่ถามไป
จากผู้ไม่มีความรู้เรื่องภาษี
ถ้าเงินได้สุทธิ 341063.51 จะคำนวณภาษีได้เท่าไรค๊ะ
ตอบลบขอถามด้วยค่ะ รายได้สุทธิ 804244.89 ภาษีที่นำมาคำนวน คือเท่าไหร่ค่ะ ...ขอบคุณค่ะ
ตอบลบถ้าเปิดร้านอินเตอร์เน็ต จดทะเบียนการค้าเรียบร้อยแล้ว จะต้องยื่น ภ.ง.ด.อะไรบ้างคะ(94กลางปี 90ปลายปีถูกหรือป่าว)แล้ววิธีการคำนวนจะต้องคำนวนจากอะไรคะ ถ้ามีรายได้หักค่าใช้จ่ายต่อวันได้ 700 บาท จะต้องคำนวน ภ.ง.ด.ยังไงคะ แล้วถ้าดิฉันมีงานประจำอยู่แล้วได้รับเงินเดือน ตอนสิ้นปีจะต้องคำนวน ภ.ง.ด.90 ยังไงคะ
ตอบลบช่วยตอบด้วยนะคะ account_patcharee@hotmail.com
ต้องยื่น ภงด.94 กลางปี และปลายปียื่น ภงด.90 ถูกต้องแล้วครับ
ตอบลบส่วนการหักค่าใช้จ่าย เนื่องจากเงินได้ที่ได้รับจากการประกอบกิจการให้บริการ อินเตอร์เน็ตเข้าลักษณะเป็นเงินได้พึงประเมินตามมาตรา 40(8) แห่งประมวลรัษฎากร เงินได้ดังกล่าวหักค่าใช้จ่ายได้ตามความจำเป็นและสมควร
เปิดร้านเน็ต และเสียภาษีภ.ง.ด.90 และ 94 แล้วมีคนบอกว่าต้องเสียภาษีโรงเรือนด้วย รายได้วันนึง 300-600 บาท ปกติก็จ่ายกลางปีอยู่ไม่ถึง 500 และปลายปียื่นรวมกับสามี เป็นเงินเดิอน แล้วหากต้องจ่ายโรงเรือนด้วยต้องมีวิธีคิดยังไงคะ รายรับที่บอกมานี้ยังไม่หักค่าใช้จ่ายเลยนะ
ตอบลบช่วยตอบด้วยนะคะ ขอบคุณมากค่ะ wannzza@hotmail.com
มีรายได้ปีหนึ่งประมาณ1200000ลดหย่อนหักตัวเองหักภรรยาแล้วต้องเสียครึ่งปีเท่าไร ธุรกิจค้าขายธรรมดาสรรพากรมาประเมินให้มีเงินได้วันละ3500บาท แต่ธุรกิจนี้มี2ร้านโดยจดทะเบียนชื่อเดียวกันถ้าแยกร้านเสียโดยจดทะเบียนคนละชื่อจะเสียน้อนกว่ามั้ยแบบไหนดีกว่า
ตอบลบกรุณาคิดให้ด้วยว่าจะต้องเสียเท่าไรและแยกเสียต้องเสียเท่าไหร่ต่อจากความคิดเห็นเมื่อ 4 สิงหาคม 2553' 0:23
ตอบลบเนื่องจากไม่ได้ระบุว่าทำธุรกิจอะไรได้รับเงินได้ประเภทอะไร ลองคำนวณภาษีเองดูดีกว่า ส่วนการแยกจดทะเบียนชื่อจะทำให้เสียภาษีน้อยลงครับ
ตอบลบเป็นธุรกิจประเภทค้าขายต่ะแบบซื้อมาขายไป
ตอบลบเงินได้ต่อปี700000 ลดหย่อนพ่อแม่ 60000 บุตร 17000กับ15000
ตอบลบย่า 15000 แล้วคิดอย่างัยต่อครับ surachet_18@hotmail.com
คือผมเปิดร้านขายโทรศัพท์ครับ เพิ่งไปจดทะเบียนได้ 3 เดือน แล้วสรรพกรเขามาบอกให้ผมไปเสียภาษี ภงด.94
ตอบลบมีวิธีคิดว่าผมต้องจ่ายเท่าไหร่ไหมครับ งงมากไม่มีความรู้เรื่องภาษีอ่ะครับ
รายได้ต่อเดือนประมาณ 30,000 บาท
ที่ได้ยินมาว่าหากผมต้องส่งเสียน้องเรียนและ แบ่งบางส่วนให้พ่อแม่ด้วยจะลดหย่อนภาษีได้จิงไหมครับ รบกวนทีนะครับ ขอบคุณมากๆครับ
ส่งเสียน้องเรียนหนังสือนำมาหักลดหย่อนไม่ได้ ต้องเป็นบุตรถึงจะนำมาหักลดหย่อนได้
ตอบลบถ้าพ่อแม่อายุเกิน 60 ปีขึ้นไป และไม่มีรายได้ สามารถนำมาหักลดหย่อนได้คนละ 30,000 บาท
มีรายได้จากการให้เช่าบ้านเดือนละ 28,000 บาท ผู้เช่าหักภาษี ณ.ที่จ่าย 5% แล้วส่งสรรพากรให้ ไม่ทราบว่าผมจะต้องยื่นภาษีอะไรอีก เป็นคนธรรมดาที่ไม่ทราบเรื่องภาษีเลย ผมมีบุตร ที่กำลังเรียนอยู่ อนุบาล 1 คน ชั้นประถมอีก 1 คน จ่ายเบี้ยประกันชีวิตตัวผมเองปีละ 17,850 บ ประกันชีวิตบุตรอีก 2 คนรวม 40,000 บาท ภรรยาไม่ได้ทำงาน เป็นแม่บ้าน แล้วผมไม่ได้จดทะเบียนสมรสกับภรรยาครับ รบกวนตอบด้วยครับ
ตอบลบเปิดร้านขายเสื้อผ้า (แบบซื้อมาขายไป) จดทะเบียนร้านมาแล้ว 5 ปี มีรายได้ประมาณเดือนละ 25,000 บาท (ยังไม่ได้หักค่าใช้จ่ายต่างๆ ถ้าหักแล้วคงเหลือประมาณ 10,000 บาทต่อเดือน) ปัจจุบันแต่งงานแล้วแต่ไม่ได้จดทะเบียนครับ เคยไปยื่นเสียภาษีมาครั้งหนึ่งแล้วตอนเปิดร้านมาประมาณ 1 ปี แต่ตอนนั้นไม่ได้จ่ายเลยครับเพราะเค้าบอกว่ารายได้ไม่ถึง หลังจากนั้นก็เลยไม่ได้สนใจอีกเลยจนปัจจุบัน แต่ตอนนี้เห็นว่ารายได้เยอะกว่าเมื่อก่อนก็เลยอยากทราบว่าต้องไปยื่นเสียภาษีอะไรบ้างครับ และอยากทราบว่าต้องเสียภาษีประมาณเท่าไหร่ครับ รบกวนตอบด้วย ขอบคุณครับ
ตอบลบเปิดร้านขายโทรศัพท์ รายได้ 30,000 บาท/เดือน ดูแล้วไม่มีภาษีต้องเสียนะครับ
ตอบลบเงินได้จากการให้เช่าบ้าน หักค่าใช้จ่ายได้ 30% หรือจะหักตามจริงก็ได้ (ต้องเก็บใบเสร็จค่าใช้จ่ายต่างๆ ไว้) เมื่อคำนวณดูแล้วจะเสียภาษีประมาณ 3,735 บาท เนื่องจากไม่ได้จดทะเบียนจะนำภรรยา และบุตร มาหักลดหย่อนไม่ได้ครับ
ตอบลบแฟนผมขายของในตลาดค้าส่งครับ ทางตลาดเอา ภงด.94 มาให้เสีย ประเมิณรายได้ให้ 400,000 บาทต่อปี แต่รายได้จริงๆ ไม่ถึง ได้แค่แสนกว่าบาท มีบุตร 2 คน แล้วยังนี้ต้อง เสียหรือไม่ครับ แล้วต้องไปยื่นหรือเปล่าครับ รบกวนตอบหน่อยครับ สับสนเหลือเกิน
ตอบลบยื่นแบบชำระภาษี ภงด 94 เมื่อปี 2553 แล้ว ดิฉันไม่เสียภาษี หรือ ในใบเสร็จบอกว่าไม่มีเงินเรียกเก็บ แต่พอมาปี 2554 ดิฉันไม่ได้ไปยื่นแบบแสดงรายการชำระภาษีใดๆ เลย ( ลืม ) ในกรณีนี้ ดิฉันต้องโดนเบี้ยปรับ หรือต้องทำอย่างไรบ้างคะ รายละเอียด ดิฉันเปิดร้านขายอะไหล่รถยนต์ทุกชนิด จดทะเบียน เมื่อต้น ปี 2553 ดิฉันและคู่สมรสมีรายได้ต่อวันรวมกัน ประมาณ 2000 - 2500 บาท(ทำด้วยกัน) ดิฉัน ยังไม่มีบุตร และเมื่อเดือน กันยายน ปี2553 ได้ไปยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษี แล้ว และไม่เสียภาษี ดังที่กล่าวมาข้างต้น แต่ ปี 2554 ดินฉันไม่ได้ไปยื่นแบบแสดงรายการเสียภาษีใดๆ เลย นี่ก็ปี 2555 ดิฉัน ต้องโดนเบี้ยปรับหรือต้องทำอย่างไรบ้างคะเพื่อให้ถูกต้องตามกฏหมายค่ะ ช่วยตอบให้ด้วยนะคะ ขอบพระคุณมากค่ะ
ตอบลบ