1.ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท
มาดูกันตั้งแต่เริ่มแรกเลยนะครับ การเปิดบริษัทใหม่ การจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทอาจจะไม่ใช่เรื่องยากมากนัก เพียงแต่มีเอกสารที่ต้องจัดทำค่อนข้างมาก และปัจจุบันทางกระทรวงพาณิชย์ได้ปรับเปลี่ยนให้การจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทสามารถจดในวันเดียวกันได้ ทำให้ระยะเวลาที่ใช้สั้นลง นอกจากนี้ยังลดจำนวนผู้เริ่มก่อการจาก 7 คนลดเหลือ 3 คน แต่ทั้งนี้จะเห็นได้ว่าเรื่องเอกสารที่ต้องจัดทำยังเหมือนเดิมทุกอย่างเรามาดูขั้นตอนการจดทะเบียนกันนะครับ
- คลิ๊ก ขั้นตอนการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทจำกัด (ภายใน 1 วัน), ข้อมูลที่ต้องใช้ในการจัดตั้งบริษัทจำกัด, เอกสารที่ต้องใช้, ค่าธรรมเนียม
- คลิ๊ก ตัวอย่างการกรอกแบบพิมพ์ ได้แก่ คำขอจดทะเบียน (บอจ.1) หนังสือบริคณห์สนธิ (บอจ.2) รายการจดทะเบียนจัดตั้ง (บอจ.3) รายละเอียดวัตถุประสงค์ (แบบ ว.1) กรรมการเข้าใหม่ (แบบ ก) รายชื่อผู้ิิเริ่มก่อการและเข้าชื่อซื้อหุ้น รายงานการประชุมจัดตั้งบริษัท สำเนาบัญชีรายชื่อผู้ถือหุ้น ใบสำเนารับชำระเงินค่าหุ้น หนังสือรับรองการมีเงินฝากกับธนาคาร
- คลิ๊ก ขั้นตอนการจดทะเบียนบริษัททางอินเตอร์เน็ต
- คลิ๊ก หนังสือแจ้งการจดทะเบียนตั้งบริษัทภายในวันเดียว เริ่ม 1 กรกฎาคม 2551(ไม่อ่านก็ได้ ไม่จำเป็น)
หรือถ้าต้องการนำแบบฟอร์มมาพิมพ์และนำไปยื่นเองก็สามารถทำได้ คลิ๊ก ดาวน์โหลดแบบฟอร์ม
2.บัญชีที่ต้องจัดทำและการจัดทำงบการเงิน (กระทรวงพาณิชย์)
ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีที่เป็นห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน บริษัทจำกัด บริษัทมหาชนจำกัดที่จัดตั้งขึ้นตามกฎหมายไทย นิติบุคคลที่ตั้งขึ้นตามกฎหมายต่างประเทศที่ประกอบธุรกิจในประเทศไทย และกิจการร่วมค้าตามประมวลรัษฎากรต้องจัดทำบัญชีดังต่อไปนี้ โดยต้องจัดทำให้ครบถ้วนถูกต้องตามมาตรฐานการบัญชี (๑) บัญชีรายวัน
(ก) บัญชีเงินสด
(ข) บัญชีธนาคาร แยกเป็นแต่ละเลขที่บัญชีธนาคาร
(ค) บัญชีรายวันซื้อ
(ง) บัญชีรายวันขาย
(จ) บัญชีรายวันทั่วไป
(๒) บัญชีแยกประเภท
(ก) บัญชีแยกประเภทสินทรัพย์ หนี้สินและทุน
(ข) บัญชีแยกประเภทรายได้และค่าใช้จ่าย
(ค) บัญชีแยกประเภทลูกหนี้
(ง) บัญชีแยกประเภทเจ้าหนี้
(๓) บัญชีสินค้า
(๔) บัญชีรายวัน บัญชีแยกประเภทอื่น และบัญชีแยกประเภทย่อยตามความจำเป็นแก่การทำบัญชีของธุรกิจ
คลิ๊ก อ่านเพิ่มเติม ข้อความและรายการที่ต้องมีในบัญชี ระยะเวลาที่ต้องลงรายการบัญชี และเอกสารที่ต้องใช้ประกอบการลงบัญชี
การจัดทำงบการเงิน
- จัดให้มีผู้ทำบัญชีและผู้สอบบัญชี ปิดงบการเงินครั้งแรกภายใน 12 เดือน (เฉพาะปีแรกอาจปิดงบไม่ถึง 12 เดือนก็ได้ เช่น ถ้าจดทะเบียนวันที่ 18 สิงหาคม และต้องการปิดบัญชีในวันที่ 31 ธันวาคมก็ได้ ปีแรกจะปิดบัญชีวันไหนก็ได้ แต่อย่าเกิน 12 เดือน) หลังจากนั้นให้ปิดบัญชีครั้งต่อไปทุกรอบ 12 เดือน
- จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบการเงินภายใน 4 เดือนนับจากวันปิดบัญชี เช่น ปิดงบการเงินวันที่ 31 ธันวาคม ก็ต้องจัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นเพื่ออนุมัติงบภายในวันที่ 30 เมษายน ปีถัดไปและหลังจากงบได้รับการอนุมัิติจากที่ประชุมแล้วก็ต้องนำไปยื่นกระทรวงพาณิชย์ภายใน 1 เดือน หรือภายในวันที่ 31 พฤษภาคม
3.การเสียภาษีเงินได้นิติบุคคล ภาษีมูลค่าเพิ่มและภาษีหัก ณ ที่จ่าย (กรมสรรพกร)
ถ้ายังไม่มีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี และเลขทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม หรือเลขทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ สามารถเขาไปจดทะเบียนที่กรมสรรพากรได้- คลิ๊ก การขอมีเลขประจำตัวผู้เสียภาษี บริษัทจำกัด ต้องใช้หนังสือรับรองจากกระทรวงพาณิชย์
- คลิ๊ก ขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม ถ้ารายได้ของบริษัทต่อปี ไม่ถึง 1,800,000 บาทไม่จดก็ได้ แต่แนะนำว่าถ้าเป็นบริษัทจำกัด ก็ควรจดไว้เลย
- คลิ๊ก ขดจดทะเบียนภาษีธุรกิจเฉพาะ
ยื่นแบบเสียภาษีเงินได้นิติบุคคลประจำปี โดยใช้แบบ ภงด.50 กำหนดเวลาในการยื่นแบบภายใน 150 วันนับจากวันสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี เช่น ถ้าปิดงบวันที่ 31 ธันวาคม จะต้องยื่นภายในวันที่ 29 พฤษภาคม (ในกรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 29 วัน) หรือต้องยื่นภายในวันที่ 30 พฤษภาคม (กรณีที่เดือนกุมภาพันธ์มี 28 วัน)
นอกจากนี้ยังต้องประมาณการเพื่อเสียภาษีครึ่งปี สำหรับงบที่มีรอบระยะเวลาบัญชี มค-ธค. รอบระยะเวลา 6 เดือนสิ้นสุดวันที่ 30 มิถุนายน กำหนดยื่นภายใน 2 เดือน ต้องยื่นภายในวันที่ 31 สิงหาคม
ภาษีเิงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่ต้องยื่นประจำทุกเดือน
เนื่องจากกฎหมายกำหนดให้ ผู้จ่ายเงินได้มีหน้าที่ต้องหักภาษี ณ ที่จ่ายและนำส่งให้สรรพากรภายในวันที่ 7 ของทุกเดือน โดยเป็นภาษีหัก ณ ที่จ่ายตามมาตรา 3 มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70 สำหรับแบบที่ใช้ในการยื่น ได้แก่
- ภงด.1 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับการจ่ายเงินได้ประเภทเงินเดือน ค่าจ้าง
- ภงด.3 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย สำหรับเงินได้ประเภทอื่นที่ที่จ่ายให้แก่บุคคลธรรมดา
- ภงด.53 ภาษีเงินได้หัก ณ ที่จ่าย ที่จ่ายให้แก่บริษัท ห้างหุ้นส่วนจำกัด
- การหักภาษี ณ ที่จ่าย ตามคำสั่ง ทป.4/2548
- คำสั่งกรมสรรพากร ป.91/2542 เรื่องความรับผิดชอบเกี่ยวกับการหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย ตามมาตรา 3 มาตรา 50 มาตรา 69 ทวิ และมาตรา 70
- บทความหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้จ่ายเงินได้ มี 9 ตอน
- เอกสารประกอบการสัมนาเรื่องหักภาษี ณ ที่จ่ายเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ธรรมดา
- สไลด์ประกอบการสัมมนาเรื่องหักภาษ ณ ที่จ่ายเรื่องง่ายๆ ที่ไม่ธรรมดา
กำหนดยื่นแบบภาษีมูลค่าเพิ่มต้องยื่นภายในวันที่ 15 ของทุกเดือน ไม่ว่าจะมีภาษีต้องเสียหรือไม่ก็ตาม ถ้าไม่มีภาษีต้องจ่่ายก็ให้ยื่นฟอร์มเปล่า อ่านข้อมูลเพิ่มเติม
- เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องออกใบกำกับภาษีอย่างไรให้ถูกต้อง
- เอกสารประกอบการสัมมนาเรื่องสร้างความมั่นใจในการลงรายงานภาษีซื้อภาษีขาย
4.ประกันสังคม
สำหรับกิจการที่มีูลูกจ้างตั้งแต่ 1 คนขึ้นไปต้องยื่นขึ้นทะเบียนนายจ้าง ภายใน 30 วันนับจากที่มีลูกจ้าง และนำส่งเงินประกันสังคมภายในวันที่ 15 ของเดือนถัดไป โดยใช้แบบนำส่ง สปส.1-10เอกสารที่ต้องแนบมาพร้อมกับการยื่นแบบขึ้นทะเบียนนายจ้าง
กรณีจดทะเบียนนิติบุคคล (ต้องใช้เอกสารแนบทุกข้อที่กำหนด)
- สำเนาหรือภาพถ่ายหนังสือรับรองการจดทะเบียนนิติบุคคลพร้อมวัตถุประสงค์
-
สำเนา หรือภาพถ่ายใบทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายคำขอจดทะเบียนภาษีมูลค่าเพิ่ม (ภ.พ.01) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายภาษีธุรกิจเฉพาะ (ภ.ช.20) หรือสำเนาหรือภาพถ่ายใบอนุญาตประกอบกิจการโรงงาน (ร.ง.4) - แผนที่ตั้งของสถานประกอบการ
- หนังสือมอบอำนาจ (เฉพาะกรณีมอบอำนาจให้บุคคลอื่นกระทำการแทน พร้อมติดอากรแสตมป์ตามที่ประมวลรัษฎากรกำหนด)
คลิ๊กเพื่อดาวน์โหลดแบบฟอร์มประกันสังคม
ขอบคุณค่ะ
ตอบลบ