มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550)

เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

คำแถลงการณ์
มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ได้ปรับปรุงให้เป็นไปตามเกณฑ์ที่กำหนดขึ้นโดยมาตรฐานการบัญชีระหว่าง
ประเทศฉบับที่ 36 เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์พ.ศ. 2549 (IAS 36 (2006), “Impairment of Assets”)
มาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 36 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง การด้อยค่าของสินทรัพย์

ขอบเขต
1. มาตรฐานการบัญชีฉบับนี้ให้ถือปฏิบัติกับการบัญชีสำหรับการด้อยค่าของสินทรัพย์ทุกประเภทยกเว้น
1.1 สินค้าคงเหลือ (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 31 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินค้าคงเหลือ)
1.2 สินทรัพย์ที่เกิดจากสัญญาก่อสร้าง (ดูมาตรฐานการบัญชีฉบับที่ 49 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง
สัญญาก่อสร้าง)
1.3 ภาษีเงินได้รอการตัดบัญชี (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 56 เรื่อง ภาษีเงินได้ (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.4 สินทรัพย์ที่เกิดจากผลประโยชน์ของพนักงาน (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง ผลประโยชน์พนักงาน (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.5 สินทรัพย์ทางการเงิน ซึ่งรวมอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง การรับรู้และการวัดมูลค่าเครื่องมือทางการเงิน (เมื่อมีการประกาศใช้)
1.6 อสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุนที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรม (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่องอสังหาริมทรัพย์เพื่อการลงทุน (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.7 สินทรัพย์ชีวภาพที่เกี่ยวข้องกับกิจกรรมทางการเกษตรที่วัดมูลค่าด้วยมูลค่ายุติธรรมหักประมาณการค่าใช้จ่าย ณ จุดขาย (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่ 57 เรื่อง เกษตรกรรม
(เมื่อมีการประกาศใช้))
1.8 ต้นทุนการได้มารอการตัดบัญชีและสินทรัพย์ไม่มีตัวตนที่เกิดจากสิทธิตามสัญญาของผู้รับประกันภายใต้สัญญาประกันภัยซึ่งรวมอยู่ในขอบเขตของมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาประกันภัย (ดูมาตรฐานการบัญชี เรื่อง สัญญาประกันภัย (เมื่อมีการประกาศใช้))
1.9 สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำ เนินงานที่ยกเลิก ซึ่งถูกจัดประเภทเป็นสินทรัพย์ที่ถือไว้เพื่อขายตามมาตรฐานการบัญชีเรื่องสินทรัพย์ไม่หมุนเวียนหรือกลุ่มสินทรัพย์ที่ยกเลิก ที่ถือไว้เพื่อขาย และการดำเนินงานที่ยกเลิก (ดูมาตรฐานการบัญชี ฉบับที่
54 (ปรับปรุง 2550) เรื่อง สินทรัพย์ไม่หมุนเวียนที่ถือไว้เพื่อขายและการดำเนินงานที่ยกเลิก)

คำนิยาม
2. คำศัพท์ที่ใช้ในมาตรฐานการบัญชีฉบับนี้มีความหมายโดยเฉพาะ ดังนี้
ตลาดซื้อขายคล่อง หมายถึง ตลาดที่มีคุณสมบัติทุกข้อดังต่อไปนี้
     1) รายการที่ซื้อขายในตลาดต้องมีลักษณะเหมือนกัน
     2) ต้องมีผู้ที่เต็มใจซื้อและขายตลอดเวลา
     3) ราคาต้องเป็นที่เปิดเผยต่อสาธารณชน

วันที่ตกลงรวมธุรกิจ หมายถึง วันที่ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจกันบรรลุผล สำหรับบริษัทจดทะเบียนต้องมีการประกาศต่อสาธารณะชนด้วย สำหรับกรณีที่เป็นการครอบงำ กิจการแบบปรปักษ์ วันแรกที่ข้อตกลงที่สำคัญระหว่างกิจการที่รวมธุรกิจกันบรรลุผล คือวันที่จำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นในธุรกิจที่ถูกซื้อ ซึ่งยอมรับคำเสนอซื้อของผู้ซื้อมีมากเพียงพอที่จะทำให้ผู้ซื้อสามารถควบคุมผู้ถูกซื้อ

มูลค่าตามบัญชี หมายถึง ราคาของสินทรัพย์ที่รับรู้ในงบดุลหลังจากหักค่าเสื่อมราคาสะสม (หรือค่าตัดจำหน่ายสะสม)และค่าเผื่อการด้อยค่าสะสมของสินทรัพย์
หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด หมายถึง สินทรัพย์กลุ่มที่เล็กที่สุดที่สามารถระบุได้ว่าการใช้กลุ่มสินทรัพย์ดังกล่าวอย่างต่อเนื่องจะก่อให้เกิดกระแสเงินสดรับ ซึ่งโดยส่วนใหญ่เป็นอิสระจากกระแสเงินสดรับที่เกิดจากสินทรัพย์อื่นหรือกลุ่มสินทรัพย์อื่น

สินทรัพย์องค์กร หมายถึง สินทรัพย์ที่มีส่วนทำ ให้หน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดที่อยู่ภายใต้การพิจารณาและหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดอื่นสามารถก่อให้เกิดกระแสเงินสดได้ในอนาคต ทั้งนี้ไม่รวมถึงค่าความนิยม

ต้นทุนในการขาย หมายถึง ต้นทุนส่วนเพิ่มที่เกี่ยวข้องโดยตรงกับการจำ หน่ายสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดซึ่งไม่รวมต้นทุนทางการเงินและค่าใช้จ่ายภาษีเงินได้

จำนวนที่คิดค่าเสื่อมราคา หมายถึง ราคาทุนของสินทรัพย์หรือราคาอื่นที่ใช้แทนราคาทุนในงบการเงินหักด้วยมูลค่าคงเหลือ

ค่าเสื่อมราคา(หรือค่าตัดจำหน่าย) หมายถึง การปันส่วนจำ นวนที่คิดค่าเสื่อมราคาของสินท รัพย์อย่างมีระบบ ตลอด อายุการให้ประโยชน์(1)
(1) ในกรณีของสินทรัพย์ไม่มีตัวตนจะเรียกว่าค่าตัดจำหน่ายแทนคำว่าค่าเสื่อมราคา ซึ่งมีความหมายเหมือนกัน

มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขาย หมายถึง จำนวนที่จะได้รับจากการขายสินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหักด้วยต้นทุนจากการขายสินทรัพย์นั้นโดยที่ผู้ซื้อกับผู้ขายสามารถต่อรองราคากันได้อย่างเป็นอิสระในลักษณะของผู้ที่ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน ในขณะที่ทั้งสองฝ่ายมีความรอบรู้และเต็มใจในการแลกเปลี่ยน

ผลขาดทุนจากการด้อยค่า หมายถึง จำนวนมูลค่าตามบัญชีที่สูงกว่ามูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืนของสินทรัพย์ หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด
มูลค่าที่คาดว่าจะได้รับคืน หมายถึง มูลค่ายุติธรรมหักต้นทุนในการขายของสินทรัพย์หรือหน่วย สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสดหรือมูลค่าจากการใช้ของสินทรัพย์นั้น แล้วแต่จำนวนใดจะสูงกว่า

อายุการให้ประโยชน์ หมายถึง กรณีใดกรณีหนึ่ง ต่อไปนี้
1) ระยะเวลาที่กิจการคาดว่าจะใช้ประโยชน์จากสินทรัพย์
2) จำนวนผลผลิตหรือจำนวนหน่วยในลักษณะอื่นที่คล้ายคลึงกันซึ่งกิจการคาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์

มูลค่าจากการใช้ หมายถึง มูลค่าปัจจุบันของกระแสเงินสดในอนาคตที่คาดว่าจะได้รับจากการใช้สินทรัพย์หรือหน่วยสินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดเงินสด


อ่านไฟล์ฉบับเต็มคลิ๊ก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น