รถรับส่งพนักงานที่นายจ้างจัดให้
หนังสือตอบข้อหารือกรมสรรพากร ที่ กค 0811 (กท.02)/912 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2544 : กรณี รถรับส่งพนักงานตามเส้นทางที่กำหนดให้พนักงาน/ลูกจ้าง โดยให้บริการแก่พนักงานทุกคนนั้น เป็นเพียงให้ความสะดวกแก่พนักงานเป็นการทั่วไปและเพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ จึงไม่ถือเป็นประโยชน์ที่พนักงานได้รับ
ประเด็นพิจารณา : ในการให้ สวัสดิการแก่พนักงานของนายจ้าง เป้าหมายหลักต้องเป็นไปเพื่อกิจการหรือเกี่ยวเนื่องกับกิจการของนายจ้าง ก็คือ ทำให้กิจการของนายจ้างดีขึ้น ซึ่งค่าใช้จ่ายส่วนนี้นายจ้างสามารถถือเป็นรายจ่ายในการคำนวณภาษีเงินได้ นิติบุคคลได้และต้องให้พนักงานทุกคนจะได้มีมีปัญหาว่า เลือกปฏิบัติและเป็นการให้ส่วนตัว แต่สวัสดิการที่ให้แก่พนักงานนั้นอาจต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินของ พนักงาน/ลูกจ้างที่ต้องนำมาคิดรวมเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ถ้าไม่มีกฎหมายยกเว้นภาษีเงินได้ให้ในประมวลรัษฎากรหรือกฎหมายอื่น แต่การให้บริการของนายจ้างบางกรณีซึ่งอาจเป็นนโยบายของบริษัทฯอาจไม่ได้ เรียกว่าเป็น “สวัสดิการ” ของพนักงาน แต่นายจ้างได้จัดให้มีเพื่ออำนวยความสะดวกในการทำงาน เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพของผลผลิตโดยตรง ก็อาจมีการจัดสถานที่ภายในที่ทำงานเป็นที่ออกกำลังกายของพนักงาน สวนหย่อมเพื่อการพักผ่อนของพนักงานสถานที่เพื่อปฏิบัติภารกิจด้านศาสนา ลิฟท์ขึ้นละระหว่างชั้น บันไดหนีไฟ ห้องน้ำชาย/หญิง โรงอาหาร ตู้น้ำดื่ม เพลงที่เปิดในช่วงพักงาน เครื่องปรับอากาศ โต๊ะ/เก้าอี้ ตามความเหมาะสมของตำแหน่งงานหรือแม้กระทั่งรถรับ – ส่งพนักงาน เป็นต้น ทั้งนี้ทั้งนั้นเป็นเรื่องที่นายจ้างไม่ได้มุ่งเน้นไปเพื่อประโยชน์ของ ลูกจ้างโดยเฉพาะ แต่เป็นบริการที่ให้เป็นการทั่วๆไป ผู้ใดจะใช้หรือไม่ใช้ประโยชน์ส่วนตัวนี้ก็ได้
ประเด็นวิเคราะห์ : จาก หนังสือตอบข้อหารืออกรมสรรพากรที่ กค 0811(กม.02)/916 ลงวันที่ 7 สิงหาคม 2544 ดังกล่าว กรณีรถรับ-ส่ง พนักงานไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่พนักงานได้รับซึ่งจะต้องนำมารวมคำนวณกับ เงินเดือน/ค่าจ้าง เพื่อเสียภาษีเงินได้ มีประเด็นที่ควรพิจารณาจากการตอบข้อหารือ คือ
(1) คำว่า “ตามเส้นทางที่กำหนด” กรณีที่ทางบริษัทเป็นผู้กำหนดแผนที่การเดินทาง โดยมีการกำหนดเส้นทางรถที่รับ – ส่ง จะวิ่งไปและกำหนด จุดขึ้น – ลง ตามเวลาที่ระบุไว้ชัดเจน พนักงาน/ลูกจ้างคนใดมาไม่ถึงจุดนัดพบไม่ทัน ก็ถือว่าเที่ยวนั้นตกรถรับ-ส่งพนักงาน ซึ่งต้องเดินทางมาทำงานเองหรือกลับเอง
ข้อสังเกต : ถ้าพนักงาน /ลูกจ้าง เป็นผู้กำหนดแผนที่เพื่อให้รถมารับส่งตามที่พนักงานกำหนด ก็จะกลายเป็นว่ารถรับส่งนั้นเป็นไปเพื่อประโยชน์ของพนักงานโดยตรง เปรียบเสมือนรถโรงเรียนที่รับ – ส่งนักเรียน ประโยชน์ที่พนักงานได้รับตามข้อเท็จจริงนี้ถือเป็นประโยชน์เพิ่มที่ต้องนำมา คำนวณเป็นเงินได้ของพนักงาน
(2) คำว่า “ให้ความสะดวกเป็นการทั่วไป” หมายถึงพนักงาน/ลูกจ้าง ของบริษัทนายจ้างทุกคนสามารถใช้บริการนี้ได้และไม่เป็นการบังคับ (จะใช้ก็ได้/ไม่ใช้ก็ได้) อีกทั้งไม่เลือกปฏิบัติบางคนหรือบางตำแหน่ง มิฉะนั้น จะถือว่าเป็นค่าใช้จ่ายที่ให้เป็นการส่วนตัว ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการคำนวณภาษีเงินได้ของบริษัทนายจ้าง
(3) คำว่า “เพื่อประโยชน์ของบริษัทฯ” กรณีรถรับ – ส่ง พนักงานตามแผนที่เส้นทางที่บริษัทนายจ้างกำหนด ทำให้พิจารณาได้ว่าเป็นการบริการเพื่อการทำงานที่มีประสิทธิภาพของบริษัทนาย จ้างให้เกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ได้กระทำเพื่อเป็นสวัสดิการให้แก่พนักงาน/ลูกจ้าง แต่ วัตถุประสงค์ก็เพื่อประโยชน์ของบริษัทโดยตรงนั่นเอง
หมายเหตุ : อย่าลืม พิจารณาข้อแตกต่างในประเด็นรถรับ – ส่งพนักงานตามแผนที่เส้นทางที่นายจ้างเป็นผู้กำหนดรถรับ – ส่งนักเรียนที่ผู้ปกครองนักเรียนเป็นผู้กำหนดแผนที่จุดรับ – ส่ง
มุมวางแผนสวัสดิการ : เรื่อง รถรับ – ส่ง พนักงาน/ลูกจ้าง ของบริษัทที่นายจ้างจัดบริการให้นี้เป็นประเด็นที่ต้องถกเถียง ชี้แจงกับเจ้าหน้าที่ตรวจสอบของสรรพากรอยู่เสมอ ซึ่งแนวโน้มในการพิจารณาของเจ้าหน้าที่ฯ จะมองให้รูปลักษณะเป็น “สวัสดิการ” ที่นายจ้างจัดให้แก่พนักงาน ดังนั้นเมื่อนายจ้างถือเป็น “รายจ่าย” ในการคำนวณภาษี เงินได้ของตน ในทางกลับกันรายจ่ายตัวนี้ก็ต้องถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน /ลูกจ้างที่ได้รับ ด้วยเหตุนี้ ความชัดเจนในระเบียบหรือกฎเกณฑ์การให้บริการรถรับ – ส่งพนักงานที่ฝ่ายนายจ้างจัดทำขึ้น รวมทั้งการกำหนดแผนที่เส้นทางและระยะเวลาการเดินรถเพื่อประโยชน์ของบริษัทมี ความแตกต่างจากสวัสดิการเพื่อประโยชน์ของพนักงาน/ลูกจ้างในประเด็นใด ที่จะไม่ถือเป็นประโยชน์เพิ่มของพนักงาน คงต้องชี้แจงให้เห็นภาพตามหนังสือข้อหารือฯ ตามที่กล่าว
ข้อมูลอ้างอิง : หนังสือกลยุทธ์การบริการทรัพยากรมนุษย์
โดย : รศ.เพิ่มบุญ แก้วเขียว
สวัสดิการ ประโยชน์เพิ่มที่นายจ้างให้และภาระภาษีสำหรับพนักงาน
ประมวลรัษฎากรมาตรา 40 เงินได้พึงประเมินนั้นคือ เงินได้ประเภทต่อไปนี้ รวมถึงเงินค่าภาษีอากรที่ผู้จ่ายเงินหรือผู้อื่นออกแทนให้สำหรับเงินได้ ประเภทต่างๆ ดังกล่าวไม่ว่าในทอดใด
(1) เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน ไม่ว่าจะเป็นเงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด บำเหน็จ บำนาญ เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่า เช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระ และเงิน ทรัพย์สินหรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ได้เนื่องจากการจ้างแรงงาน
The Revenue Code Section 40. Assessable income shall be income of the following categories including any amount of tax and duty paid. At whatever stage. For the-payer by the payer of income or by any other person:
(1) Income derived by virtue of hire of service, whether in the form of salary, wage , perdiem , bonus , bounty , gratuity , pension , house rent allowance , monethary value of rent-free vesidence provided by an employer, payment made by an employeer for settlement of any obligation duo from an employee , or and money, property or benefits derived by virture of hire or service.
จะเห็นได้ว่า เงินได้เนื่องจากการจ้างแรงงานตามกฎหมายภาษีอากรดังกล่าว ไม่ว่าลูกจ้างจะได้รับเป็นตัวเงิน อาทิ เงินเดือน ค่าจ้าง เบี้ยเลี้ยง โบนัส เบี้ยหวัด หรือบำเหน็จบำนาญ หรือได้รับประโยชน์เพิ่มในรูปสวัสดิการจากนายจ้าง เช่น เงินค่าเช่าบ้าน เงินที่คำนวณได้จากมูลค่าของการได้อยู่บ้านที่นายจ้างให้อยู่โดยไม่เสียค่า เช่า เงินที่นายจ้างจ่ายชำระหนี้ใดๆ ซึ่งลูกจ้างมีหน้าที่ต้องชำระและเงิน ทรัพย์ หรือประโยชน์ใดๆ บรรดาที่ลูกจ้างได้รับเนื่องจากการจ้างแรงงาน ลูกจ้างก็ต้องนำทั้งหมด ที่ได้รับมาเป็นเงินได้พึงประเมินเพื่อเสียภาษีตามหลัก “เกณฑ์เงินสด” (Cash Basis) ในปีภาษี ( 1 มกราคม ถึง 31 ธันวาคม)
ประเด็นพิจารณา
ผู้ที่ทำงานเกี่ยวข้องกับแรงาน และกฎหมายแรงงานมักเข้าใจสับสนในคำว่า “สินจ้าง” กับ “ ไม่เป็นสินจ้าง” อันถือว่าเป็นสวัสดิการนั้นไม่ต้องเสียภาษี เพราะถือว่าสวัสดิการไม่เป็นสินจ้าง ความเข้าใจนี้ถูกต้องตามกฎหมายคุ้มครองแรงงาน แต่ไม่ถูกต้องตามกฎหมายภาษี (รัษฎากร) เนื่องจากตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานตัวสินจ้างจะไปเป็นฐานในการคิดเงินค่าตอบ แทนแก่ลูกจ้างกรณีต่างๆ เช่น การทำงานล่วงเวลา การทำงานในวันหยุด หรือค่าชดเชยตามกฎหมาย ซึ่งกรณีนี้เป็นปัญหาข้อพิพาทระหว่างนายจ้างกับลูกจ้างเสมอ เพราะนายจ้างไม่อยากให้สวัสดิการเหล่านั้นเป็นสินจ้าง แต่ตัวลูกจ้างก็อยากให้เป็นส่วนหนึ่งของสินจ้าง แต่ในทางกลับกันเมื่อต้องเสียภาษีตามกฎหมาย ทางลูกจ้างก็ไม่อยากให้สวัสดิการที่ตนได้รับจากนายจ้างต้องนำมารวมกับ สินจ้างเพื่อคำนวณภาษี เพราะจะทำให้ต้องเสียภาษีมากขึ้น ประเด็นเรื่อง “สวัสดิการ” ของลูกจ้าง ก็ไม่ใช่ว่าทางสรรพากรโดยประมวลกฎหมายรัษฎากรจะนำมารวมเพื่อเสียภาษีเงินได้ ทุกกรณีไป ก็ยังมีการบัญญัติกฎหมายยกเว้นให้บางกรณีที่เห็นว่าจำเป็นและเหมาะสมกับ ภาวการณ์ ทั้งนี้เพราะถ้ามีการยกเว้นให้มากๆ ก็สร้างความไม่เป็นธรรมแก่ลูกจ้างอีกจำนวนหนึ่งที่เขาไม่ได้รับสวัสดิการ เนื่องจากไม่มีกฎหมายใดมาบังคับให้นายจ้างต้องใส่สวัสดิการแก่ลูกจ้างนั่น เอง
ประเด็นที่ไม่ควรมองข้าม
บรรดาสินจ้างและสวัสดิการที่นาย จ้างได้จ่ายให้แก่ลูกจ้างไปนั้น ย่อมถือเป็นรายจ่ายของกิจการของนายจ้าง ซึงถ้าเป็นไปตามเงื่อนไขของกฎหมายในเรื่อง “บัญชีภาษีอากร” (Tax Accounting) นายจ้างก็สามารถนำมาหักเป็นรายจ่ายเพื่อให้ตนเสียภาษีลดลงได้ ดังนั้นนักบัญชีทางด้านนี้ก็จะต้องทำระเบียบรองรับการจ่ายเงินค่าสวัสดิการ ลูกจ้าง โดยนึกถึงความมุ่งหมายที่ชัดเจนของคำว่า “เพื่อกิจการ ไม่เป็นการส่วนตัว และไม่เลือกปฏิบัติรวมทั้งผ่านมติที่ประชุมตามวาระของเรื่อง” ฉะนั้นเมื่อสินจ้างและสวัสดิการเป็นรายจ่ายของนายจ้าง ก็ย่อมเป็นเงินได้พึงประเมินของลูกจ้างนั่นเอง (ตามหลักเกณฑ์ทางการบัญชี)
ประเด็นสวัสดิการลูกจ้างตามประมวลรัษฎากร
แนวปฏิบัติของกรมสรรพากรเกี่ยว กับเรื่องนี้ก็คือ ถ้าจะมีการยกเว้นไม่ต้องเสียภาษีเงินได้ให้กับสวัสดิการตัวใดที่ลูกจ้างได้ รับ จะต้องมีบทบัญญัติของกฎหมายรองรับไว้ชัดเจน มิฉะนั้นแล้วตัวของลูกจ้างจะต้องนำไปรวมกับเงินเดือน/ค่าจ้างเพื่อการเสีย ภาษี ทั้งการถูกหักภาษีเงินได้ ณ ที่จ่าย และการเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดารประจำปี
ประโยชน์เพิ่มของพนักงาน
ประโยชน์เพิ่มของพนักงาน หมายความถึง ประโยชน์ ,ทรัพย์ ,สิทธิ หรือ บริการใดๆ ที่นายจ้างได้ให้แก่พนักงานอันเนื่องมาจากการทำงานในตำแหน่งหน้าที่ทั้งที่ เป็นตัวเงินและไม่เป็นตัวเงินซึ่งการให้ประโยชน์ดังกล่าว อาจอยู่ในรูปของสวัสดิการหรือการให้เปล่า ในแง่ภาษีอากร ประโยชน์เพิ่มนี้อาจถือเป็นเงินได้พึงประเมินของพนักงาน และต้องนำไปเสียภาษีตามมาตรา 39 แห่งประมวลรัษฎากรที่ระบุว่าเงินได้พึงประเมิน “ให้รวมถึงทรัพย์สิน หรือประโยชน์อย่างอื่นที่ได้รับ ซึ่งอาจคิดคำนวณได้เป็นเงิน”
อย่างไรก็ดี ไม่ใช่ว่าประโยชน์เพิ่มที่พนักงานได้รับในรูปแบบต่างๆ จะต้องเสียภาษีเงินได้ทุกกรณีไป ประโยชน์เพิ่งบางอย่าง กฎหมายบัญญัติให้ได้รับยกเว้นโดยพนักงานไม่ต้องนำไปคำนวณเสียภาษีเงินได้ บุคคลธรรมดาเช่นกันตารางต่อไปนี้คือตัวอย่างของประโยชน์เพิ่มที่นายจ้างให้ และภาระภาษีสำหรับพนักงาน
ตัวอย่าง ประโยชน์เพิ่มที่นายจ้างให้และภาระภาษีสำหรับพนักงาน
ลำดับ | รายการประโยชน์ | เสียภาษี | ยกเว้นภาษี | หมายเหตุ |
1 | ค่าเบี้ยเลี้ยงเดินทางและที่พัก | / | ม.42(1) | |
2 | ช่วยค่าน้ำมันรถพนักงานฯ | / | นำรถมาใช้ในกิจการนายจ้าง | |
3 | จ่ายค่าพาหนะและค่าทางด่วนให้ | / | ทำตามคำสั่งนายจ้าง | |
4 | รถรับ/ ส่งพนักงาน | / | เพื่อกิจการนายจ้างโดยตรง | |
5 | จัดฝึกอบรมพนักงาน | / | เพื่อกิจการของนายจ้างโดยตรง | |
6 | จ่ายเบี้ยประกันภัยให้ลูกจ้าง | / | พนักงานเป็นผู้รับประโยชน์ | |
7 | ให้พนักงานกู้ยืมเงิน | / | ม.42 (10) อุปการะธรรมจรรยา | |
8 | เครื่องแบบพนักงาน | / | 2 ชุด / เสื้อนอก 1 ตัว | |
9 | ค่ารักษาพยาบาลสำหรับลูกจ้าง | / | กฎกระทรวง ฉบับ 126ฯ | |
10 | ช่วยเหลืองานสมรส/คลอดบุตรและงานศพของพนักงาน | / | ม.42 (10) ตามประเพณี | |
11 | เบี้ยขยัน | / | ม.40(1) เหมือนโบนัส | |
12 | อยู่บ้านนายจ้างโดยไม่เสียค่าเช่า | / | คิดร้อยละ 20 ของเงินเดือน | |
13 | ออกภาษีแทนลูกจ้าง | / | ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม | |
14 | ลูกจ้างรับประทานอาหารฟรี | / | ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม | |
15 | พนักงานซื้อหุ้น/แลกหุ้น | / | ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม | |
16 | สมาชิกกอล์ฟคลับ/สโมสรกีฬา หรือสโมสรเพื่อการพักผ่อน | / | คำสั่ง ป.56/2538 ไม่เฉพาะตัวบุคคล | |
17 | ช่วยค่าเล่าเรียนบุตรพนักงาน | / | ม.40 (1) ประโยชน์เพิ่ม | |
18 | ให้ทุนการศึกษาแก่พนักงาน | / | ม.42 (11) กลับมาทำงาน | |
19 | เงินชดเชย | / | กฎกระทรวง ฉบับ 126 ฯ | |
20 | กองทุนสำรองเลี้ยงชีพ | / | เกษียณอายุ/ตาย/ทุพพลภาพกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 ฯ |
วิธีตรวจธนบัตรปลอม
สิ่งต่อไปนี้จะปรากฏอยู่บน ธนบัตรของจริงค่ะ
1. ลายน้ำ พระบรมสาทิสลักษณ์ มองเห็นได้ชัดเจน เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง และรูปลายไทยจะโปร่งแสงเป็นพิเศษ
2. แถบสีโลหะในเนื้อกระดาษ นำเนื้อกระดาษตามแนวตั้ง เมื่อยกส่องกับแสงสว่าง จะเห็นตัวเลขและตัวอักษรโปร่งแสง
3. พิมพ์เส้นนูน พระบรมสาทิสลักษณ์ ตัวอักษรและตัวเลขแจ้งราคา เมื่อสัมผัสด้วยปลายนิ้วจะรู้สึกสะดุด
4. ตัวเลขแฝง ซึ่งอยู่ในลายไทย มองเห็นได้เมื่อยกธนบัตรเอียงเข้าหาแสงสว่าง โดยมองจากมุมล่างซ้ายเข้าหากึ่งกลางธนบัตร
5. ภาพซ้อนทับพิมพ์แยกส่วนไว้บนด้านหน้าและด้านหลัง เมื่อ ยกส่องกับแสงจะมองเห็นภาพสวยงาม โดยแบงก์พันจะเป็นรูปดอกบัว แบงก์ 500 เป็นรูปดอกพุดตาล แบงก์ 100 เป็นตัวเลข 100 แบงก์ 50 เป็นตัวเลข 50 แบงก์ 20 เป็นตัวเลข 20
6. ตัวเลขจิ๋ว บรรจุในตัวเลขไทยด้านหน้า มองเห็นได้ชัดเจนด้วยแว่นขยาย
7. แทบฟอยล์ สีเงินมองเห็นเป็นหลายมิติ และสะท้อนแสงเมื่อพลิกไปมา
8. หมึกพิมพ์พิเศษ ตัว เลข 1000 จะมองเห็น ด้านบนสีทอง ด้านล่างสีเขียว เมื่อพลิกขอบล่างขึ้นจะเห็นเป็นสีเขียวทั้งหมด ส่วนแบงก์ 500 ตัวเลข 500 จะมองเห็นตัวเลขสีเขียว เมื่อพลิกขอบล่างจะมองเห็นเป็นสีม่วง นอกจากนี้ ยังมีวิธีนำบริเวณลอยนูนของแบงก์ เช่น คำว่ารัฐบาลไทย ถูกับกระดาษสีขาว ของจริงจะปรากฏสีให้เห็น
คลิ๊กที่รูปเพื่อดูภาพขนาดใหญ่
Refer..http://www.bot.or.th/Thai/Banknotes/production_and_security/Pages/identify.aspx