ผู้ทำบัญชี และคุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชี

ผู้ทำบัญชีคือใคร

ผู้ทำบัญชีเป็นผู้ที่มีบทบาทสำคัญในการจัดทำและนำเสนอข้อมูลทางบัญชีของ นิติบุคคล คุณภาพของผู้ทำบัญชีย่อมส่งผลต่อคุณภาพของข้อมูลทางด้านบัญชี ผู้ทำบัญชีจึงจำเป็นต้องมีความรู้และประสบการณ์ในการจัดทำบัญชีและนำเสนองบ การเงินอย่างเพียงพอ พระราชบัญญัติการบัญชีได้ตระหนักถึงบทบาทของผู้ทำบัญชีต่อความถูกต้องของ ข้อมูลบัญชี จึงได้มีการกำหนดหน้าที่และความรับผิดชอบของผู้ทำบัญชีไว้ชัดเจน โดยมีการแบ่งแยกหน้าที่และความรับผิดชอบกับผู้มีหน้าท จัดทำบัญชี และได้กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของบุคคลที่จะเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายไว้ ด้วย
ผู้ทำบัญชี หมายถึง ผู้รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ไม่ว่าจะได้กระทำในฐานะเป็นลูกจ้างของ ผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชีหรือไม่ก็ตาม ซึ่งได้แก่ บุคคลดังต่อไปนี้
    1. กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
    2. กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ
    • หัวหน้าสำนักงาน กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
    • ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
    • กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล
    • บุคคลธรรมดา กรณีที่เป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
    1. ผู้ ช่วยผู้ทำบัญชี ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย ตามที่กำหนดในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ 7 ( 3 ) ซึ่งผู้ช่วยทำบัญชีในที่นี้ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ทำบัญชีและถือ เป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายบัญชี
    2. บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี

คุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชี

เนื่องจากบุคคลที่มีความรับผิดชอบดังกล่าวข้างต้น ถือเป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายบัญชี ซึ่งผู้ทำบัญชีดังกล่าวจะต้องเป็นผู้ที่มีความรู้ทางด้านการบัญชีมาโดยเฉพาะ จึงต้องมีคุณสมบัติที่กฎหมายกำหนดจึงจะเข้ามาเป็นผู้ทำบัญชีของผู้มีหน้าที่ จัดทำบัญชีตามกฎหมายบัญชีได้ และผู้ทำบัญชีจะต้องปฏิบัติตามเงื่อนไขต่าง ๆ ที่กำหนดไว้ในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ประกาศเมื่อวันที่ 3 สิงหาคม 2543 โดยมีข้อกำหนดโดยสรุปดังนี้

คุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชี

  1. มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
  2. มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
  3. ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
  4. มีคุณวุฒิทางการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( กพ. ) หรือ กระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าคุณวุฒิดังนี้

          ( 1 ) อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ซึ่งสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของ

                 - ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน

                 - บริษัทจำกัด ซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามี ทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มี สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และ รายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท

           ( 2 ) ปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ซึ่งสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ บริษัทจำกัด

นอกจากคุณสมบัติที่กล่าวมาแล้วข้างต้น ถ้าต้องการเป็นผู้จัดทำบัญชีในยุคโลกาภิวัฒน์ ต้องใฝ่รู้ ต้องมีคุณธรรม มีวินัย จรรยาบรรณ จริยธรรม มีความรู้ทางด้านคอมพิวเตอร์ และที่สำคัญยิ่งต้องทำให้เกิดประโยชน์แก่สังคมและประเทศ ชาติให้มากที่สุด จึงจะเป็นผู้จัดทำบัญชีได้
 

ที่มา ..ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ ของ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์ 
          รวบรวมเนื้อหาโดย อ. วาสนา อุปละกุล

การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนมาเป็นบริษัทจำกัด

ปัจจุบัน กฎหมายได้เอื้ออำนวยความสะดวก รวดเร็วในการจัดตั้งธุรกิจและสร้างความน่าเชื่อถือในการติดต่อธุรกิจการค้า ให้แก่ ผู้ประกอบธุรกิจ โดยได้มีการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท ซึ่งมีผลใช้บังคับตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป

การแปรสภาพห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด โดยใช้ชื่อเดิมได้  ก็เป็นส่วนหนึ่งในการแก้ไข กฎหมายดังกล่าวโดยการแก้ไขกฎหมายดังกล่าวได้ลดขั้นตอนต่างๆ ไม่ต้องเสียเวลาในการที่จะต้องมาจดทะเบียนใหม่ ซึ่งจากเดิมหากต้องการเปลี่ยนเป็นบริษัทจะต้องจดทะเบียนเลิกห้างหุ้นส่วน สามัญนิติบุคคลหรือห้างหุ้นส่วนจำกัดแล้วมาจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทขึ้นใหม่ และไม่สามารถใช้ชื่อเดิมของห้างฯ เพื่อการจัดตั้งบริษัทได้

การจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด ประกอบด้วย
1. ห้างหุ้นส่วนนั้น ต้องมีผู้เป็นหุ้นส่วนตั้งแต่สามคนขึ้นไป
2. ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน ต้องร่วมกันทำบันทึกข้อตกลงยินยอม ให้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด
3. หุ้นส่วนผู้จัดการห้าง ต้องมีหนังสือแจ้งความยินยอมของผู้เป็นหุ้นส่วน ให้นายทะเบียนทราบภายในสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนให้ความยินยอม  โดยแนบสำเนาบันทึกข้อตกลงยินยอมให้แปรสภาพเป็นบริษัทจำกัดด้วย โดยห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ ตั้งอยู่ในเขตกรุงเทพมหานคร ให้ส่งหนังสือแจ้งความยินยอมที่สำนักบริการข้อมูลธุรกิจ หรือ ส่วนจดทะเบียนธุรกิจกลาง หรือสำนักงานบริการจดทะเบียนธุรกิจแห่งใด แห่งหนึ่ง

สำหรับห้างหุ้นส่วนที่มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่ในเขตจังหวัดอื่น ให้ส่งหนังสือแจ้งความยินยอม ได้ที่สำนักงานพัฒนาธุรกิจการค้าจังหวัดที่ห้างหุ้นส่วนนั้น มีสำนักงานแห่งใหญ่ตั้งอยู่
4. ห้างหุ้นส่วนต้องประกาศโฆษณาในหนังสือพิมพ์แห่งท้องที่อย่างน้อยหนึ่งคราว และมีหนังสือบอกกล่าว ไปยังเจ้าหนี้ของห้างหุ้นส่วนให้ทราบเรื่องที่ห้างหุ้นส่วน จะแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด
5. เมื่อพ้นกำหนดสามสิบวันนับแต่วันที่บอกกล่าวแล้ว ไม่มีผู้ใดคัดค้าน หุ้นส่วนผู้จัดการต้องจัดให้มีการประชุมผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคน เพื่อให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องดังต่อไปนี้
5.1 จัดทำหนังสือบริคณห์สนธิและข้อบังคับของบริษัท (ถ้ามี)
5.2  กำหนดทุนเรือนหุ้นของบริษัท ซึ่งต้องเท่ากับส่วนลงหุ้นของผู้เป็นหุ้นส่วนทุกคนในห้างหุ้นส่วน และกำหนดจำนวนหุ้นของบริษัทที่จะตกได้แก่หุ้นส่วนแต่ละคน
5.3 กำหนดจำนวนเงินที่ได้ใช้แล้วในแต่ละหุ้น (ไม่น้อยกว่าร้อยละ 25)
5.4 กำหนดจำนวนหุ้นสามัญหรือหุ้นบุริมสิทธิ รวมทั้งกำหนดสภาพและบุริมสิทธิของหุ้นซึ่งจะออกและจัดสรรหุ้นให้แก่ผู้เป็นหุ้นส่วน
5.5 แต่งตั้งกรรมการและกำหนดอำนาจของกรรมการ
5.6 แต่งตั้งผู้สอบบัญชี
5.7 ดำเนินการในเรื่องอื่นๆ ที่จำเป็นในการแปรสภาพ
6. หุ้น ส่วนผู้จัดการเดิมต้องส่งมอบกิจการ ทรัพย์สิน บัญชี เอกสารและหลักฐานต่าง ๆ ของห้างหุ้นส่วน ให้แก่กรรมการบริษัทภายในสิบสี่วัน นับแต่วันที่ผู้เป็นหุ้นส่วนได้ให้ความยินยอมและดำเนินการในเรื่องต่าง ๆ ตาม 5. เสร็จสิ้นแล้ว
7. ในกรณีที่ผู้เป็นหุ้นส่วน ยังไม่ได้ชำระเงินค่าหุ้น หรือชำระเงินค่าหุ้น ไม่ครบร้อยละยี่สิบห้าของมูลค่าหุ้น หรือยังไม่ได้โอนกรรมสิทธิ์ทรัพย์สิน หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่าง ๆ ให้แก่คณะกรรมการ คณะกรรมการบริษัทต้องมีหนังสือแจ้งให้ผู้เป็นหุ้นส่วน ชำระเงินค่าหุ้น โอนกรรมสิทธิ์ หรือทำเอกสารหลักฐานการใช้สิทธิต่าง ๆ แล้วแต่กรณี ให้แก่คณะกรรมการภายในสามสิบวันนับแต่วันที่ได้รับหนังสือแจ้ง
8. คณะกรรมการต้องยื่นคำขอจดทะเบียนแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด ต่อนายทะเบียน ภายในสิบสี่วันนับแต่วันที่ได้ดำเนินการตาม (7) ครบถ้วนแล้ว
เมื่อนายทะเบียนรับจดทะเบียนแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัดแล้ว ห้างหุ้นส่วนเดิมหมดสภาพการเป็นห้างหุ้นส่วน และห้างหุ้นส่วนที่จะแปรสภาพเป็นบริษัทจำกัด จะต้องไม่มีชื่อบริษัท วัตถุที่ประสงค์ทุนจดทะเบียน ผู้ถือหุ้นและส่วนลงหุ้นของแต่ละคน แตกต่างไปจากที่ห้างหุ้นส่วนได้จดทะเบียนไว้เดิม
ข้อมูลที่ต้องใช้ในการแปรสภาพห้างหุ้นส่วนเป็นบริษัทจำกัด
1. ชื่อของบริษัท
2. ที่ตั้งสำนักงานแห่งใหญ่ (ตั้งอยู่ ณ จังหวัดใด)
3. วัตถุที่ประสงค์ของบริษัทที่จะประกอบกิจการค้า
4. ข้อบังคับ (ถ้ามี)
5. จำนวนทุน (ค่าหุ้น) ที่เรียกชำระแล้ว อย่างน้อยร้อยละ 25 ของทุนจดทะเบียน
6. ชื่อ ที่อยู่ อายุของกรรมการ
7. ชื่อ ที่อยู่ อาชีพ สัญชาติ และจำนวนหุ้นของผู้ถือหุ้นแต่ละคน
8. รายชื่อหรือจำนวนกรรมการที่มีอำนาจลงชื่อแทนบริษัท (อำนาจกรรมการ) *ดูตัวอย่างการกำหนดอำนาจกรรมการ*
9. ชื่อ เลขทะเบียนผู้สอบบัญชีรับอนุญาตพร้อมค่าตอบแทน
10. ตราสำคัญ 


ที่มา - เว็บสำนักงานส่งเสริมวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อม

ระวัง ต้องลงโฆษณาในนสพ.และส่งไปรษณีย์ตอบรับทุกครั้งที่ประชุมผู้ถือหุ้น !!

สรุป ข่าวสารที่น่าสนใจเกี่ยวกับประเด็นการแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ว่าด้วยหุ้นส่วนบริษัท ที่มีผลใช้บังคับแล้วตั้งแต่วันที่ 1 กรกฎาคม 2551 ที่ผ่านมา เพื่อให้ผู้อ่านที่เป็นผู้ประกอบการได้รับทราบความเคลื่อนไหวและเตรียมความ พร้อมในการปฎิบัติให้ถูกต้องตามที่กฎหมายได้กำหนดไว้

การแก้ไขประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์หลัก 2 ประการคือ หนึ่งเพื่อเพิ่มความสะดวกรวดเร็วในการจัดตั้งธุรกิจ และสองสร้างความน่าเชื่อถือในการดำเนินกิจการมากยิ่งขึ้น ซึ่งมีสาระสำคัญโดยสรุปดังนี้

1.    
 มาตรการเพิ่มความสะดวกรวดเร็วแก่ธุรกิจ

มีการปรับลดจำนวนผู้เริ่มก่อการตั้งบริษัทจากเดิมที่กำหนดไว้ 7 คน ลงเหลือเพียง 3 คน  และ สามารถจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิและจัดตั้งบริษัทได้ภายในวันเดียวกัน ซึ่งแก้ไขจากเดิมที่ต้องแยกการจดทะเบียนหนังสือบริคณห์สนธิก่อนแล้วจึงออก หนังสือนัดประชุมตั้งบริษัท โดยต้องบอกกล่าวล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วัน หลังการประชุม แล้วจึงมาขอจดทะเบียนตั้งบริษัทได้

ประเด็น ต่อมาคือจากนี้ไปผู้ประกอบการสามารถแปรสภาพห้างหุ้นส่วนสามัญนิติบุคคลและ ห้างหุ้นส่วนจำกัด เป็นบริษัทจำกัด โดยใช้ชื่อเดิมได้ แก้ไขจากเดิมที่หากผู้ประกอบการต้องการเปลี่ยนรูปแบบการดำเนินกิจการเป็น บริษัทจะต้องดำเนินการจดทะเบียนเลิกห้างก่อนแล้วจึงสามารถจดทะเบียนจัดตั้ง บริษัทขึ้นใหม่ได้ และไม่สามารถใช้ชื่อเดิมของห้างเพื่อการจัดตั้งบริษัท

อีก ประเด็นที่น่าสนใจเป็นอย่างยิ่งก็คือการประชุมใหญ่เพื่อให้เป็นมติพิเศษตาม กฎหมายเดิมกำหนดให้ต้องประชุมสองครั้ง แก้ไขให้ประชุมเพียงครั้งเดียว และลดการประกาศโฆษณาทางหนังสือพิมพ์ ในกรณีต้องการลดทุนและควบบริษัท   จากเดิมต้องลง 7 ครั้ง เหลือเพียงครั้งเดียว และลดระยะเวลาการคัดค้านของเจ้าหนี้ลงด้วย  นอกจากนั้นยังลดการประกาศโฆษณาทางหน้าหนังสือพิมพ์ในเรื่องอื่น ๆ ที่กฎหมายกำหนดไว้จากเดิมสองครั้งเหลือเพียงครั้งเดียวทั้งหมด

2.     มาตรการเพิ่มความน่าเชื่อถือในการลงทุนและติดต่อธุรกิจการค้า

ประเด็นที่มีผู้ให้ความสนใจกันค่อนข้างมากก็คือ มาตรา
1175 ในประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ บรรพ3 ลักษณะ22 ว่าด้วยหุ้นส่วนและบริษัทที่ว่า บริษัทจำกัดที่จัดตั้งแล้วหากมีการบอกกล่าวเรียกประชุมใหญ่จะต้องลงพิมพ์ โฆษณาในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อยหนึ่งครั้ง และต้องส่งทางไปรษณีย์ตอบรับ (ไปรษณีตอบรับนะครับ มิใช่ไปรษณีย์ทั่วไป) เพื่อเป็นมาตรการรักษาประโยชน์ของผู้ถือหุ้น ทั้งนี้จากเดิมที่ได้กำหนดให้เรียกประชุมโดยวิธีการอย่างใดอย่างหนึ่งก็ได้

เรื่องเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงแก้ไขการบอกกล่าวประชุมใหญ่นี้ได้มีผู้สรุปความเปลี่ยนแปลงเพื่อให้ง่ายต่อความเข้าใจไว้ดังนี้


การเรียกประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อลงมติทั่วไป
เดิม
ใหม่
1. ประกาศหนังสือพิมพ์ท้องที่ฉบับหนึ่ง อย่างน้อย 2 ครั้งก่อนประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ
1. ประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน และ
2. ส่งหนังสือแจ้งผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนทางไปรษณีย์ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
2. ส่งไปรษณีย์ตอบรับแจ้งผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
 
มติพิเศษ

เดิม
ใหม่
1. ประกาศหนังสือพิมพ์ท้องที่ฉบับหนึ่ง อย่างน้อย 2 ครั้งก่อนประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน หรือ
1. ประกาศในหนังสือพิมพ์ท้องที่อย่างน้อย 1 ครั้งก่อนประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน และ
2. ส่งหนังสือแจ้งผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนทางไปรษณีย์ก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 7 วัน
2. ส่งไปรษณีย์ตอบรับแจ้งผู้ถือหุ้นทุกคนที่มีชื่อในทะเบียนก่อนวันประชุมไม่น้อยกว่า 14 วัน
3. ต้องประชุม 2 ครั้ง
3. ประชุมเพียง 1 ครั้ง




โดยสรุปก็คือนับจาก 1 กรกฎาคม 2551 เป็นต้นไป การประชุมใหญ่ ทั้งที่เป็นการประชุมสามัญและวิสามัญของบริษัทจำกัด ผู้ประกอบการจะต้องดำเนินการบอกกล่าวด้วยการประกาศลงใน หนังสือพิมพ์ท้องที่ อย่างน้อย 1 ฉบับ และส่งหนังสือเชิญประชุมเป็นไปรษณีย์ตอบรับ ถึงผู้ถือหุ้น ก่อนวันประชุมอย่างน้อย 7 วันก่อนการประชุม (ถ้าเป็นมติพิเศษ 14 วัน)

และในอีกไม่กี่เดือนข้างหน้านี้  บริษัทส่วนใหญ่ที่สิ้นรอบระยะเวลาบัญชีเมื่อ
31 ธันวาคม ทีผ่านมา จะต้องจัดประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนหรือภายใน 30 เมษายน (เพื่อส่งงบการเงินให้กับกระทรวงพาณิชย์ได้ภายใน 1 เดือนหลังประชุมผู้ถือหุ้นเพื่อรับรองงบ และนำส่ง ภงด.50 ให้กับกรมสรรพากรภายใน 150วัน นับแต่สิ้นรอบบัญชี ทั้งนี้หลังจากได้จัดให้มีการประชุมผู้ถือหุ้นและผู้สอบบัญชีรับรองงบแล้ว) ซึ่งเมื่อถึงเวลานั้นผู้ประกอบการก็จะต้องดำเนินการเรียกประชุมตามที่กฎหมาย แก้ไขใหม่กำหนดไว้ ทั้งการส่งไปรษณีย์ตอบรับแจ้งผู้ถือหุ้นและการลงประกาศในหนังสือพิมพ์ท้อง ที่อย่างน้อยหนึ่งครั้ง

จุดนี้มีข้อสังเกตประการหนึ่งคือ บริษัทส่วนใหญ่จะสิ้นรอบระยะเวลาบัญชีในวันที่
31 ธันวาคม และจะต้องจัดประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนหรือ 30 เมษายน ซึ่งจะเท่ากับว่าวันสุดท้ายที่บริษัทจะสามารถลงประกาศในหน้าหนังสือพิมพ์และ ส่งหนังสือเชิญประชุมด้วยไปรษณีย์ตอบรับถึงผู้ถือหุ้นล่วงหน้าไม่น้อยกว่า 7 วันนั้น หากไม่นับหัวนับท้าย วันสุดท้ายและท้ายสุดก็ไม่น่าจะเกินไปจากวันที่ 22 เมษายน

อย่างไรก็ดีบริษัทใดที่จัดทำและตรวจสอบงบฯแล้วเสร็จล่วงหน้าก็สามารถจัดประชุมได้ก่อนวันที่
30 เมษายน เพราะเหตุที่กฎหมายได้กำหนดไว้ว่า จะต้องจัดประชุมใหญ่ภายใน 4 เดือนหรือ 30 เมษายน ซึ่งเท่ากับว่าภายใน 4 เดือนนี้ หากพร้อมเสร็จสรรพก็สามารถจัดประชุมก่อน 30 เมษายนได้ ข้อดีของการจัดประชุมล่วงหน้าก็คือจะสามารถช่วยให้ผู้ประกอบการโดยเฉพาะผู้ ที่รับผิดชอบเกี่ยวกับการจัดประชุมใหญ่โดยตรง ลดความเสี่ยงในการที่อาจจัดประชุมล่าช้าหรือไม่ถูกต้อง หรือเชิญประชุมและลงประกาศเชิญประชุมในหน้าหนังสือพิมพ์ไม่ทันหรือไม่มี พื้นที่ลงอันเนื่องมาจากบริษัทหลายจำนวนมากต่างจัดประชุมและต้องการลงประกาศ ในวันเดียวกัน

นอก จากประเด็นการเรียกประชุมใหญ่แล้วก็ยังมีเรื่องของการกำหนดให้นายทะเบียนมี อำนาจขีดชื่อห้างหุ้นส่วนนิติบุคคลออกจากทะเบียนเป็นห้างร้านได้  แก้ไขจากเดิมที่ดำเนินการได้เฉพาะบริษัทจำกัดเท่านั้น

ประเด็น สุดท้ายคือกำหนดให้ห้างหุ้นส่วนและบริษัทที่ถูกขีดชื่อออกจากทะเบียนสิ้น สภาพนิติบุคคล และไม่สามารถตั้งผู้ชำระบัญชีเพื่อชำระสะสางทรัพย์สินหนี้สินของตนอีกต่อไป  แต่อาจร้องขอต่อศาลเพื่อสั่งให้นายทะเบียนจดชื่อคืนสู่ทะเบียนได้  ทั้งนี้ต้องร้องขอภายในสิบปีนับแต่วันถูกขีดชื่อออกจากทะเบียน

เนื่องจากการแก้ไขประเด็นกฎหมายดังกล่าวคงจะปฎิเสธไม่ได้แน่ว่าย่อมที่จะมีผลกระทบต่อสิทธิหน้าที่  และ ความรับผิดของผู้ประกอบการทุกท่าน ดังนั้นผู้ที่เกี่ยวข้องหรือได้รับมอบหมายให้เป็นผู้ดูแลในเรื่องที่ทั้ง หลายเหล่านี้จำเป็นที่จะต้องทราบและเตรียมการเพื่อการดำเนินการให้ถูกต้อง  เพื่อป้องกันมิให้เกิดกรณีปัญหาต่างๆในอนาคต แนะนำให้หากฎหมายที่แก้ไขใหม่นี้มาอ่านผ่านตากันดู.

ที่มา.. http://www.oknation.net/blog/paisalvision/2008/12/24/entry-6

กรรมการมีสิทธิ์เป็นผู้ประกันตนหรือไม่

หลาย ๆ บริษัท ยังคงมีปัญหาคาใจเกี่ยวกับ การขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนซึ่งจะเกี่ยวพันไปถึงการหักเงินสมทบประกัน สังคมของผู้ที่ดำรงตำแหน่งกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัท จึงได้เสาะหาข้อมูลมาเพื่อไขข้อข้องใจของท่านดังนี้
-------------
จากข้อมูลที่ทราบ เมื่อมีผู้ยื่นคำร้องเกี่ยวกับเรื่องดังกล่าว ทางสำนักงานประกันสังคมเขาจะตรวจสอบข้อเท็จจริงก่อนว่า ผู้ที่เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นของบริษัทนั้น ๆ มีนิติสัมพันธ์การเป็นนายจ้างหรือลูกจ้างกันแน่ พูดง่าย ๆ ก็คือว่าถ้าพิจารณาตามประมวลกฎหมายแพ่งและพาณิชย์ ประกอบกับพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 บุคคลผู้เป็นกรรมการหรือผู้ถือหุ้นดังกล่าว อยู่ในข่ายการเป็น “ลูกจ้าง” หรือเป็น “นายจ้าง” โดยกฎหมายที่ว่าได้ให้ความหมายพอสรุปได้ว่า
------------------
“ลูกจ้าง” คือ ผู้ซึ่งตกลงทำงานให้แก่นายจ้างเพื่อรับค่าจ้าง โดยอยู่ภายใต้อำนาจบังคับบัญชาของนายจ้างอันหมายความว่าลูกจ้างต้องทำงานตาม ที่นายจ้างสั่ง และต้องปฏิบัติตามระเบียบหรือข้อบังคับเกี่ยวกับการทำงานของนายจ้าง หากลูกจ้างฝ่าฝืนนายจ้างสามารถลงโทษได้
------------------
สำหรับ “นายจ้าง” หรือผู้ที่ดำรงตำแหน่ง กรรมการหรือผู้ถือหุ้น ที่จะไม่อยู่ในข่ายการเป็น “ลูกจ้าง” จะต้องมีคุณสมบัติดังนี้
1. เป็นผู้เริ่มก่อการและก่อตั้งบริษัทมาตั้งแต่แรก หรือเป็นผู้ถือหุ้น
2. ไม่ต้องอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับในการทำงานของบริษัท กล่าวคือ ลักษณะงานไม่เหมือนลูกจ้าง ไม่มีการสมัครงานปฏิบัติงานโดยอิสระ ไม่ต้องมาทำงานในเวลาทำการทุกวัน การลา ไม่ต้องปฏิบัติตามข้อบังคับของบริษัท
3. ไม่มีผู้บังคับบัญชา
4. การทำงานให้กับบริษัท เป็นการทำงานในฐานะกรรมการและผู้ถือหุ้นที่ต้องดูแลรักษาผลประโยชน์ของ บริษัท เป็นการทำกิจการด้วยจุดประสงค์เพื่อจะแบ่งปันกำไรอันพึงได้เท่านั้น
------------------
ดังนั้น หากแม้ว่ามีตำแหน่งเป็น กรรมการ แต่ไม่ได้เป็นผู้ก่อตั้งบริษัท และยังเป็นผู้ที่ถูกว่าจ้างให้ทำงานโดยที่ประชุมผู้ถือหุ้น รวมทั้งจะต้องทำงานอยู่ภายใต้กฎระเบียบข้อบังคับของบริษัท ซึ่งหากฝ่าฝืน บริษัทสามารถลงโทษได้ และหากมีการเลิกจ้าง บุคคลผู้นี้สามารถเรียกค่าชดเชยจากบริษัทได้ ก็จะถือว่ากรรมการผู้นี้เป็น “ลูกจ้าง” ของบริษัท ตามมาตรา 5 แห่งพระราชบัญญัติประกันสังคม พ.ศ.2533
------------------
และจากข้อมูลที่ทราบในขณะนี้ มีหลาย ๆ บริษัทที่ผู้ดำรงตำแหน่ง “กรรมการผู้จัดการ” ไม่อยู่ในข่ายการเป็น “ลูกจ้าง” ของบริษัท เพราะมีคุณสมบัติครบตามที่กล่าวมาแล้วข้างต้นทั้ง 4 ข้อ เพียงแต่ได้รับค่าตอบแทนจากบริษัทเป็นรายเดือน ซึ่งผู้ทำหน้าที่หักเงินประกันสังคมของบริษัทก็เข้าใจว่าการรับค่าตอบแทน จากบริษัทก็ถือเป็นค่าจ้าง ซึ่งจะต้องนำไปหักเงินสมทบประกันสังคมเพื่อนำส่งให้กับสำนักงานประกันสังคม ทุกเดือนตามปกติ หากนำมาพิจารณาดู ในเมื่อตนเองเป็น “นายจ้าง” ก็กลายเป็นว่าตนเองในฐานะ “นายจ้าง” ต้องจ่ายเงินสมทบประกันสังคมถึง 2 ส่วน ซึ่งโดยทั่วไปแล้ว ถึงแม้จะมีสิทธิใช้บริการจากสำนักงานประกันสังคมใน 7 เรื่องที่ทราบกันอยู่ แต่ในความเป็นจริงแล้ว คนกลุ่มนี้ก็ไม่ได้ไปใช้บริการเหล่านี้ จากสำนักงานประกันสังคมเลย ยิ่งถ้าพูดถึงระดับอายุ ส่วนใหญ่ก็เลยวัยคลอดบุตรหรือมีบุตรแล้ว หรือถ้ามีบุตรก็โตเกินกว่าจะใช้บริการสงเคราะห์บุตร ถ้าพูดถึงฐานะการเงินก็มีพอที่จะใช้จ่ายโดยไม่ต้องพึ่งพาจากรัฐ ส่วนเรื่องการว่างงานก็ยิ่งไม่ต้องพูดถึง เพราะคนกลุ่มนี้คงไม่ถูกเลิกจ้างแน่ ๆ ยกเว้นอยากจะทำตัวว่างงานเอง และตามพระราชบัญญัติประกันสังคมแล้ว บุคคลที่เข้าข่ายเป็น “นายจ้าง” ก็ไม่ต้องขึ้นทะเบียนเป็นผู้ประกันตนต่อสำนักงานประกันสังคมอีกด้วย
------------------
ดังนั้น หากบริษัทใดมีผู้ดำรงตำแหน่งที่เข้าข่ายไม่ได้เป็น “ลูกจ้าง” และยังคงหักเงินสมทบประกันสังคมอยู่ ก็สามารถทำหนังสือถึงฝ่ายเงินสมทบและการตรวจสอบ สำนักงานประกันสังคมในเขตพื้นที่ ที่บริษัทท่านส่งเงินสมทบอยู่ เพื่อแจ้งขอไม่ส่งเงินสมทบของบุคคลที่มีฐานะเป็น “นายจ้าง” พร้อมทั้งขอคืนเงินส่วนที่หักไปแล้ว ซึ่งสำนักงานประกันสังคมจะคืนให้ได้ในบางส่วนด้วย สำหรับรายละเอียดท่านสามารถขอทราบข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่สำนักงานประกันสังคม ทุกแห่ง

ที่มา..http://www.sso.go.th/forum/page_2342