ผู้ทำบัญชีคือใคร
- กรณีเป็นพนักงานของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี ได้แก่ ผู้อำนวยการฝ่ายบัญชี สมุห์บัญชี หัวหน้าแผนกบัญชี หรือ ผู้ดำรงตำแหน่งที่เรียกชื่ออย่างอื่น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบเช่นเดียวกับผู้ดำรงตำแหน่งดังกล่าว
- กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชี คือ
- หัวหน้าสำนักงาน กรณีเป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่มิได้จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
- ผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จัดตั้งในรูปคณะบุคคล
- กรรมการหรือผู้เป็นหุ้นส่วนซึ่งรับผิดชอบในการให้บริการรับทำบัญชี กรณีที่เป็นสำนักงานบริการรับทำบัญชีที่จดทะเบียนจัดตั้งเป็นนิติบุคคล
- บุคคลธรรมดา กรณีที่เป็นผู้รับจ้างทำบัญชีอิสระ
- ผู้ ช่วยผู้ทำบัญชี ในกรณีที่ผู้ทำบัญชีรับทำบัญชีเกินกว่า 100 ราย ตามที่กำหนดในประกาศกรมทะเบียนการค้า เรื่อง กำหนดคุณสมบัติและเงื่อนไขของการเป็นผู้ทำบัญชี พ.ศ. 2543 ข้อ 7 ( 3 ) ซึ่งผู้ช่วยทำบัญชีในที่นี้ต้องมีคุณสมบัติเช่นเดียวกับผู้ทำบัญชีและถือ เป็นผู้ทำบัญชีตามกฎหมายบัญชี
- บุคคลอื่นนอกจากที่กล่าวข้างต้น ซึ่งมีหน้าที่รับผิดชอบในการทำบัญชีของผู้มีหน้าที่จัดทำบัญชี
คุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชี
คุณสมบัติของการเป็นผู้ทำบัญชี
- มีภูมิลำเนาหรือถิ่นที่อยู่ในราชอาณาจักร
- มีความรู้ภาษาไทยเพียงพอที่จะทำหน้าที่เป็นผู้ทำบัญชีได้
- ไม่เคยต้องโทษจำคุกโดยคำพิพากษาถึงที่สุดให้จำคุก เนื่องจากได้กระทำความผิดตามกฎหมายว่าด้วยการบัญชี หรือกฎหมายว่าด้วยผู้สอบบัญชี หรือ กฎหมายว่าด้วยวิชาชีพบัญชี เว้นแต่พ้นระยะเวลาที่ถูกลงโทษมาแล้วเป็นเวลาไม่น้อยกว่าสามปี
- มีคุณวุฒิทางการศึกษาซึ่งทบวงมหาวิทยาลัย หรือคณะกรรมการข้าราชการพลเรือน ( กพ. ) หรือ กระทรวงศึกษาธิการ เทียบว่าไม่ต่ำกว่าคุณวุฒิดังนี้
( 1 ) อนุปริญญาหรือประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูง ( ปวส. ) ทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ซึ่งสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของ
- ห้างหุ้นส่วนจดทะเบียน
- บริษัทจำกัด ซึ่ง ณ วันปิดบัญชีในรอบปีบัญชีที่ผ่านมามี ทุนจดทะเบียนไม่เกินห้าล้านบาท มี สินทรัพย์รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท และ รายได้รวมไม่เกินสามสิบล้านบาท
( 2 ) ปริญญาตรีทางการบัญชีหรือเทียบเท่า ซึ่งสามารถเป็นผู้ทำบัญชีของห้างหุ้นส่วนจดทะเบียนหรือ บริษัทจำกัด
ที่มา ..ข้อมูลจากเอกสารเผยแพร่ ของ กรมทะเบียนการค้า กระทรวงพาณิชย์
รวบรวมเนื้อหาโดย อ. วาสนา อุปละกุล
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น