เงินได้จากการเลิกจ้าง ที่ได้รับการยกเว้นภาษี

ผมเองค่อนข้างสับสนอยู่บ่อยครั้งเกี่ยวกับการยกเว้นภาษีเงินได้จากการเลิกจ้าง ก็เลยเขียนเป็นบทความสรุปเอาไว้อีกครั้ง ดังนี้

1. เงินชดเชยจากการเลิกจ้างที่ได้รับตามกฎหมายแรงงาน แต่ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้นสุดสัญญาจ้าง เฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือน ค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้ายแต่ไม่เกิน 300,000 บาท (อ้างอิง กฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 51 ซึ่งถูกแก้ไขแล้วตาม กฎกระทรวงฉับที่ 217)

กรณีข้างต้นจะเห็นได้ว่าต้องเป็นเงินชดเชยที่ได้รับจากการเลิกจ้างตามกฎหมายแรงงาน และต้องมีหนังสือรับรองจากนายจ้างเป็นหลักฐาน โดยต้องมีข้อความดังต่อไปนี้

  • ออกจากงานเพราะสาเหตุใด
  • ผู้ออกจากงานเริ่มทำงานและออกจากงานวัน เดือน ปีใด
  • เงินเดือน 12 เดือนสุดท้ายก่อนออกจากงานแต่ละเดือน

ค่าชดเชยส่วนที่เหลือจากการยกเว้น (กรณีได้รับเงินชดเชยเกิน 300,000 บาท) ให้นำไปรวมคำนวณในแบบ ภงด.91 แต่ถ้าลูกจ้างหรือพนักงานทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถเลือกที่จะนำเงินชดเชยส่วนที่เหลือไปแยกคำนวณภาษีตามใบแนบ ภงด.91 แยกต่างหากได้ ซึ่งจะทำให้เสียภาษีน้อยลง (ส่วนที่แยกคำนวณนี้จะไม่ได้รับการยกเว้นเงินได้ 150,000 บาทแรก)

เงินชดเชยอื่นๆ ที่ไม่ได้รับการยกเว้นภาษี หากทำงานมาไม่น้อยกว่า 5 ปี สามารถใช้สิทธิแยกคำนวณภาษีตามใบแนบแบบ ภงด.91 ได้ (รวมถึงเงินชดเชยจากการเกษียณอายุด้วย)

อ่านบทความภาษีเงินได้ออกจากงานเพิ่มเติม

 

2. เงินได้ที่จากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะมีอยู่ 3 กรณีคือ

  1. ลาออกจากกองทุนโดยไม่ได้ลาออกจากงาน กรณีจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี
  2. ลาออกจากกองทุนและลาออกงาน ถ้าอายุงานไม่ถึง 5 ปีจะไม่ได้รับการยกเว้นภาษี ถ้าอายุงานเกิน 5 ปี ยกเว้นภาษีจากเงินได้ให้ครึ่งหนึ่ง เงินได้ส่วนที่เหลือสามารถใช้สิทธิแยกยื่นภาษีเงินได้โดยใช้ใบแนบ ภงด.91 ได้
  3. เกษียณอายุ ได้รับการยกเว้นภาษีทั้งจำนวน แต่ต้องเป็นไปตามเงื่อนไขคือ เป็นสมาชิกกองทุนไม่น้อยกว่า 5 ปี อายุไม่น้อยกว่า 55 ปีและเลิกจ้างเพราะเกษียนอายุ

อ่านบทความลาออกจากกองทุนเพิ่มเติม

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น