เงินชดเชยที่จะได้รับการยกเว้นภาษีต้องเป็นเงินชดเชยจากการถูกไล่ออกจากงานเท่านั้น ถ้าเป็นกรณีอื่นจะไม่ได้รับการยกเว้น ลองมาดูกรณีอื่นที่ไม่ได้รับการยกเว้นกันนะครับ เช่น
- เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานจากการเลิกจ้าง (ไม่ยกเว้นภาษีเงินได้)
- เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงาน เนื่องจากสิ้นสุดสัญญาจ้าง (ไม่ยกเว้นภาษีเงินได้)
- เงินชดเชยที่จ่ายเกินกว่าที่กฎหมายแรงงานกำหนด เช่น กฎหมายกำหนดให้จ่าย 3 เดือน แต่จ่ายเกินไปอีก 1 เดือน ส่วนที่จ่ายเกินไม่ได้รับการยกเว้น
- เงินชดเชยที่จ่ายตามกฎหมายแรงงานในส่วนที่เกินกว่า 300,000 บาท
มาดูกฎกระทรวงฉบับที่ 126 ข้อ 2 (51) กันนะครับ เงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุ หรือ สิ้นสุดสัญญาจ้าง
ลองมาดูตัวอย่างที่กรมสรรพากรตอบไว้นะครับ
เลขที่หนังสือ : กค 0706/515
วันที่ : 18 มกราคม 2550
เรื่อง : ภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา กรณีเงินได้จากการเกษียณอายุตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน
ข้อกฎหมาย : ข้อ 2(51) กฎกระทรวง ฉบับที่ 126ฯ
ข้อหารือ
นาย ก. ทำงานในสถาบันอุดมศึกษาเอกชนและได้เกษียณอายุเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม 2549 โดยได้รับเงินชดเชยจากการเกษียณอายุ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน นาย ก. จึงขอทราบว่าเงินได้จากการเกษียณอายุซึ่งเป็นเงินชดเชยตามพระราชบัญญัติคุ้ม ครองแรงงานดังกล่าวนั้น เข้าลักษณะเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานที่ได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมา รวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา ทั้งนี้ เฉพาะค่าชดเชยส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่าจ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ตาม ก 3. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานของใบแนบแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดาใช่ หรือไม่
แนววินิจฉัย
เงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานเฉพาะส่วนที่ไม่เกินค่าจ้างหรือเงินเดือนค่า จ้างของการทำงาน 300 วันสุดท้าย แต่ไม่เกิน 300,000 บาท ซึ่งได้รับยกเว้นไม่ต้องนำมารวมคำนวณเพื่อเสียภาษีเงินได้บุคคลธรรมดานั้น ไม่รวมถึงค่าชดเชยที่ลูกจ้างหรือพนักงานได้รับเพราะเหตุเกษียณอายุหรือสิ้น สุดสัญญาจ้าง ทั้งนี้ ตามข้อ 2(51) ของกฎกระทรวง ฉบับที่ 126 (พ.ศ. 2509) ออกตามความในประมวลรัษฎากร ว่าด้วยการยกเว้นรัษฎากร ดังนั้น กรณีนาย ก. ได้รับเงินชดเชยจากการเกษียณอายุ ตามพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน จึงไม่เข้าลักษณะเป็นเงินชดเชยตามกฎหมายคุ้มครองแรงงานตาม ก 3. เงินชดเชยตามกฎหมายแรงงานของใบแนบแบบแสดงรายการภาษีเงินได้บุคคลธรรมดา
เลขตู้ : 70/34734
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น